คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยยากจนตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ผลการดำเนินงาน
1. กองทัพบกได้จัดรถบรรทุกไม่เกิน 8 ตัน จำนวน 55 คัน เพื่อดำเนินการขนอ้อยของชาวไร่อ้อยยากจนที่เข้าร่วมโครงการในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดข้างต้น ส่งเข้าโรงงานน้ำตาลจำนวน 4 โรงงาน คือ โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โรงงานน้ำตาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โรงงานน้ำตาลรวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จังหวัดชัยภูมิ และโรงงานน้ำตาลเริ่มอุดม จังหวัดอุดรธานี
2. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยยากจนที่เข้าร่วมโครงการ ได้ร่วมกับโรงงานน้ำตาล จัดตั้งจุดขนถ่ายอ้อยใกล้กับพื้นที่ปลูกอ้อย รวมทั้งสิ้น 4 จุด ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ 1 จุด อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 1 จุด และอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ 1 จุด และอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 1 จุด เพื่อให้เกษตรกรรายเล็กที่ทำการตัดอ้อยด้วยแรงงานตนเอง สามารถตัดอ้อยและขนส่งอ้อยมายังจุดขนถ่ายด้วยพาหนะขนาดเล็กที่มีอยู่แล้ว เช่น รถอีแต๋น ได้สะดวกขึ้น ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งค่าตัดอ้อยและค่าขนส่ง สำหรับในอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี และอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย นั้น ได้จัดให้มีการขนส่งอ้อยโดยรับอ้อยจากไร่เกษตรกรโดยตรง
3. รวมระยะเวลาดำเนินการโครงการทั้งสิ้น 98 วัน ระยะทางการขนส่งอ้อยเฉลี่ย 93 กิโลเมตรต่อเที่ยว สามารถขนส่งอ้อยได้รวม 37,414 ตัน ช่วยเหลือชาวไร่อ้อยยากจนได้รวม 960 ราย โดยชาวไร่อ้อยที่เข้าร่วมโครงการสามารถประหยัดค่าขนส่งได้ประมาณรายละ 1,214 บาท หรือคิดเป็นตันอ้อยละ 31 บาท
ผลกระทบของโครงการ
1. สามารถช่วยเหลือชาวไร่อ้อยยากจนที่ไม่มีหรือไม่สามารถจัดหารถบรรทุกอ้อยในการขนส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาล
2. สามารถช่วยตัดวงจรการเอารัดเอาเปรียบจากนายทุนหัวหน้าโควตาผู้มีอิทธิพลที่อาศัยรถขนส่งอ้อยเป็นกลไกในการบังคับซื้ออ้อยราคาถูกจากชาวไร่อ้อยที่ไม่มีรถขนส่งอ้อยเป็นของตนเอง
3. ช่วยชาวไร่อ้อยยากจน ซึ่งเมื่อก่อนไม่สามารถส่งอ้อยเข้าโรงงานด้วยตนเอง เนื่องจากไม่มีรถบรรทุกให้เป็นผู้ส่งอ้อยเข้าโรงงานโดยตรง ซึ่งจะได้รับเงินค่าอ้อยจากโรงงานน้ำตาล และเงินช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างครบถ้วนอีกด้วย
ทั้งนี้ หลังจากโครงการสิ้นสุด กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับหนังสือขอบคุณจากชาวไร่อ้อยที่เข้าร่วมโครงการว่าโครงการดังกล่าวสามารถช่วยเหลือชาวไร่อ้อยและสามารถแก้ไขปัญหาชาวไร่อ้อยในเรื่องการขนอ้อยและการถูกเอารัดเอาเปรียบได้อย่างแท้จริง และต้องการให้กองทัพบกร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการนี้ในปีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
1. กองทัพบกได้จัดรถบรรทุกไม่เกิน 8 ตัน จำนวน 55 คัน เพื่อดำเนินการขนอ้อยของชาวไร่อ้อยยากจนที่เข้าร่วมโครงการในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดข้างต้น ส่งเข้าโรงงานน้ำตาลจำนวน 4 โรงงาน คือ โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โรงงานน้ำตาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โรงงานน้ำตาลรวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จังหวัดชัยภูมิ และโรงงานน้ำตาลเริ่มอุดม จังหวัดอุดรธานี
2. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยยากจนที่เข้าร่วมโครงการ ได้ร่วมกับโรงงานน้ำตาล จัดตั้งจุดขนถ่ายอ้อยใกล้กับพื้นที่ปลูกอ้อย รวมทั้งสิ้น 4 จุด ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ 1 จุด อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 1 จุด และอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ 1 จุด และอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 1 จุด เพื่อให้เกษตรกรรายเล็กที่ทำการตัดอ้อยด้วยแรงงานตนเอง สามารถตัดอ้อยและขนส่งอ้อยมายังจุดขนถ่ายด้วยพาหนะขนาดเล็กที่มีอยู่แล้ว เช่น รถอีแต๋น ได้สะดวกขึ้น ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งค่าตัดอ้อยและค่าขนส่ง สำหรับในอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี และอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย นั้น ได้จัดให้มีการขนส่งอ้อยโดยรับอ้อยจากไร่เกษตรกรโดยตรง
3. รวมระยะเวลาดำเนินการโครงการทั้งสิ้น 98 วัน ระยะทางการขนส่งอ้อยเฉลี่ย 93 กิโลเมตรต่อเที่ยว สามารถขนส่งอ้อยได้รวม 37,414 ตัน ช่วยเหลือชาวไร่อ้อยยากจนได้รวม 960 ราย โดยชาวไร่อ้อยที่เข้าร่วมโครงการสามารถประหยัดค่าขนส่งได้ประมาณรายละ 1,214 บาท หรือคิดเป็นตันอ้อยละ 31 บาท
ผลกระทบของโครงการ
1. สามารถช่วยเหลือชาวไร่อ้อยยากจนที่ไม่มีหรือไม่สามารถจัดหารถบรรทุกอ้อยในการขนส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาล
2. สามารถช่วยตัดวงจรการเอารัดเอาเปรียบจากนายทุนหัวหน้าโควตาผู้มีอิทธิพลที่อาศัยรถขนส่งอ้อยเป็นกลไกในการบังคับซื้ออ้อยราคาถูกจากชาวไร่อ้อยที่ไม่มีรถขนส่งอ้อยเป็นของตนเอง
3. ช่วยชาวไร่อ้อยยากจน ซึ่งเมื่อก่อนไม่สามารถส่งอ้อยเข้าโรงงานด้วยตนเอง เนื่องจากไม่มีรถบรรทุกให้เป็นผู้ส่งอ้อยเข้าโรงงานโดยตรง ซึ่งจะได้รับเงินค่าอ้อยจากโรงงานน้ำตาล และเงินช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างครบถ้วนอีกด้วย
ทั้งนี้ หลังจากโครงการสิ้นสุด กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับหนังสือขอบคุณจากชาวไร่อ้อยที่เข้าร่วมโครงการว่าโครงการดังกล่าวสามารถช่วยเหลือชาวไร่อ้อยและสามารถแก้ไขปัญหาชาวไร่อ้อยในเรื่องการขนอ้อยและการถูกเอารัดเอาเปรียบได้อย่างแท้จริง และต้องการให้กองทัพบกร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการนี้ในปีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-