คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 งบกลางรายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (งบกลางปี 2547) เพื่อให้กระทรวงคมนาคมดำเนินโครงการตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 ในส่วนของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จำนวน 3 โครงการ กรมทางหลวง (ทล.) จำนวน 2 โครงการ และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จำนวน 2 โครงการ รวม 7 โครงการ วงเงินรวม 1,612.436 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 หน่วยงานดังกล่าว ขอทำความตกลงรายละเอียดด้านการเงินกับสำนักงบประมาณต่อไป ตามความเห็นชอบของสำนักงบประมาณ
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดทำกรอบวงเงินเพื่อดำเนินงาน/โครงการตามมติ คจร. โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จากงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้าบศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (งบกลางปี 2547) ภายใต้กรอบภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อการแก้ไขปัญหาการขนส่งและจราจรอย่างยั่งยืนตามยุทธศาสตร์และนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล (Agenda Based) รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่ในเชิงบูรณาการ (Area Based) ซึ่งต้องการอาศัยการพัฒนาการคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ อาทิเช่น ระบบราง รวมถึงกิจกรรมเกี่ยวเนื่องอย่างอื่นที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการออกแบบรายละเอียดเพื่อเตรียมการก่อนการก่อสร้างโครงการขนส่งมวลชนระบบรางต่าง ๆ การขนส่งทางถนนในเส้นทางลัดสู่ภาคใต้ ซึ่งจำเป็นต้องทำควบคู่กับการพัฒนาเมืองและชุมชนโดยการเชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งทางถนน ระบบรางกับระบบการขนส่งทางน้ำและระบบการขนส่งทางอากาศ ทั้งระหว่างเมืองหลักกับส่วนภูมิภาคของประเทศ คำนึงถึงประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ประกอบด้วยโครงการที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมต้องดำเนินงานตามมติ คจร. ซึ่งมี นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีลำดับความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนส่งผลต่อยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาการขนส่งและจราจรของประเทศ ดังนี้
1. สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
สืบเนื่องจากการดำเนินการออกแบบรายละเอียดโครงการระบบขนส่งทางรถไฟในกรุงเทพมหานครสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และพญาไท-พุทธมณฑล และทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ช่วงมักกะสัน-สุวรรณภูมิ) แต่ยังไม่มีโครงข่ายที่ต้องดำเนินการให้มีความเชื่อมโยงกับระบบต่าง ๆ เช่น รถไฟชานเมือง (Commuter Train) รถไฟทางไกล (Long Distance Train) ตามแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบราง รวมทั้งให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (MRT) ทำหน้าที่กระจายผู้โดยสาร (Feeder) โดยมีสถานีหลัก 3 แห่งมรอบกรุงเทพมหานคร (สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานี BSTC/ธนบุรี) ซึ่งมีหัวลำโพงเป็นสถานีใจกลางเมืองมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันจนสามารถให้บริการผ่านเมืองได้จากทุกทิศทางไปยังชานเมือง (แนวทิศเหนือ -ใต้-ตะวันออก และตะวันตก) ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการทั้งสาม กล่าวคือ
1.1 งานศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการระบบขนส่งทางรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - มักกะสัน และบางซื่อ-หัวลำโพง จำนวน 156 ล้านบาท
1.2 งานศึกษาและออกแบบรายละเอียดศูนย์คมนาคมตากสินและทางรถไฟสายแม่กลอง (ช่วงหัวลำโพง-มหาชัย) จำนวน 179 ล้านบาท
1.3 งานศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการะบบรถไฟฟ้าชานเมืองร่วมกับรถไฟทางไกลเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (รังสิต-สถานีบ้านภาชี, มักกะสัน - ฉะเชิงเทรา, ตลิ่งชัน-นครปฐมและมหาชัย-ปากท่อ) จำนวน 460 ล้านบาท
2. กรมทางหลวง (ทล.)
