คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(นายอดิศัย โพธารามิก) รายงานสรุปสภาพปัญหา ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะการดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนี้
จังหวัดนครศรีธรรมราช
1. สภาพปัญหา
(1) ช่วงที่ประสบภัยแล้งเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เป็นต้นมา
(2) ไม่มีอำเภอใด ได้รับความเสียหายในระดับรุนแรง และระดับปานกลาง มีเพียงได้รับความเสียหายรวม 1,034 หมู่บ้าน 317,707 คน 659,762 ครัวเรือน มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น รวม 14,745,784 บาท พื้นที่เกษตรที่ได้รับความเสียหาย จำแนกได้เป็น พื้นที่นา ได้รับความเสียหาย รวม 5,121 ไร่ ,พื้นที่ไร่ได้รับความเสียหาย รวม 5,589 ไร่ พื้นที่สวนได้รับความเสียหาย รวม 42,355 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 28 มีนาคม 2548)
(3) การให้ความช่วยเหลือได้มีการจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรโดยรถบรรทุกน้ำ รวม 18,000 ลิตร เครื่องสูบน้ำรวม 51 เครื่อง ซ่อม,สร้าง,ทำนบ ฝาย รวม 47 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ รวม 22 แห่ง และมีการแจกจ่ายน้ำอุปโภค บริโภค โดยรถบรรทุกน้ำ รวม 17,139,500 ลิตร ซึ่งใช้เงินทดรองราชการฉุกเฉิน 341,344 บาท และเงินงบฉุกเฉินของท้องถิ่น 601,406 บาท งบอื่น ๆ 562,435 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 28 มีนาคม 2548)
(4) สภาพภูมิศาสตร์อำเภอที่แล้งที่สุด คือ อำเภอฉวาง อำเภอถ้ำพรรณารา อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอนาบอน และอำเภอบางขัน ซึ่งเป็นพื้นที่เนิน
(5) การแก้ไขปัญหาเร่งด่วน จังหวัดได้ขอสนับสนุน การทำฝนหลวงในช่วงเดือนมีนาคม — เมษายน 2548 จัดทำแผนเฉพาะกิจรับสถานการณ์ภัยแล้งระดับอำเภอและกิ่งอำเภอ จัดทำข้อมูลปริมาณน้ำต้นทุนคงเหลือให้เป็นปัจจุบัน จัดทำบัญชีพื้นที่เกิดภัยแล้งซ้ำซากแจกจ่ายน้ำประปาหมู่บ้านและสำรวจบ่อน้ำบาดาลระบบประปาหมู่บ้าน พร้อมแจ้งให้ทำการซ่อมแซมให้สามารถใช้งานได้
(6) แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาว จังหวัดได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ำแบบบูรณาการระดับจังหวัด พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ตลอดทั้งได้มีการขอความร่วมมือกระทรวงแรงงานในการให้บริการประชาชน เพื่อสร้างเสริมรายได้ให้กับประชาชน มีโครงการฝึกอาชีพแรงงานในชนบท และโครงการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำ เพื่อส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตร และจัดตั้งศูนย์แจกจ่ายน้ำประปา หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง
2. ปัญหาอุปสรรค
(1) การขุดลอกคลอง ส่งน้ำที่มีปริมาณความลึก ความกว้าง และความยาวตลอดทั้งสาย เนื่องจากการทับถมของตะกอนดินมาเป็นเวลานาน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งไม่สามารถทำได้ เพราะสำนักงบประมาณเคยให้ข้อสังเกตว่าควรมีแผนงานโครงการรองรับและใช้จ่ายโดยงบประมาณปกติของส่วนราชการเป็นผู้ขอตั้งงบประมาณโดยถือว่าเป็นการเตรียมการก่อนเกิดภัย ทำให้การแก้ไขปัญหาภัยแล้งเกิดความล่าช้า
(2) ผลจากข้อ 1 ทำให้ อำเภอ กิ่งอำเภอจะสามารถดำเนินการขุดลอกเปิดทางน้ำ เพื่อผันน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้เพียง
