คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปภาวะราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ตั้งแต่มีการปรับเงินเดือนข้าราชการจนถึงการปรับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซหุงต้ม เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2547 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอสรุปได้ ดังนี้
1. ภาวะราคาสินค้า
1.1 ภาพรวมราคาสินค้า กล่าวได้ว่าการปรับเงินเดือนข้าราชการ รวมทั้งการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซหุงต้มไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อราคาสินค้าแต่อย่างใด ภาพรวมราคาสินค้าส่วนใหญ่อยู่ในภาวะปกติ สินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ เช่น หมวดของใช้ประจำวัน เครื่องใช้ไฟฟ้า ยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่ม ราคายังทรงตัว ยกเว้น สินค้าที่เป็นอาหารโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์-ไข่ไก่ และสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากผลิตภัณฑ์น้ำมันในตลาดโลก รวมทั้งต้องใช้วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีสินค้าที่ราคาลดลง เช่นเดียวกัน เช่นสัตว์น้ำ และผลไม้ตามฤดูกาล เป็นต้น สำหรับสินค้าสำคัญที่มีการเคลื่อนไหวในตลาดที่น่าสนใจ ได้แก่
(1) หมวดอาหารสด ผัก ผลไม้
- ไข่ไก่/ไก่สด ราคาโน้มสูงขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม-เมษายน 2547 ซึ่งเป็นผลพวงจากวิกฤติการณ์ไข้หวัดนก เมื่อความต้องการบริโภคเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้จำนวนไข่ไก่/ไก่สดที่ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ กอรปกับต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น เนื่องจากลูกไก่และแม่ไก่ที่ขาดแคลนมีราคาแพง รวมทั้งการปรับสูงขึ้นของวัตถุดิบอาหารสัตว์ กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการประสานองค์กรผู้เลี้ยงไก่ และผู้เลี้ยงไก่รายใหญ่ให้ระบายผลผลิตที่เก็บสต๊อคไว้ในห้องเย็นออกสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะเดียวกันได้บรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้บริโภค โดยจัดจำหน่ายไข่ไก่/ไก่สด ราคาต่ำกว่าตลาดในเขตชุมชนหนาแน่นทั้งใน กทม. และภูมิภาค ปัจจุบันราคาขายปลีกไข่ไก่ (เบอร์ 3) ฟองละ 2.80-2.90 บาท ซึ่งทรงตัวมาตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2547 สำหรับไก่สดราคา กก.ละ 48-50 บาท ได้อ่อนตัวลงจากเดือนเมษายน 2547 ที่มีราคา กก.ละ 50-55 บาท แนวโน้ม คาดว่าราคาไข่ไก่/ไก่สดจะปรับตัวลดลงเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2547
- สุกรชำแหละ (เนื้อแดง) ราคาปรับตัวสูงขึ้นผิดปกติตั้งแต่ช่วงต้นปี 2547 เป็นผลจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มสูงขึ้นจากปกติร้อยละ 30 เพื่อบริโภคทดแทนเนื้อไก่และไข่ไก่ที่ประสบภาวะโรคไข้หวัดนกระบาด ทำให้สุกรที่โตได้ขนาด (น้ำหนัก 100-120 กก./ตัว) มีไม่เพียงพอ กอปรกับต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากการปรับตัวของราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการแก้ไขโดยขอความร่วมมือองค์กรผู้เลี้ยงสุกร และ ผู้เลี้ยงรายใหญ่ให้ตรึงราคาสุกรมีชีวิตมิให้สูงเกินไป ในขณะเดียวกันได้จัดจำหน่ายเนื้อสุกรราคาประหยัดเพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงในแหล่งชุมชนหนาแน่น และห้างสรรพสินค้า ทั้งใน กทม. และภูมิภาค ปัจจุบันราคาขายปลีกสุกรชำแหละได้เริ่มอ่อนตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2547 เป็นต้นมา โดยขณะนี้มีราคา กก.ละ 90-95 บาท จากที่เคยราคาสูงสุดในเดือนเมษายน 2547 กก.ละ 110 บาท แนวโน้ม คาดว่า ราคาจะโน้มอ่อนตัวลงอีกจนเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2547
