คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่องการจัดการตลาดลำไย ปี 2547 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
ตามที่คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรได้มีมติเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2547 มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบในการกำกับดูแล และแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะลำไยอย่างเป็นระบบครบวงจร เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพในการช่วยเหลือเกษตรกรนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมประชุมหารือกับผู้แทนสถาบันเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในช่วงเดือนพฤษภาคม 2547 ที่ผ่านมาสรุปได้ว่า ปริมาณผลผลิตลำไยปีนี้จะมีปริมาณมากกว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะทางภาคเหนือจะมีผลผลิตประมาณ 500,000 ตัน (92% ของผลผลิตทั้งประเทศ) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 40% ประกอบกับผลผลิตจะออกสู่ตลาดในช่วงเวลาสั้น ๆ และลำไยสดไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ซึ่งคาดว่าสถานการณ์ด้านราคาจะตกต่ำ ทำให้เกษตรกรชาวสวนลำไยได้รับความเดือดร้อนมาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเตรียมการและจัดการการตลาดลำไยปี 2547 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรไว้ ดังนี้
1. การกระจายลำไยสดออกนอกแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค โดยจะสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกร หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงมหาดไทย รวมทั้ง ธ.ก.ส. ร่วมกันดำเนินการกระจายผลผลิตลำไยให้ไปสู่ผู้บริโภคทั้งตลาดเดิมและตลาดใหม่ ๆ โดยเฉพาะในระดับอำเภอ และตำบลทั่วประเทศ รวมประมาณ 20,000 ตัน
2. การกระจายลำไยสดเพื่อการส่งออก จะดำเนินการตามที่ได้มีการหารือกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่จะร่วมกันผลักดันในการส่งออกลำไยสด ประมาณ 150,000 ตัน
3. การแปรรูปลำไยกระป๋อง จะสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ดำเนินการผลิตลำไยกระป๋องที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
4. การแปรรูปและการตลาดลำไยอบแห้ง กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์จะร่วมกับสถาบันเกษตร และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องดำเนินการรับซื้อสดจากเกษตรกรในราคาที่กำหนด แปรรูปลำไยสดเป็นลำไยอบแห้ง และดำเนินการด้านการตลาดและการจำหน่าย ในปริมาณลำไยอบแห้งไม่เกิน 100,000 ตัน
5. ส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศและต่างประเทศ โดยการจัดงานเทศกาลและรณรงค์การบริโภคลำไยทั้งในและต่างประเทศ การแจกชิม และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การบริโภคลำไย
ทั้งนี้ จะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนใช้จ่ายในการดำเนินงานข้างต้นประมาณ 4,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
ตามที่คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรได้มีมติเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2547 มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบในการกำกับดูแล และแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะลำไยอย่างเป็นระบบครบวงจร เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพในการช่วยเหลือเกษตรกรนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมประชุมหารือกับผู้แทนสถาบันเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในช่วงเดือนพฤษภาคม 2547 ที่ผ่านมาสรุปได้ว่า ปริมาณผลผลิตลำไยปีนี้จะมีปริมาณมากกว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะทางภาคเหนือจะมีผลผลิตประมาณ 500,000 ตัน (92% ของผลผลิตทั้งประเทศ) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 40% ประกอบกับผลผลิตจะออกสู่ตลาดในช่วงเวลาสั้น ๆ และลำไยสดไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ซึ่งคาดว่าสถานการณ์ด้านราคาจะตกต่ำ ทำให้เกษตรกรชาวสวนลำไยได้รับความเดือดร้อนมาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเตรียมการและจัดการการตลาดลำไยปี 2547 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรไว้ ดังนี้
1. การกระจายลำไยสดออกนอกแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค โดยจะสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกร หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงมหาดไทย รวมทั้ง ธ.ก.ส. ร่วมกันดำเนินการกระจายผลผลิตลำไยให้ไปสู่ผู้บริโภคทั้งตลาดเดิมและตลาดใหม่ ๆ โดยเฉพาะในระดับอำเภอ และตำบลทั่วประเทศ รวมประมาณ 20,000 ตัน
2. การกระจายลำไยสดเพื่อการส่งออก จะดำเนินการตามที่ได้มีการหารือกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่จะร่วมกันผลักดันในการส่งออกลำไยสด ประมาณ 150,000 ตัน
3. การแปรรูปลำไยกระป๋อง จะสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ดำเนินการผลิตลำไยกระป๋องที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
4. การแปรรูปและการตลาดลำไยอบแห้ง กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์จะร่วมกับสถาบันเกษตร และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องดำเนินการรับซื้อสดจากเกษตรกรในราคาที่กำหนด แปรรูปลำไยสดเป็นลำไยอบแห้ง และดำเนินการด้านการตลาดและการจำหน่าย ในปริมาณลำไยอบแห้งไม่เกิน 100,000 ตัน
5. ส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศและต่างประเทศ โดยการจัดงานเทศกาลและรณรงค์การบริโภคลำไยทั้งในและต่างประเทศ การแจกชิม และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การบริโภคลำไย
ทั้งนี้ จะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนใช้จ่ายในการดำเนินงานข้างต้นประมาณ 4,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-