2.1 หากปริมาณน้ำในพื้นที่ตลอดคลองทั้งสาย มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับการผันน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรก็จะสามารถดำเนินการได้เฉพาะขุดเปิดปากน้ำเพื่อผันน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถแก้ไขภัยแล้งได้ทั้งหมด
2.2 กรณีมีความจำเป็นที่จะต้องขุดคลอง หรือขุดลอกคลองทั้งสาย ต้องดำเนินการขอรับการสนับสนุนไปยังส่วนราชการเจ้าของพื้นที่ หรือจัดส่งคำขอรับงบประมาณพร้อมโครงการที่มีแบบแปลนประมาณการค่าขุดลอกโดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติระดับอำเภอ เพื่อขอรับการสนับสนุนวงเงินงบกลาง ทำให้เกิดขั้นตอนการดำเนินการหลายขั้นตอน ไม่ทันต่อความต้องการของราษฎรที่ประสบภัยแล้ง
(3) ด้านการป้องกันและบรรเทาภัยข้อ 5.8.4 ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 การจัดหาวัสดุไม่รวมถึงระบบท่อส่งน้ำเพื่อนำไปป้องกันและแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าในการช่วยเหลือราษฎร จึงไม่สามารถก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง กรณีจำเป็นเร่งด่วนได้
3. ข้อเสนอแนะ
(1) ควรประสานงานสำนักงบประมาณเพื่อผ่อนปรน ข้อสังเกตเพื่อให้มีการขุดลอกคลองส่งน้ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งได้อย่างทันเวลา และสามารถดำเนินการขุดคลองส่งน้ำที่มีความลึก ความกว้าง ความยาว ได้ตลอดทั้งสายโดยถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วน ไม่ต้องมีแผนงานโครงการรองรับก่อน
(2) ควรประสานงานกระทรวงการคลัง เพื่อผ่อนปรนระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ข้อ 5.8.4 เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องการจัดหาวัสดุป้องกัน และบรรเทาภัยในการจัดหาวัสดุให้รวมถึงระบบท่อส่งน้ำ เพื่อนำไปป้องกันและแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าในการช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยแล้งได้
(3) นำระบบ GIS เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในอนาคตแบบยั่งยืน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
1. สภาพปัญหา
(1) ช่วงที่ประสบภัยแล้งอยู่ระหว่างเดือนธันวาคม 2547-มกราคม 2548
(2) ไม่มีอำเภอใดได้รับความเสียหายในระดับรุนแรง มีเพียงได้รับความเสียหายในระดับปานกลางและเล็กน้อย โดยความเสียหายระดับปานกลาง มี 4 อำเภอ คือ อำเภอพุนพิน อำเภอไชยา อำเภอเกาะพะงัน และกิ่งอำเภอวิภาวดี ราษฎรได้รับความเสียหายรวม123 หมู่บ้าน 65,726 คน 22,073 ครัวเรือน มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงาน ส่วนอำเภอนอกจากนั้น รวม 11 อำเภอ ได้รับความเสียหายระดับเล็กน้อย ราษฎรได้รับความเสียหายรวม 262 หมู่บ้าน 62,033 คน 15,653 ครัวเรือน มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงาน พื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายจำแนกได้เป็นพื้นที่สวนได้รับความเสียหายรวม 192 ไร่ ส่วนพื้นที่นาและพื้นที่ไร่ยังไม่ได้รับรายงานความเสียหาย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548)
(3) การให้ความช่วยเหลือมีเฉพาะการแจกจ่ายน้ำบริโภคและอุปโภคโดยรถบรรทุกน้ำ รวม 20,227,600 ลิตร (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548)
(4) สภาพภูมิศาสตร์อำเภอที่แล้งที่สุด ได้แก่กิ่งอำเภอวิภาวดี อำเภอพนม และอำเภอเคียนซา ซึ่งมีสภาพเป็นพื้นที่ราบสูง
(5) การแก้ไขปัญหาภาวะเร่งด่วน จังหวัดได้ขอสนับสนุนการทำฝนหลวง เตรียมอาหารสัตว์ (หญ้าแห้งอัดแท่ง) ป้องกันโรคระบาดสัตว์ ปล่อยน้ำจากเขื่อนรัชชประภาเพื่อดันน้ำทะเลออกไปจะได้เลี้ยงปลาในกระชังในแม่น้ำพุมดวงและแม่น้ำตาปีได้