- ผัก/ผลไม้ ในระยะที่ผ่านมามีผักหลายชนิดราคาสูงขึ้น เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง และผักชี เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลกระทบให้ผลผลิตเสียหาย ทำให้ปริมาณเข้าสู่ตลาดลดลง สำหรับผลไม้ในระยะนี้เป็นช่วงฤดูกาลที่ผลไม้หลายชนิดออกสู่ตลาดพร้อมกัน และมีปริมาณมาก ทำให้ราคาอยู่ในระดับต่ำ เช่น ส้มเขียวหวาน เงาะ มังคุด ทุเรียน และลิ้นจี่ กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการกระจายสินค้าจากแหล่งผลิตไปยังจังหวัดปลายทาง รวมทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์บริโภคผลไม้ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
(2) หมวดวัสดุก่อสร้าง
- เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ราคาปรับตัวสูงขึ้นผิดปกติ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2547 และมีปริมาณตึงตัว ซึ่งเป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบ ได้แก่ เหล็กแท่งยาว และเศษเหล็กที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้นมากในตลาดโลก กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการแก้ไขโดยกำหนดให้เป็นสินค้าควบคุม และมีมาตรการให้ผู้ผลิต/นำเข้าแจ้งข้อมูลราคาจำหน่าย และปริมาณสถานที่เก็บสินค้าเป็นประจำทุกเดือน ขณะเดียวกันได้มีคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาเหล็กเส้น และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงาน/องค์กรภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่พิจารณากำหนดราคาขายปลีกแนะนำเหล็กเส้น สถานการณ์ราคาขณะนี้เริ่มอ่อนตัวลงแล้ว เหล็กเส้นชนิดกลม 9 มม. ราคาเส้นละ 100-110 บาท และเหล็กรูปตัวซี (นน. 19.5 กก.) ราคาท่อนละ 441-440 บาท จากที่เคยสูงสุดในเดือนเมษายน 2547 ในราคา 115 บาท และ 449 บาท ตามลำดับ แนวโน้ม คาดว่าราคาเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณจะลดต่ำลงอีกตามราคาวัตถุดิบในตลาดโลก
- สายไฟฟ้า ราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 2547 เป็นผลจากราคาทองแดงซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุจากประเทศผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ประสบภัยธรรมชาติและผลผลิตเสียหายกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดให้ผู้ผลิตมีการปรับราคาอย่างเป็นธรรมสอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ราคาขายปลีกสายไฟฟ้ามีการปรับสูงขึ้นครั้งล่าสุดในเดือนเมษายน 2547 โดยขนาด 2x1 มม. มีราคาม้วนละ 400 บาท และทรงตัวมาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2547 แนวโน้ม คาดว่าราคาจะเริ่มอ่อนตัวลงตามวัตถุดิบในตลาดโลก
(3) หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
- เม็ดพลาสติก ราคาได้มีการปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม 2547 เนื่องจากวัตถุดิบสำคัญเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบมีราคาสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดให้มีการปรับราคาสอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่ม โดยเม็ดพลาสติกชนิด PP มีราคา กก.ละ 37 บาท เพิ่มจากเดิมเมษายน 2547 ที่มีราคา กก. ละ 35 บาท
(4) หมวดปัจจัยการเกษตร
- ปุ๋ยเคมี เป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตได้จากก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ทำให้ราคาปุ๋ยเคมีในต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการโดยกำหนดให้ปุ๋ยเคมีเป็นสินค้าควบคุม และดูแลให้มีการปรับราคาสอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่ม โดยปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 ในเดือนพฤษภาคม 2547 มีราคากระสอบละ 420 บาท สูงขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 ที่มีราคากระสอบละ 410 บาท แนวโน้ม คาดว่าราคาปุ๋ยเคมีจะโน้มสูงขึ้นอีกตามภาวะราคาในตลาดโลก