2.1 โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างเส้นทางลัดสู่ภาคใต้
(สมุทรสาคร - แหลมผักเบี้ย - ชะอำ) จำนวน 428.75 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการออกแบบรายละเอียดทั้งในส่วนพื้นที่บนพื้นดิน และในทะเล ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลที่จะต้องให้แล้วเสร็จภายในปี 2550 อีกทั้งการก่อสร้างในโครงการนี้มีส่วนเป็นโครงสร้างสะพานในทะเลที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้างกว่า 3 ปี ทำให้การดำเนินการออบแบบรายละเอียดของโครงการ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาการประมาณ 8 เดือน จำเป็นต้องรีบเร่งให้สามารถเริ่มดำเนินการออกแบบรายละเอียดได้โดยเร็ว
2.2 โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อควบคุมผู้ออกแบบและพิจารณาข้อเสนอของผู้ลงทุนโครงการเส้นทางลัดสู่ภาคใต้ (สมุทรสาคร-แหลมผักเบี้ย-ชะอำ) วงเงิน 40 ล้านบาท
3. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
3.1 โครงการจ้างที่ปรึกษาทบทวนและจัดทำแบบกรอกรายละเอียด (Definitive Design) และเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายและสายใหม่ของ รฟม. จำนวน 300 ล้านบาท เพื่อจัดทำแบบในระดับ Definitive Design ที่มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากแบบเบื้องต้น รวมทั้งการจัดทำเอกสารประกวดราคาใหม่ให้มีรายละเอียดที่ครบถ้วน สมบูรณ์ และจัดทำรายงานผลการศึกษาที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นสำหรับการนำเสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการตามขั้นตอนต่อไป
3.2 โครงการว่าจ้างดำเนินการสำรวจอสังหาริมทรัพย์ตามแนวสายทางโครงการส่วนต่อขยายและสายใหม่ รฟม. จำนวน 76 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานสำรวจแนวเขตทาง (Right of Way Plan) สำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ในแนวเขตทาง การประเมินราคาทรัพย์สิน และการจัดทำระบบสารสนเทศของการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในแนวเขตทางตามโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายและสายใหม่ของ รฟม. รวมจำนวน 7 โครงการ มีวงเงินรวมทั้งสิ้น 1,639.75 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดทำกรอบวงเงินเพื่อดำเนินงาน/โครงการตามมติ คจร. โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จากงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้าบศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (งบกลางปี 2547) ภายใต้กรอบภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อการแก้ไขปัญหาการขนส่งและจราจรอย่างยั่งยืนตามยุทธศาสตร์และนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล (Agenda Based) รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่ในเชิงบูรณาการ (Area Based) ซึ่งต้องการอาศัยการพัฒนาการคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ อาทิเช่น ระบบราง รวมถึงกิจกรรมเกี่ยวเนื่องอย่างอื่นที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการออกแบบรายละเอียดเพื่อเตรียมการก่อนการก่อสร้างโครงการขนส่งมวลชนระบบรางต่าง ๆ การขนส่งทางถนนในเส้นทางลัดสู่ภาคใต้ ซึ่งจำเป็นต้องทำควบคู่กับการพัฒนาเมืองและชุมชนโดยการเชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งทางถนน ระบบรางกับระบบการขนส่งทางน้ำและระบบการขนส่งทางอากาศ ทั้งระหว่างเมืองหลักกับส่วนภูมิภาคของประเทศ คำนึงถึงประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ประกอบด้วยโครงการที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมต้องดำเนินงานตามมติ คจร. ซึ่งมี นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีลำดับความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนส่งผลต่อยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาการขนส่งและจราจรของประเทศ ดังนี้
1. สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
