คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการในการตรวจสอบความถูกต้องของร่างพระราชบัญญัติก่อนที่รัฐสภาจะมีมติเห็นชอบ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอแล้วมีมติ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤฎีการับไปพิจารณาเสนอแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการตรวจสอบความถูกต้องของร่างพระราชบัญญัติก่อนที่รัฐสภาจะมีมติเห็นชอบ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทำหน้าที่ดังกล่าวเป็นหลักตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ที่ประชุมมอบให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำคู่มือเป็นแนวปฏิบัติสำหรับ รัฐมนตรีและหัวหน้าส่วนราชการต่อไป และหากเกิดความผิดพลาดบกพร่องอันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามคู่มือดังกล่าว ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปพิจารณาดังนี้
1. การที่รัฐบาลมอบหมายให้ผู้แทนฝ่ายรัฐบาลเข้าไปติดตามดูแล และร่วมพิจารณาร่างกฎหมายในชั้นสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ไม่น่าจะขัดต่อระบบการแบ่งแยกอำนาจตามรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐบาลเป็นผู้เสนอร่างกฎหมายและจะต้องเป็นผู้นำกฎหมายไปใช้บังคับ ดังนั้น องค์กรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมาย สมควรร่วมมือกันในการพิจารณาเป็นไปด้วยความรอบคอบยิ่งขึ้นมิได้มีวัตถุประสงค์ไปในทางก้าวก่ายอำนาจของแต่ละองค์กรแต่อย่างใด
2. ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งมีภาระหน้าที่ในการตรวจพิจารณากฎหมายของส่วนราชการต่าง ๆ มีงบประจำอยู่เป็นจำนวนมาก แต่มีบุคลากรในหน่วยงานจำนวนจำกัด การให้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานทางด้านรัฐสภา เพื่อติดตามความคืบหน้าของกฎหมายทุกขั้นตอนอาจเป็นการเพิ่มภาระของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามากขึ้น แต่เห็นว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเหมาะสมที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวมากกว่าหน่วยงานเจ้าของเรื่องเพราะสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านกฎหมายอยู่แล้ว ประกอบกับเป็นร่างกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ได้ตรวจพิจารณามาแล้ว และเห็นว่า เป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่รักษามาตรฐานทางกฎหมายของทุกกระทรวง กรม เท่าที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทำงานโดยระบบและเป็นงานวิชาชีพไม่เหมือนกับกระทรวง กรม ต่าง ๆ ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอดเวลา มีลักษณะเฉพาะบุคคลไม่เป็นระบบ ซึ่งหากมีการขาดแคลนเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น คอมพิวเตอร์ ที่จะบันทึกว่าร่างกฎหมายใดใครเป็นผู้เสนอแก้ไข เป็นต้น รัฐบาลก็พร้อมจะให้การสนับสนุน ส่วนด้านบุคลากรโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกรรมการร่างกฎหมายประจำ ซึ่งขณะนี้มี 4 คนเท่านั้น ก็สามารถพิจารณาให้มีเพิ่มขึ้นได้ โดยอาจเพิ่มอีก 2 คน เพื่อทำหน้าที่ด้านสภาผู้แทนราษฎร 1 คน และวุฒิสภา 1 คน ซึ่งอาจดำเนินการโดยขอกำหนดตำแหน่งกรรมการร่างกฎหมายประจำเพิ่ม หรืออาจจ้างเป็นพนักงานของรัฐตามสัญญาจ้างตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดขึ้นได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มาก นอกจากนี้อาจจะให้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานวุฒิสภา หรือเป็นกรรมาธิการวุฒิสภาหรือเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการในชั้นวุฒิสภาได้ เพื่อให้เกิดความรอบคอบเกี่ยวกับร่างกฎหมายต่าง ๆ ที่จะมีการพิจารณาในชั้นวุฒิสภา คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรจะได้มีการประสานเป็นการภายใน เพื่อให้ผู้แทนจากรัฐบาลเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการด้วยโดยจะประสานขอให้วุฒิสภาพิจารณาแก้ไขข้อบังคับซึ่งจะมีความเหมาะสมกว่า ประกอบกับปัจจุบันคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะต่าง ๆ จำนวน 5 คณะ โดยมีการแบ่งหน้าที่ตามกลุ่มภารกิจต่าง ๆ และได้ทำหน้าที่ประสานงานเป็นการภายในกับวุฒิสภาในการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ อยู่แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