- อาหารสัตว์ ราคาอาหารสัตว์เพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องจากราคาวัตถุดิบสำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด กากถั่วเหลือง และปลาป่น มีการปรับสูงขึ้นตามภาวะราคาในตลาดโลก กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการโดยกำหนดให้เป็นสินค้าควบคุม และดูแลให้มีการปรับราคาจำหน่ายสอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่ม ราคาจำหน่ายอาหารไก่เนื้อในเดือนพฤษภาคม 2547 ได้ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 จากราคาถุงละ 319 บาท เป็น 364 บาท แนวโน้ม คาดว่าราคาจะอ่อนตัวตามราคาวัตถุดิบที่เริ่มลดลง
สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ เช่น ของใช้ประจำวัน ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ไม่มีปัญหาในด้านราคาและการจำหน่ายแต่อย่างใด
1.2 ราคาสินค้าสัปดาห์ที่ 4 เดือนพฤษภาคม 2547
ตามที่ก่อนหน้านี้ได้มีสินค้าบางหมวดปรับราคาสูงขึ้นมาก เช่น หมวดอาหารโปรตีน (เนื้อสัตว์/ ไข่ไก่) หมวดวัสดุก่อสร้าง (เหล็ก สังกะสี สายไฟฟ้า) และหมวดปัจจัยการเกษตร (ปุ๋ยเคมี อาหารสัตว์) ซึ่งหลายสินค้าได้มีสถานการณ์ดีขึ้น มีทั้งทรงตัวและลดลง สำหรับภาวะราคาสินค้าในสัปดาห์นี้เทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยภาพ รวมยังอยู่ในภาวะปกติทั้งในด้านราคาและปริมาณ กลุ่มสินค้าที่มีความเคลื่อนไหวน่าสนใจ ได้แก่
หมวดอาหารสดราคาสูงขึ้น ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป ราคาลดลง ได้แก่ สุกรชำแหละ ไก่สด
หมวดผักและผลไม้ ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผักชี ผักกาดขาวปลี ราคาลดลง ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง มะนาว เงาะ ลิ้นจี่
หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร ราคาสูงขึ้น ได้แก่ เม็ดพลาสติก ราคาลดลง ได้แก่ เหล็กเส้น และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
2. การตรวจสอบ ในสัปดาห์ที่ 4 เดือนพฤษภาคม 2547 ได้ดำเนินการตรวจสอบพฤติกรรมการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 และ พ.ร.บ. มาตรา ชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 จำนวนทั้งสิ้น 15,283 ราย แยกเป็น กทม. จำนวน 1,485 ราย ภูมิภาค 13,798 ราย ทั้งนี้ พบผู้กระทำผิด ไม่ปิดป้ายแสดงราคา 28 ราย มาตรวัดน้ำมันไม่ได้มาตรฐาน 1 ราย และน้ำหนักบรรจุหีบห่อ ไม่ถูกต้อง 4 ราย
3. การช่วยบรรเทาค่าครองชีพ ได้มีการดำเนินการ ดังนี้
1.1 จัดโครงการมุมธงฟ้า-ราคาประหยัด ในห้างสรรพสินค้าทั้งใน กทม. และภูมิภาค โดยมีสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพจำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาตลาด เช่น ข้าวสาร น้ำมันพืช เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ ผลไม้ ฯลฯ
3.2 จัดโครงการธงฟ้า- ราคาประหยัดเคลื่อนที่ โดยมีการนำสินค้าจำหน่ายเคลื่อนที่ตามชุมชนหนาแน่น เช่น ข้าวสาร น้ำมันพืช เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ ผลไม้ และของใช้ประจำวัน ทั้งนี้ ในระยะแรกจะเริ่มดำเนินการในเขต กทม. และปริมณฑล
3.3 ขอความร่วมมือห้างสรรพสินค้า ใน กทม. และภูมิภาค ให้จำหน่ายอาหารใน Food Center ในราคาเท่าเดิม ซึ่งจะช่วยทำให้ราคาอาหารสำเร็จรูปทั่วไปไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