(6) แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยาว จังหวัดได้ดำเนินการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง จัดแบ่งพื้นที่ให้หน่วยงานที่มีรถบรรทุกและเครื่องมือในการช่วยเหลือ แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่เร่งสำรวจแหล่งน้ำและให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดหาถังน้ำขนาดวางท้ายรถกระบะ แจกจ่ายแก่ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่ที่มีรถน้ำไม่เพียงพอ
2. ปัญหาอุปสรรค
(1) อำเภอไม่ทำแผนที่จุดแจกจ่ายน้ำและเส้นทางให้กับหน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือ
(2) การแจกจ่ายน้ำในแต่ละตำบลไม่มีจุดแจกจ่ายน้ำต้องให้รถเข้าไปแจกจ่ายน้ำถึงในบ้าน
(3) รถบรรทุกน้ำที่เข้าไปช่วยเหลือไม่พอเพียง ทำให้ราษฎรไม่ค่อยพอใจในการช่วยเหลือของทางราชการ
(4) การช่วยเหลือของ อบต. ไม่ทั่วถึงทั้งหมู่บ้าน ส่วนมากจะแจกจ่ายให้กับพรรคพวกหรือญาติพี่น้อง
(5) ทางราชการได้ไปติดตั้งเครื่องสูบน้ำให้ราษฎร แต่ก็มีปัญหาเรื่องท่อหรือสายส่งน้ำไม่มีหรือไม่เพียงพอ
3. ข้อเสนอแนะ
(1) จังหวัดมีความพร้อมและศักยภาพในระดับหนึ่งในการให้ความช่วยเหลือราษฎรจึงต้องได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่นด้วย เพราะใกล้ชิดกับชาวบ้านมากกว่าระดับจังหวัด จึงควรเร่งประสานงานขอความร่วมมือจากท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาภัยแล้งในทุก ๆ ด้าน
(2) ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยสนับสนุนซื้อโอ่ง หรือภาชนะเก็บน้ำหรือสร้างจุดจ่ายน้ำประจำ หมู่บ้าน
(3) ควรดำเนินการขุดคลอง หรือสระน้ำที่มีสภาพตื้นเขินให้อยู่ในสภาพที่จะเก็บกักน้ำได้
(4) จัดทำฝายแม้ว ฝายน้ำล้นในหมู่บ้านหรือตำบล
(5) นำระบบ GIS แก้ไขภัยแล้งในอนาคตแบบยั่งยืน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--
จังหวัดนครศรีธรรมราช
1. สภาพปัญหา
(1) ช่วงที่ประสบภัยแล้งเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เป็นต้นมา
(2) ไม่มีอำเภอใด ได้รับความเสียหายในระดับรุนแรง และระดับปานกลาง มีเพียงได้รับความเสียหายรวม 1,034 หมู่บ้าน 317,707 คน 659,762 ครัวเรือน มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น รวม 14,745,784 บาท พื้นที่เกษตรที่ได้รับความเสียหาย จำแนกได้เป็น พื้นที่นา ได้รับความเสียหาย รวม 5,121 ไร่ ,พื้นที่ไร่ได้รับความเสียหาย รวม 5,589 ไร่ พื้นที่สวนได้รับความเสียหาย รวม 42,355 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 28 มีนาคม 2548)
(3) การให้ความช่วยเหลือได้มีการจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรโดยรถบรรทุกน้ำ รวม 18,000 ลิตร เครื่องสูบน้ำรวม 51 เครื่อง ซ่อม,สร้าง,ทำนบ ฝาย รวม 47 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ รวม 22 แห่ง และมีการแจกจ่ายน้ำอุปโภค บริโภค โดยรถบรรทุกน้ำ รวม 17,139,500 ลิตร ซึ่งใช้เงินทดรองราชการฉุกเฉิน 341,344 บาท และเงินงบฉุกเฉินของท้องถิ่น 601,406 บาท งบอื่น ๆ 562,435 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 28 มีนาคม 2548)
(4) สภาพภูมิศาสตร์อำเภอที่แล้งที่สุด คือ อำเภอฉวาง อำเภอถ้ำพรรณารา อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอนาบอน และอำเภอบางขัน ซึ่งเป็นพื้นที่เนิน
(5) การแก้ไขปัญหาเร่งด่วน จังหวัดได้ขอสนับสนุน การทำฝนหลวงในช่วงเดือนมีนาคม — เมษายน 2548 จัดทำแผนเฉพาะกิจรับสถานการณ์ภัยแล้งระดับอำเภอและกิ่งอำเภอ จัดทำข้อมูลปริมาณน้ำต้นทุนคงเหลือให้เป็นปัจจุบัน จัดทำบัญชีพื้นที่เกิดภัยแล้งซ้ำซากแจกจ่ายน้ำประปาหมู่บ้านและสำรวจบ่อน้ำบาดาลระบบประปาหมู่บ้าน พร้อมแจ้งให้ทำการซ่อมแซมให้สามารถใช้งานได้
