คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการ ดังนี้
1. ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ในวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ทั้งนี้รวมมูลค่างานก่อสร้างตัวอาคารสถานีและอุโมงค์ใต้อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 4,082.937 ล้านบาท ที่จะต้องนำส่งคืนบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด ไว้ด้วยแล้ว โดยใช้แบบรายละเอียดฉบับร่างและเอกสารประกวดราคาฉบับร่าง ซึ่งมีสาระสำคัญที่ชัดเจนและเพียงพอสำหรับการประกวดราคา โดยผู้เสนอราคาจะสามารถประกันราคาต่อหน่วยงาน (Unit Rate) ตามบัญชีวัสดุ และสามารถประกันราคาสูงสุด (Guaranteed Maximum Price) ของโครงการได้ ตลอดจนกำหนดให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากการประกวดราคาก่อสร้างโครงการนี้ ต้องรับและนำแบบรายละเอียดฉบับสุดท้ายและเอกสารประกวดราคาฉบับสุดท้ายไปปฏิบัติต่อไป โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
2. ดำเนินการว่าจ้างเอกชนเข้าทำการก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟฯ ในวงเงินรวม 25,917.063 ล้านบาท และนำส่งคืนบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด จำนวน 4,082.937 ล้านบาท โดยเอกชนจะได้รับค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายทางการเงินพร้อมดอกเบี้ยคืนทั้งหมด ภายหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ
3. สามารถลงนามในสัญญาว่าจ้างเอกชนเข้าทำการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟฯ โดยที่ยังไม่มีเงินเป็นค่าใช้จ่ายโครงการฯ ได้
4. ดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนระบบราง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ รฟท. ในเขตกรุงเทพ-มหานคร โดยให้ยกเว้นการปฏิบ้ติหรือดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2537 เรื่องพื้นที่ที่ควรกำหนดให้ระบบขนส่งมวลชน
(รถไฟฟ้า) เป็นระบบใต้ดิน โดยอาศัยแนวทางการพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2537 เรื่องพื้นที่ที่ควรกำหนดให้ระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) เป็นระบบใต้ดิน
กระทรวงคมนาคมได้รับรายงานจาก รฟท. เพื่อขออนุมัติดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง โดยมีข้อสรุปดังนี้
1. คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 4/2547 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547 ได้มีมติเห็นชอบผลการศึกษา วิเคราะห์ ทบทวน ปรับปรุง การศึกษาความเหมาสมของโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามสาระของรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Final EIA Report) โดยมีเงื่อนไขให้ รฟท. รับข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตอื่นใดเพิ่มเติม (หากมี) จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไขรายงานข้างต้นทั้งสองฉบับให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
2. รฟท. ได้นำเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2547 และคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการของส่วนราชการรัฐวิสาหกิจและโครงการร่วมกับเอกชน ด้านการคมนาคม ได้ประชุมพิจารณาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2547 ปรากฏว่าคณะกรรมการฯ ยังไม่สามารถเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ โดยมีประเด็นพิจารณาที่สำคัญประการหนึ่ง คือผลการศึกษาทบทวนความเหมาะสมของโครงการฯ ซึ่งที่ปรึกษาได้เสนอให้ระบบขนส่งทางรถไฟตามโครงการนี้เป็นระบบทางรถไฟยกระดับตลอดสายทาง (ยกเว้นในส่วนของสถานีรถไฟใต้ดินสุวรรณภูมิ) รวมถึงโครงสร้างทางรถไฟยกระดับที่ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่ชั้นในของ กทม. ในอนาคตด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ในวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ทั้งนี้รวมมูลค่างานก่อสร้างตัวอาคารสถานีและอุโมงค์ใต้อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 4,082.937 ล้านบาท ที่จะต้องนำส่งคืนบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด ไว้ด้วยแล้ว โดยใช้แบบรายละเอียดฉบับร่างและเอกสารประกวดราคาฉบับร่าง ซึ่งมีสาระสำคัญที่ชัดเจนและเพียงพอสำหรับการประกวดราคา โดยผู้เสนอราคาจะสามารถประกันราคาต่อหน่วยงาน (Unit Rate) ตามบัญชีวัสดุ และสามารถประกันราคาสูงสุด (Guaranteed Maximum Price) ของโครงการได้ ตลอดจนกำหนดให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากการประกวดราคาก่อสร้างโครงการนี้ ต้องรับและนำแบบรายละเอียดฉบับสุดท้ายและเอกสารประกวดราคาฉบับสุดท้ายไปปฏิบัติต่อไป โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
2. ดำเนินการว่าจ้างเอกชนเข้าทำการก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟฯ ในวงเงินรวม 25,917.063 ล้านบาท และนำส่งคืนบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด จำนวน 4,082.937 ล้านบาท โดยเอกชนจะได้รับค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายทางการเงินพร้อมดอกเบี้ยคืนทั้งหมด ภายหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ
3. สามารถลงนามในสัญญาว่าจ้างเอกชนเข้าทำการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟฯ โดยที่ยังไม่มีเงินเป็นค่าใช้จ่ายโครงการฯ ได้
4. ดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนระบบราง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ รฟท. ในเขตกรุงเทพ-มหานคร โดยให้ยกเว้นการปฏิบ้ติหรือดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2537 เรื่องพื้นที่ที่ควรกำหนดให้ระบบขนส่งมวลชน
(รถไฟฟ้า) เป็นระบบใต้ดิน โดยอาศัยแนวทางการพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2537 เรื่องพื้นที่ที่ควรกำหนดให้ระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) เป็นระบบใต้ดิน
กระทรวงคมนาคมได้รับรายงานจาก รฟท. เพื่อขออนุมัติดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง โดยมีข้อสรุปดังนี้
1. คณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 4/2547 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547 ได้มีมติเห็นชอบผลการศึกษา วิเคราะห์ ทบทวน ปรับปรุง การศึกษาความเหมาสมของโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามสาระของรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Final EIA Report) โดยมีเงื่อนไขให้ รฟท. รับข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตอื่นใดเพิ่มเติม (หากมี) จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไขรายงานข้างต้นทั้งสองฉบับให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
2. รฟท. ได้นำเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2547 และคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการของส่วนราชการรัฐวิสาหกิจและโครงการร่วมกับเอกชน ด้านการคมนาคม ได้ประชุมพิจารณาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2547 ปรากฏว่าคณะกรรมการฯ ยังไม่สามารถเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ โดยมีประเด็นพิจารณาที่สำคัญประการหนึ่ง คือผลการศึกษาทบทวนความเหมาะสมของโครงการฯ ซึ่งที่ปรึกษาได้เสนอให้ระบบขนส่งทางรถไฟตามโครงการนี้เป็นระบบทางรถไฟยกระดับตลอดสายทาง (ยกเว้นในส่วนของสถานีรถไฟใต้ดินสุวรรณภูมิ) รวมถึงโครงสร้างทางรถไฟยกระดับที่ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่ชั้นในของ กทม. ในอนาคตด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-