3.4 ให้พาณิชย์จังหวัดและสำนักงานการค้าภายในจังหวัดจัดหาผักสดในจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตเชื่อมโยงมาจำหน่ายในส่วนกลาง เพื่อเสริมกลไกตลาดให้ฉุดราคาผักสดลดลง และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพในการบริโภค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ภาวะราคาสินค้า
1.1 ภาพรวมราคาสินค้า กล่าวได้ว่าการปรับเงินเดือนข้าราชการ รวมทั้งการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซหุงต้มไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อราคาสินค้าแต่อย่างใด ภาพรวมราคาสินค้าส่วนใหญ่อยู่ในภาวะปกติ สินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ เช่น หมวดของใช้ประจำวัน เครื่องใช้ไฟฟ้า ยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่ม ราคายังทรงตัว ยกเว้น สินค้าที่เป็นอาหารโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์-ไข่ไก่ และสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากผลิตภัณฑ์น้ำมันในตลาดโลก รวมทั้งต้องใช้วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีสินค้าที่ราคาลดลง เช่นเดียวกัน เช่นสัตว์น้ำ และผลไม้ตามฤดูกาล เป็นต้น สำหรับสินค้าสำคัญที่มีการเคลื่อนไหวในตลาดที่น่าสนใจ ได้แก่
(1) หมวดอาหารสด ผัก ผลไม้
- ไข่ไก่/ไก่สด ราคาโน้มสูงขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม-เมษายน 2547 ซึ่งเป็นผลพวงจากวิกฤติการณ์ไข้หวัดนก เมื่อความต้องการบริโภคเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้จำนวนไข่ไก่/ไก่สดที่ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ กอรปกับต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น เนื่องจากลูกไก่และแม่ไก่ที่ขาดแคลนมีราคาแพง รวมทั้งการปรับสูงขึ้นของวัตถุดิบอาหารสัตว์ กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการประสานองค์กรผู้เลี้ยงไก่ และผู้เลี้ยงไก่รายใหญ่ให้ระบายผลผลิตที่เก็บสต๊อคไว้ในห้องเย็นออกสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะเดียวกันได้บรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้บริโภค โดยจัดจำหน่ายไข่ไก่/ไก่สด ราคาต่ำกว่าตลาดในเขตชุมชนหนาแน่นทั้งใน กทม. และภูมิภาค ปัจจุบันราคาขายปลีกไข่ไก่ (เบอร์ 3) ฟองละ 2.80-2.90 บาท ซึ่งทรงตัวมาตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2547 สำหรับไก่สดราคา กก.ละ 48-50 บาท ได้อ่อนตัวลงจากเดือนเมษายน 2547 ที่มีราคา กก.ละ 50-55 บาท แนวโน้ม คาดว่าราคาไข่ไก่/ไก่สดจะปรับตัวลดลงเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2547
- สุกรชำแหละ (เนื้อแดง) ราคาปรับตัวสูงขึ้นผิดปกติตั้งแต่ช่วงต้นปี 2547 เป็นผลจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มสูงขึ้นจากปกติร้อยละ 30 เพื่อบริโภคทดแทนเนื้อไก่และไข่ไก่ที่ประสบภาวะโรคไข้หวัดนกระบาด ทำให้สุกรที่โตได้ขนาด (น้ำหนัก 100-120 กก./ตัว) มีไม่เพียงพอ กอปรกับต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากการปรับตัวของราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการแก้ไขโดยขอความร่วมมือองค์กรผู้เลี้ยงสุกร และ ผู้เลี้ยงรายใหญ่ให้ตรึงราคาสุกรมีชีวิตมิให้สูงเกินไป ในขณะเดียวกันได้จัดจำหน่ายเนื้อสุกรราคาประหยัดเพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงในแหล่งชุมชนหนาแน่น และห้างสรรพสินค้า ทั้งใน กทม. และภูมิภาค ปัจจุบันราคาขายปลีกสุกรชำแหละได้เริ่มอ่อนตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2547 เป็นต้นมา โดยขณะนี้มีราคา กก.ละ 90-95 บาท จากที่เคยราคาสูงสุดในเดือนเมษายน 2547 กก.ละ 110 บาท แนวโน้ม คาดว่า ราคาจะโน้มอ่อนตัวลงอีกจนเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2547