(6) แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาว จังหวัดได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ำแบบบูรณาการระดับจังหวัด พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ตลอดทั้งได้มีการขอความร่วมมือกระทรวงแรงงานในการให้บริการประชาชน เพื่อสร้างเสริมรายได้ให้กับประชาชน มีโครงการฝึกอาชีพแรงงานในชนบท และโครงการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำ เพื่อส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตร และจัดตั้งศูนย์แจกจ่ายน้ำประปา หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง
2. ปัญหาอุปสรรค
(1) การขุดลอกคลอง ส่งน้ำที่มีปริมาณความลึก ความกว้าง และความยาวตลอดทั้งสาย เนื่องจากการทับถมของตะกอนดินมาเป็นเวลานาน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งไม่สามารถทำได้ เพราะสำนักงบประมาณเคยให้ข้อสังเกตว่าควรมีแผนงานโครงการรองรับและใช้จ่ายโดยงบประมาณปกติของส่วนราชการเป็นผู้ขอตั้งงบประมาณโดยถือว่าเป็นการเตรียมการก่อนเกิดภัย ทำให้การแก้ไขปัญหาภัยแล้งเกิดความล่าช้า
(2) ผลจากข้อ 1 ทำให้ อำเภอ กิ่งอำเภอจะสามารถดำเนินการขุดลอกเปิดทางน้ำ เพื่อผันน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรได้เพียง
2.1 หากปริมาณน้ำในพื้นที่ตลอดคลองทั้งสาย มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับการผันน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรก็จะสามารถดำเนินการได้เฉพาะขุดเปิดปากน้ำเพื่อผันน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถแก้ไขภัยแล้งได้ทั้งหมด
2.2 กรณีมีความจำเป็นที่จะต้องขุดคลอง หรือขุดลอกคลองทั้งสาย ต้องดำเนินการขอรับการสนับสนุนไปยังส่วนราชการเจ้าของพื้นที่ หรือจัดส่งคำขอรับงบประมาณพร้อมโครงการที่มีแบบแปลนประมาณการค่าขุดลอกโดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติระดับอำเภอ เพื่อขอรับการสนับสนุนวงเงินงบกลาง ทำให้เกิดขั้นตอนการดำเนินการหลายขั้นตอน ไม่ทันต่อความต้องการของราษฎรที่ประสบภัยแล้ง
(3) ด้านการป้องกันและบรรเทาภัยข้อ 5.8.4 ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 การจัดหาวัสดุไม่รวมถึงระบบท่อส่งน้ำเพื่อนำไปป้องกันและแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าในการช่วยเหลือราษฎร จึงไม่สามารถก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง กรณีจำเป็นเร่งด่วนได้
3. ข้อเสนอแนะ
(1) ควรประสานงานสำนักงบประมาณเพื่อผ่อนปรน ข้อสังเกตเพื่อให้มีการขุดลอกคลองส่งน้ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งได้อย่างทันเวลา และสามารถดำเนินการขุดคลองส่งน้ำที่มีความลึก ความกว้าง ความยาว ได้ตลอดทั้งสายโดยถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วน ไม่ต้องมีแผนงานโครงการรองรับก่อน
(2) ควรประสานงานกระทรวงการคลัง เพื่อผ่อนปรนระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ข้อ 5.8.4 เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องการจัดหาวัสดุป้องกัน และบรรเทาภัยในการจัดหาวัสดุให้รวมถึงระบบท่อส่งน้ำ เพื่อนำไปป้องกันและแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าในการช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยแล้งได้
