คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อย พ.ศ. 2547 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อย หลังสิ้นสุดโครงการฯ โดยสอบถามประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไป ทั้งประชาชนที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการ ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ มีประชาชนถูกเลือกเป็นตัวอย่าง 9,000 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 16-26 เมษายน 2547 และได้จัดทำสรุปผลการสำรวจเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญ สรุปดังนี้
1. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.2 ระบุว่ามีเงินออมร้อยละ 34.8 ระบุว่าไม่มีเงินออม ทั้งนี้ผู้มีเงินออม ระบุว่ามีเงินพอเพียงในการใช้ลงทุนประกอบอาชีพหรือปรับปรุง/พัฒนาฟื้นฟูอาชีพ ร้อยละ 31.0 ไม่พอเพียงร้อยละ 33.9 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 0.3
2. การชำระหนี้คืน ธ.ก.ส. หลังจากสิ้นสุดโครงการฯ พบว่า ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.7 ระบุว่าสามารถชำระหนี้คืนได้ ร้อยละ 16.3 ระบุว่าไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ โดยให้เหตุผล คือ เกิดจากผลผลิตเสียหาย มีหนี้สินแหล่งอื่นที่ต้องชำระ ราคาผลผลิตตกต่ำ ไม่ประสบผลสำเร็จในการฟื้นฟูอาชีพ ใช้ในการรักษาพยาบาล เป็นต้น
3. การเข้าร่วมการฟื้นฟูอาชีพ พบว่า ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยรวมในทุกภาคร้อยละ 51.6 ระบุว่าไม่เข้าร่วมการฟื้นฟูอาชีพ ร้อยละ 48.4 ระบุว่าเข้าร่วม โดยผู้ที่เข้าร่วมฟื้นฟูอาชีพระบุว่าช่วยให้ครัวเรือน มีการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพได้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 61.8 มาก ร้อยละ 19.9 น้อย ร้อยละ 17.8 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 0.5
4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะความมั่นคงในการประกอบอาชีพ และรายได้ เมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ระบุว่าช่วยให้ครัวเรือนสามารถฟื้นตัวและมีภาวะความมั่นคงขึ้นในการประกอบอาชีพ ร้อยละ 66.5 เท่าเดิม ร้อยละ 30.8 และแย่ลง ร้อยละ 2.7 นอกจากนี้ทำให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่ม/ดีขึ้น ร้อยละ 61.7 เท่าเดิม ร้อยละ 34.5 และน้อยลงร้อยละ 3.8
5. การบรรเทาภาระหนี้สินของเกษตรกร หลังโครงการสิ้นสุดลง ประชาชนส่วนใหญ่ ทั้งผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ เห็นว่าได้ผลในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 86.6 น้อยถึงไม่ได้ผล ร้อยละ 9.0 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 4.4
6. การช่วยเหลือเกษตรกรให้มีเวลาพักฟื้นหรือพัฒนา/ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหลังโครงการสิ้นสุดลง ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ เห็นว่าได้ผลในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 76.0 น้อยถึงไม่ได้ผล ร้อยละ 16.3 และไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 7.7
7. การช่วยเหลือเกษตรกรให้ฟื้นตัวในการประกอบอาชีพ/ชีวิตความเป็นอยู่ หลังโครงการสิ้นสุดลง ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ เห็นว่าได้ผลในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 82.7 น้อยถึงไม่ได้ผล ร้อยละ 12.6 และไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 4.7
8. ความสำเร็จของโครงการฯ ประชาชนโดยรวม ระบุว่าประสบผลสำเร็จในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 86.8 น้อย ร้อยละ 4.3 ไม่ประสบผลสำเร็จ ร้อยละ 2.1 และไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 6.8
9. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการฯ มีประชาชน ร้อยละ 38.9 ได้ให้ความคิดเห็นที่สำคัญดังนี้ ควรขยายเวลาการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ หาแหล่งเงินกู้ที่ดอกเบี้ยต่ำ สร้างงานให้ผู้ว่างงานและส่งเสริมอาชีพ จัดหาแหล่งน้ำในการทำการเกษตร ประกันราคาผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.2 ระบุว่ามีเงินออมร้อยละ 34.8 ระบุว่าไม่มีเงินออม ทั้งนี้ผู้มีเงินออม ระบุว่ามีเงินพอเพียงในการใช้ลงทุนประกอบอาชีพหรือปรับปรุง/พัฒนาฟื้นฟูอาชีพ ร้อยละ 31.0 ไม่พอเพียงร้อยละ 33.9 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 0.3
2. การชำระหนี้คืน ธ.ก.ส. หลังจากสิ้นสุดโครงการฯ พบว่า ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.7 ระบุว่าสามารถชำระหนี้คืนได้ ร้อยละ 16.3 ระบุว่าไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ โดยให้เหตุผล คือ เกิดจากผลผลิตเสียหาย มีหนี้สินแหล่งอื่นที่ต้องชำระ ราคาผลผลิตตกต่ำ ไม่ประสบผลสำเร็จในการฟื้นฟูอาชีพ ใช้ในการรักษาพยาบาล เป็นต้น
3. การเข้าร่วมการฟื้นฟูอาชีพ พบว่า ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยรวมในทุกภาคร้อยละ 51.6 ระบุว่าไม่เข้าร่วมการฟื้นฟูอาชีพ ร้อยละ 48.4 ระบุว่าเข้าร่วม โดยผู้ที่เข้าร่วมฟื้นฟูอาชีพระบุว่าช่วยให้ครัวเรือน มีการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพได้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 61.8 มาก ร้อยละ 19.9 น้อย ร้อยละ 17.8 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 0.5
4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะความมั่นคงในการประกอบอาชีพ และรายได้ เมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ระบุว่าช่วยให้ครัวเรือนสามารถฟื้นตัวและมีภาวะความมั่นคงขึ้นในการประกอบอาชีพ ร้อยละ 66.5 เท่าเดิม ร้อยละ 30.8 และแย่ลง ร้อยละ 2.7 นอกจากนี้ทำให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่ม/ดีขึ้น ร้อยละ 61.7 เท่าเดิม ร้อยละ 34.5 และน้อยลงร้อยละ 3.8
5. การบรรเทาภาระหนี้สินของเกษตรกร หลังโครงการสิ้นสุดลง ประชาชนส่วนใหญ่ ทั้งผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ เห็นว่าได้ผลในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 86.6 น้อยถึงไม่ได้ผล ร้อยละ 9.0 และไม่มีความคิดเห็น ร้อยละ 4.4
6. การช่วยเหลือเกษตรกรให้มีเวลาพักฟื้นหรือพัฒนา/ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหลังโครงการสิ้นสุดลง ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ เห็นว่าได้ผลในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 76.0 น้อยถึงไม่ได้ผล ร้อยละ 16.3 และไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 7.7
7. การช่วยเหลือเกษตรกรให้ฟื้นตัวในการประกอบอาชีพ/ชีวิตความเป็นอยู่ หลังโครงการสิ้นสุดลง ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการฯ เห็นว่าได้ผลในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 82.7 น้อยถึงไม่ได้ผล ร้อยละ 12.6 และไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 4.7
8. ความสำเร็จของโครงการฯ ประชาชนโดยรวม ระบุว่าประสบผลสำเร็จในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 86.8 น้อย ร้อยละ 4.3 ไม่ประสบผลสำเร็จ ร้อยละ 2.1 และไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 6.8
9. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการฯ มีประชาชน ร้อยละ 38.9 ได้ให้ความคิดเห็นที่สำคัญดังนี้ ควรขยายเวลาการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ หาแหล่งเงินกู้ที่ดอกเบี้ยต่ำ สร้างงานให้ผู้ว่างงานและส่งเสริมอาชีพ จัดหาแหล่งน้ำในการทำการเกษตร ประกันราคาผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-