- ผัก/ผลไม้ ในระยะที่ผ่านมามีผักหลายชนิดราคาสูงขึ้น เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง และผักชี เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลกระทบให้ผลผลิตเสียหาย ทำให้ปริมาณเข้าสู่ตลาดลดลง สำหรับผลไม้ในระยะนี้เป็นช่วงฤดูกาลที่ผลไม้หลายชนิดออกสู่ตลาดพร้อมกัน และมีปริมาณมาก ทำให้ราคาอยู่ในระดับต่ำ เช่น ส้มเขียวหวาน เงาะ มังคุด ทุเรียน และลิ้นจี่ กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการกระจายสินค้าจากแหล่งผลิตไปยังจังหวัดปลายทาง รวมทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์บริโภคผลไม้ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
(2) หมวดวัสดุก่อสร้าง
- เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ราคาปรับตัวสูงขึ้นผิดปกติ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2547 และมีปริมาณตึงตัว ซึ่งเป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบ ได้แก่ เหล็กแท่งยาว และเศษเหล็กที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้นมากในตลาดโลก กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการแก้ไขโดยกำหนดให้เป็นสินค้าควบคุม และมีมาตรการให้ผู้ผลิต/นำเข้าแจ้งข้อมูลราคาจำหน่าย และปริมาณสถานที่เก็บสินค้าเป็นประจำทุกเดือน ขณะเดียวกันได้มีคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาเหล็กเส้น และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงาน/องค์กรภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่พิจารณากำหนดราคาขายปลีกแนะนำเหล็กเส้น สถานการณ์ราคาขณะนี้เริ่มอ่อนตัวลงแล้ว เหล็กเส้นชนิดกลม 9 มม. ราคาเส้นละ 100-110 บาท และเหล็กรูปตัวซี (นน. 19.5 กก.) ราคาท่อนละ 441-440 บาท จากที่เคยสูงสุดในเดือนเมษายน 2547 ในราคา 115 บาท และ 449 บาท ตามลำดับ แนวโน้ม คาดว่าราคาเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณจะลดต่ำลงอีกตามราคาวัตถุดิบในตลาดโลก
- สายไฟฟ้า ราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 2547 เป็นผลจากราคาทองแดงซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุจากประเทศผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ประสบภัยธรรมชาติและผลผลิตเสียหายกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดให้ผู้ผลิตมีการปรับราคาอย่างเป็นธรรมสอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ราคาขายปลีกสายไฟฟ้ามีการปรับสูงขึ้นครั้งล่าสุดในเดือนเมษายน 2547 โดยขนาด 2x1 มม. มีราคาม้วนละ 400 บาท และทรงตัวมาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2547 แนวโน้ม คาดว่าราคาจะเริ่มอ่อนตัวลงตามวัตถุดิบในตลาดโลก
(3) หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
- เม็ดพลาสติก ราคาได้มีการปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม 2547 เนื่องจากวัตถุดิบสำคัญเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบมีราคาสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดให้มีการปรับราคาสอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่ม โดยเม็ดพลาสติกชนิด PP มีราคา กก.ละ 37 บาท เพิ่มจากเดิมเมษายน 2547 ที่มีราคา กก. ละ 35 บาท
(4) หมวดปัจจัยการเกษตร
- ปุ๋ยเคมี เป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตได้จากก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ทำให้ราคาปุ๋ยเคมีในต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการโดยกำหนดให้ปุ๋ยเคมีเป็นสินค้าควบคุม และดูแลให้มีการปรับราคาสอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่ม โดยปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 ในเดือนพฤษภาคม 2547 มีราคากระสอบละ 420 บาท สูงขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 ที่มีราคากระสอบละ 410 บาท แนวโน้ม คาดว่าราคาปุ๋ยเคมีจะโน้มสูงขึ้นอีกตามภาวะราคาในตลาดโลก