(3) นำระบบ GIS เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในอนาคตแบบยั่งยืน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
1. สภาพปัญหา
(1) ช่วงที่ประสบภัยแล้งอยู่ระหว่างเดือนธันวาคม 2547-มกราคม 2548
(2) ไม่มีอำเภอใดได้รับความเสียหายในระดับรุนแรง มีเพียงได้รับความเสียหายในระดับปานกลางและเล็กน้อย โดยความเสียหายระดับปานกลาง มี 4 อำเภอ คือ อำเภอพุนพิน อำเภอไชยา อำเภอเกาะพะงัน และกิ่งอำเภอวิภาวดี ราษฎรได้รับความเสียหายรวม123 หมู่บ้าน 65,726 คน 22,073 ครัวเรือน มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงาน ส่วนอำเภอนอกจากนั้น รวม 11 อำเภอ ได้รับความเสียหายระดับเล็กน้อย ราษฎรได้รับความเสียหายรวม 262 หมู่บ้าน 62,033 คน 15,653 ครัวเรือน มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงาน พื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายจำแนกได้เป็นพื้นที่สวนได้รับความเสียหายรวม 192 ไร่ ส่วนพื้นที่นาและพื้นที่ไร่ยังไม่ได้รับรายงานความเสียหาย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548)
(3) การให้ความช่วยเหลือมีเฉพาะการแจกจ่ายน้ำบริโภคและอุปโภคโดยรถบรรทุกน้ำ รวม 20,227,600 ลิตร (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548)
(4) สภาพภูมิศาสตร์อำเภอที่แล้งที่สุด ได้แก่กิ่งอำเภอวิภาวดี อำเภอพนม และอำเภอเคียนซา ซึ่งมีสภาพเป็นพื้นที่ราบสูง
(5) การแก้ไขปัญหาภาวะเร่งด่วน จังหวัดได้ขอสนับสนุนการทำฝนหลวง เตรียมอาหารสัตว์ (หญ้าแห้งอัดแท่ง) ป้องกันโรคระบาดสัตว์ ปล่อยน้ำจากเขื่อนรัชชประภาเพื่อดันน้ำทะเลออกไปจะได้เลี้ยงปลาในกระชังในแม่น้ำพุมดวงและแม่น้ำตาปีได้
(6) แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยาว จังหวัดได้ดำเนินการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง จัดแบ่งพื้นที่ให้หน่วยงานที่มีรถบรรทุกและเครื่องมือในการช่วยเหลือ แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่เร่งสำรวจแหล่งน้ำและให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดหาถังน้ำขนาดวางท้ายรถกระบะ แจกจ่ายแก่ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่ที่มีรถน้ำไม่เพียงพอ
2. ปัญหาอุปสรรค
(1) อำเภอไม่ทำแผนที่จุดแจกจ่ายน้ำและเส้นทางให้กับหน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือ
(2) การแจกจ่ายน้ำในแต่ละตำบลไม่มีจุดแจกจ่ายน้ำต้องให้รถเข้าไปแจกจ่ายน้ำถึงในบ้าน
(3) รถบรรทุกน้ำที่เข้าไปช่วยเหลือไม่พอเพียง ทำให้ราษฎรไม่ค่อยพอใจในการช่วยเหลือของทางราชการ
(4) การช่วยเหลือของ อบต. ไม่ทั่วถึงทั้งหมู่บ้าน ส่วนมากจะแจกจ่ายให้กับพรรคพวกหรือญาติพี่น้อง
(5) ทางราชการได้ไปติดตั้งเครื่องสูบน้ำให้ราษฎร แต่ก็มีปัญหาเรื่องท่อหรือสายส่งน้ำไม่มีหรือไม่เพียงพอ
3. ข้อเสนอแนะ
(1) จังหวัดมีความพร้อมและศักยภาพในระดับหนึ่งในการให้ความช่วยเหลือราษฎรจึงต้องได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่นด้วย เพราะใกล้ชิดกับชาวบ้านมากกว่าระดับจังหวัด จึงควรเร่งประสานงานขอความร่วมมือจากท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาภัยแล้งในทุก ๆ ด้าน
(2) ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยสนับสนุนซื้อโอ่ง หรือภาชนะเก็บน้ำหรือสร้างจุดจ่ายน้ำประจำ หมู่บ้าน
(3) ควรดำเนินการขุดคลอง หรือสระน้ำที่มีสภาพตื้นเขินให้อยู่ในสภาพที่จะเก็บกักน้ำได้
(4) จัดทำฝายแม้ว ฝายน้ำล้นในหมู่บ้านหรือตำบล
(5) นำระบบ GIS แก้ไขภัยแล้งในอนาคตแบบยั่งยืน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--