เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติหมวด 1 หมวด 2 หมวด 3 และหมวด 5
แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 บังคับแก่สัตว์ปีกจำพวกนก พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติหมวด 1 หมวด 2 หมวด 3 และหมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 บังคับแก่สัตว์ปีกจำนวนพวกนก พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยร่างพระกฤษฎีกาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นมาตรการในการควบคุม กำกับดูแลโรคระบาดสัตว์ชนิดไข้หวัดนกหรือเอเวียนอินฟลูเอนซา (Avian Influenza) สำหรับสัตว์ปีกจำพวกนกให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ปัจจุบันได้มีพระราชกฤษฎีกาทำนองเดียวกันนี้ใช้บังคับแก่สัตว์ปีกจำพวกไก่ เมื่อ พ.ศ. 2537 และใช้บังคับแก่สัตว์ปีกจำพวกเป็ดและห่าน เมื่อปีพ.ศ. 2539 แล้ว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า ปัจจุบันได้เกิดโรคระบาดชนิดไข้หวัดนกหรือโรคเอเวียนอินฟลูเอน-ซา (Avian Influenza) ระบาดในสัตว์ปีก เช่น นก ไก่ เป็ด ห่าน เป็นต้น ทำให้สัตว์ปีกดังกล่าวล้มตายเป็นจำนวนมาก และโรคระบาดดังกล่าวยังสามารถติดต่อถึงมนุษย์หากได้สัมผัสสัตว์ปีกที่เป็นโรคระบาดโดยตรงและเพื่อควบคุมดูแลมิให้มีการติดเชื้อโรคระหว่างสัตว์ปีกด้วยกัน หรือระหว่างสัตว์ปีกและมนุษย์ ซึ่งโรคระบาดดังกล่าวมีผลกระทบต่อกิจการและการเลี้ยงไก่ภายในประเทศ ธุรกิจการส่งออกสัตว์ปีกและประชาชนผู้เลี้ยงสัตว์ปีก อีกทั้งยังเกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมสมควรกำหนดให้ใช้บทบัญญัติหมวด 1 หมวด 2 หมวด 3 และหมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2499 บังคับแก่สัตว์ปีกจำพวกนก รวมถึงไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 บังคับแก่สัตว์ปีกจำพวกนก พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติหมวด 1 หมวด 2 หมวด 3 และหมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 บังคับแก่สัตว์ปีกจำนวนพวกนก พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยร่างพระกฤษฎีกาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นมาตรการในการควบคุม กำกับดูแลโรคระบาดสัตว์ชนิดไข้หวัดนกหรือเอเวียนอินฟลูเอนซา (Avian Influenza) สำหรับสัตว์ปีกจำพวกนกให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ปัจจุบันได้มีพระราชกฤษฎีกาทำนองเดียวกันนี้ใช้บังคับแก่สัตว์ปีกจำพวกไก่ เมื่อ พ.ศ. 2537 และใช้บังคับแก่สัตว์ปีกจำพวกเป็ดและห่าน เมื่อปีพ.ศ. 2539 แล้ว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า ปัจจุบันได้เกิดโรคระบาดชนิดไข้หวัดนกหรือโรคเอเวียนอินฟลูเอน-ซา (Avian Influenza) ระบาดในสัตว์ปีก เช่น นก ไก่ เป็ด ห่าน เป็นต้น ทำให้สัตว์ปีกดังกล่าวล้มตายเป็นจำนวนมาก และโรคระบาดดังกล่าวยังสามารถติดต่อถึงมนุษย์หากได้สัมผัสสัตว์ปีกที่เป็นโรคระบาดโดยตรงและเพื่อควบคุมดูแลมิให้มีการติดเชื้อโรคระหว่างสัตว์ปีกด้วยกัน หรือระหว่างสัตว์ปีกและมนุษย์ ซึ่งโรคระบาดดังกล่าวมีผลกระทบต่อกิจการและการเลี้ยงไก่ภายในประเทศ ธุรกิจการส่งออกสัตว์ปีกและประชาชนผู้เลี้ยงสัตว์ปีก อีกทั้งยังเกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมสมควรกำหนดให้ใช้บทบัญญัติหมวด 1 หมวด 2 หมวด 3 และหมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2499 บังคับแก่สัตว์ปีกจำพวกนก รวมถึงไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-