- อาหารสัตว์ ราคาอาหารสัตว์เพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องจากราคาวัตถุดิบสำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด กากถั่วเหลือง และปลาป่น มีการปรับสูงขึ้นตามภาวะราคาในตลาดโลก กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการโดยกำหนดให้เป็นสินค้าควบคุม และดูแลให้มีการปรับราคาจำหน่ายสอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่ม ราคาจำหน่ายอาหารไก่เนื้อในเดือนพฤษภาคม 2547 ได้ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 จากราคาถุงละ 319 บาท เป็น 364 บาท แนวโน้ม คาดว่าราคาจะอ่อนตัวตามราคาวัตถุดิบที่เริ่มลดลง
สำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ เช่น ของใช้ประจำวัน ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ไม่มีปัญหาในด้านราคาและการจำหน่ายแต่อย่างใด
1.2 ราคาสินค้าสัปดาห์ที่ 4 เดือนพฤษภาคม 2547
ตามที่ก่อนหน้านี้ได้มีสินค้าบางหมวดปรับราคาสูงขึ้นมาก เช่น หมวดอาหารโปรตีน (เนื้อสัตว์/ ไข่ไก่) หมวดวัสดุก่อสร้าง (เหล็ก สังกะสี สายไฟฟ้า) และหมวดปัจจัยการเกษตร (ปุ๋ยเคมี อาหารสัตว์) ซึ่งหลายสินค้าได้มีสถานการณ์ดีขึ้น มีทั้งทรงตัวและลดลง สำหรับภาวะราคาสินค้าในสัปดาห์นี้เทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยภาพ รวมยังอยู่ในภาวะปกติทั้งในด้านราคาและปริมาณ กลุ่มสินค้าที่มีความเคลื่อนไหวน่าสนใจ ได้แก่
หมวดอาหารสดราคาสูงขึ้น ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป ราคาลดลง ได้แก่ สุกรชำแหละ ไก่สด
หมวดผักและผลไม้ ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผักชี ผักกาดขาวปลี ราคาลดลง ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง มะนาว เงาะ ลิ้นจี่
หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร ราคาสูงขึ้น ได้แก่ เม็ดพลาสติก ราคาลดลง ได้แก่ เหล็กเส้น และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ
2. การตรวจสอบ ในสัปดาห์ที่ 4 เดือนพฤษภาคม 2547 ได้ดำเนินการตรวจสอบพฤติกรรมการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 และ พ.ร.บ. มาตรา ชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2542 จำนวนทั้งสิ้น 15,283 ราย แยกเป็น กทม. จำนวน 1,485 ราย ภูมิภาค 13,798 ราย ทั้งนี้ พบผู้กระทำผิด ไม่ปิดป้ายแสดงราคา 28 ราย มาตรวัดน้ำมันไม่ได้มาตรฐาน 1 ราย และน้ำหนักบรรจุหีบห่อ ไม่ถูกต้อง 4 ราย
3. การช่วยบรรเทาค่าครองชีพ ได้มีการดำเนินการ ดังนี้
1.1 จัดโครงการมุมธงฟ้า-ราคาประหยัด ในห้างสรรพสินค้าทั้งใน กทม. และภูมิภาค โดยมีสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพจำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาตลาด เช่น ข้าวสาร น้ำมันพืช เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ ผลไม้ ฯลฯ
3.2 จัดโครงการธงฟ้า- ราคาประหยัดเคลื่อนที่ โดยมีการนำสินค้าจำหน่ายเคลื่อนที่ตามชุมชนหนาแน่น เช่น ข้าวสาร น้ำมันพืช เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ ผลไม้ และของใช้ประจำวัน ทั้งนี้ ในระยะแรกจะเริ่มดำเนินการในเขต กทม. และปริมณฑล
3.3 ขอความร่วมมือห้างสรรพสินค้า ใน กทม. และภูมิภาค ให้จำหน่ายอาหารใน Food Center ในราคาเท่าเดิม ซึ่งจะช่วยทำให้ราคาอาหารสำเร็จรูปทั่วไปไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
3.4 ให้พาณิชย์จังหวัดและสำนักงานการค้าภายในจังหวัดจัดหาผักสดในจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตเชื่อมโยงมาจำหน่ายในส่วนกลาง เพื่อเสริมกลไกตลาดให้ฉุดราคาผักสดลดลง และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพในการบริโภค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-