1. การที่รัฐบาลมอบหมายให้ผู้แทนฝ่ายรัฐบาลเข้าไปติดตามดูแล และร่วมพิจารณาร่างกฎหมายในชั้นสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ไม่น่าจะขัดต่อระบบการแบ่งแยกอำนาจตามรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐบาลเป็นผู้เสนอร่างกฎหมายและจะต้องเป็นผู้นำกฎหมายไปใช้บังคับ ดังนั้น องค์กรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมาย สมควรร่วมมือกันในการพิจารณาเป็นไปด้วยความรอบคอบยิ่งขึ้นมิได้มีวัตถุประสงค์ไปในทางก้าวก่ายอำนาจของแต่ละองค์กรแต่อย่างใด
2. ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งมีภาระหน้าที่ในการตรวจพิจารณากฎหมายของส่วนราชการต่าง ๆ มีงบประจำอยู่เป็นจำนวนมาก แต่มีบุคลากรในหน่วยงานจำนวนจำกัด การให้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานทางด้านรัฐสภา เพื่อติดตามความคืบหน้าของกฎหมายทุกขั้นตอนอาจเป็นการเพิ่มภาระของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามากขึ้น แต่เห็นว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเหมาะสมที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวมากกว่าหน่วยงานเจ้าของเรื่องเพราะสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านกฎหมายอยู่แล้ว ประกอบกับเป็นร่างกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ได้ตรวจพิจารณามาแล้ว และเห็นว่า เป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่รักษามาตรฐานทางกฎหมายของทุกกระทรวง กรม เท่าที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทำงานโดยระบบและเป็นงานวิชาชีพไม่เหมือนกับกระทรวง กรม ต่าง ๆ ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอดเวลา มีลักษณะเฉพาะบุคคลไม่เป็นระบบ ซึ่งหากมีการขาดแคลนเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น คอมพิวเตอร์ ที่จะบันทึกว่าร่างกฎหมายใดใครเป็นผู้เสนอแก้ไข เป็นต้น รัฐบาลก็พร้อมจะให้การสนับสนุน ส่วนด้านบุคลากรโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกรรมการร่างกฎหมายประจำ ซึ่งขณะนี้มี 4 คนเท่านั้น ก็สามารถพิจารณาให้มีเพิ่มขึ้นได้ โดยอาจเพิ่มอีก 2 คน เพื่อทำหน้าที่ด้านสภาผู้แทนราษฎร 1 คน และวุฒิสภา 1 คน ซึ่งอาจดำเนินการโดยขอกำหนดตำแหน่งกรรมการร่างกฎหมายประจำเพิ่ม หรืออาจจ้างเป็นพนักงานของรัฐตามสัญญาจ้างตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดขึ้นได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มาก นอกจากนี้อาจจะให้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานวุฒิสภา หรือเป็นกรรมาธิการวุฒิสภาหรือเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการในชั้นวุฒิสภาได้ เพื่อให้เกิดความรอบคอบเกี่ยวกับร่างกฎหมายต่าง ๆ ที่จะมีการพิจารณาในชั้นวุฒิสภา คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรจะได้มีการประสานเป็นการภายใน เพื่อให้ผู้แทนจากรัฐบาลเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการด้วยโดยจะประสานขอให้วุฒิสภาพิจารณาแก้ไขข้อบังคับซึ่งจะมีความเหมาะสมกว่า ประกอบกับปัจจุบันคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะต่าง ๆ จำนวน 5 คณะ โดยมีการแบ่งหน้าที่ตามกลุ่มภารกิจต่าง ๆ และได้ทำหน้าที่ประสานงานเป็นการภายในกับวุฒิสภาในการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ อยู่แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-