สืบเนื่องจากการดำเนินการออกแบบรายละเอียดโครงการระบบขนส่งทางรถไฟในกรุงเทพมหานครสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และพญาไท-พุทธมณฑล และทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ช่วงมักกะสัน-สุวรรณภูมิ) แต่ยังไม่มีโครงข่ายที่ต้องดำเนินการให้มีความเชื่อมโยงกับระบบต่าง ๆ เช่น รถไฟชานเมือง (Commuter Train) รถไฟทางไกล (Long Distance Train) ตามแผนแม่บทการขนส่งมวลชนระบบราง รวมทั้งให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (MRT) ทำหน้าที่กระจายผู้โดยสาร (Feeder) โดยมีสถานีหลัก 3 แห่งมรอบกรุงเทพมหานคร (สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานี BSTC/ธนบุรี) ซึ่งมีหัวลำโพงเป็นสถานีใจกลางเมืองมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันจนสามารถให้บริการผ่านเมืองได้จากทุกทิศทางไปยังชานเมือง (แนวทิศเหนือ -ใต้-ตะวันออก และตะวันตก) ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการทั้งสาม กล่าวคือ
1.1 งานศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการระบบขนส่งทางรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - มักกะสัน และบางซื่อ-หัวลำโพง จำนวน 156 ล้านบาท
1.2 งานศึกษาและออกแบบรายละเอียดศูนย์คมนาคมตากสินและทางรถไฟสายแม่กลอง (ช่วงหัวลำโพง-มหาชัย) จำนวน 179 ล้านบาท
1.3 งานศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการะบบรถไฟฟ้าชานเมืองร่วมกับรถไฟทางไกลเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (รังสิต-สถานีบ้านภาชี, มักกะสัน - ฉะเชิงเทรา, ตลิ่งชัน-นครปฐมและมหาชัย-ปากท่อ) จำนวน 460 ล้านบาท
2. กรมทางหลวง (ทล.)
2.1 โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างเส้นทางลัดสู่ภาคใต้
(สมุทรสาคร - แหลมผักเบี้ย - ชะอำ) จำนวน 428.75 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการออกแบบรายละเอียดทั้งในส่วนพื้นที่บนพื้นดิน และในทะเล ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลที่จะต้องให้แล้วเสร็จภายในปี 2550 อีกทั้งการก่อสร้างในโครงการนี้มีส่วนเป็นโครงสร้างสะพานในทะเลที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้างกว่า 3 ปี ทำให้การดำเนินการออบแบบรายละเอียดของโครงการ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาการประมาณ 8 เดือน จำเป็นต้องรีบเร่งให้สามารถเริ่มดำเนินการออกแบบรายละเอียดได้โดยเร็ว
2.2 โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อควบคุมผู้ออกแบบและพิจารณาข้อเสนอของผู้ลงทุนโครงการเส้นทางลัดสู่ภาคใต้ (สมุทรสาคร-แหลมผักเบี้ย-ชะอำ) วงเงิน 40 ล้านบาท
3. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
3.1 โครงการจ้างที่ปรึกษาทบทวนและจัดทำแบบกรอกรายละเอียด (Definitive Design) และเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายและสายใหม่ของ รฟม. จำนวน 300 ล้านบาท เพื่อจัดทำแบบในระดับ Definitive Design ที่มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากแบบเบื้องต้น รวมทั้งการจัดทำเอกสารประกวดราคาใหม่ให้มีรายละเอียดที่ครบถ้วน สมบูรณ์ และจัดทำรายงานผลการศึกษาที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นสำหรับการนำเสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการตามขั้นตอนต่อไป
3.2 โครงการว่าจ้างดำเนินการสำรวจอสังหาริมทรัพย์ตามแนวสายทางโครงการส่วนต่อขยายและสายใหม่ รฟม. จำนวน 76 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานสำรวจแนวเขตทาง (Right of Way Plan) สำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ในแนวเขตทาง การประเมินราคาทรัพย์สิน และการจัดทำระบบสารสนเทศของการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในแนวเขตทางตามโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายและสายใหม่ของ รฟม. รวมจำนวน 7 โครงการ มีวงเงินรวมทั้งสิ้น 1,639.75 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-