คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในจังหวัดแพร่และน่าน สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
1. จังหวัดแพร่
1.1 สภาพทั่วไปและสถานการณ์ภัยแล้ง
จังหวัดแพร่แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ 78 ตำบล 695 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 473,361 คน 147,269 ครัวเรือน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน — พฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง และจังหวัดไม่มีฝาย/ทำนบเพื่อกักเก็บน้ำในลำน้ำยมซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดให้เพียงพอครอบคลุมพื้นที่ เป็นผลให้ราษฎรขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อการเกษตร ทำให้ทั่วพื้นที่จังหวัดแพร่เกิดความแห้งแล้งเป็นประจำทุกปี ในปี 2548 จังหวัดแพร่ได้ประกาศให้ทุกอำเภอเป็นพื้นที่ประสบภัยฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547
จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ประสบภัยแล้งใน 8 อำเภอ จำนวน 40 ตำบล 135 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 19.42 ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 25,541 ครัวเรือน จำนวน 81,375 คน คิดเป็นร้อยละ 17.34 พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 5,648 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.81 เป็นพื้นที่นา 3,210 ไร่ พื้นที่ไร่ 2,432 ไร่ และพื้นที่สวน 6 ไร่
1.2 การแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน/ระยะสั้น
1) การเตรียมการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
- ซ่อมเครื่องสูบน้ำ 91 เครื่อง และติดตั้งจุดจ่ายน้ำ 18 แห่ง
- ดำเนินการเจาะบ่อบาดาล/บ่อน้ำตื้น/บ่อตอก 16 แห่ง, เป่าล้างบ่อบาดาล/น้ำตื้น 136 แห่ง
2) การแก้ไขปัญหาน้ำเพื่ออุปโภค- บริโภคการช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อน จังหวัดร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนที่มีรถบรรทุกน้ำ นำน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ไปช่วยเหลือราษฎร โดยได้มีการแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค แล้ว จำนวน 5,673,000 ลิตร
3) การแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร งบประมาณดำเนินการ เป็นเงิน 35,726,983 บาท
- สูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกพืชฤดูแล้ง ในพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลือง 4,173 ไร่ ได้ผลผลิตไร่ละ 240 กิโลกรัม ราคา 11.50 บาท/กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรสามารถมีรายได้คิดเป็นเงิน 177,117,480 บาท (งบประมาณดำเนินการ 768,490 บาท เป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
- จัดสร้างทำนบกระสอบทรายกั้นลำน้ำ 614 แห่ง (งบประมาณดำเนินการ 33,586,529 บาท)
- การจ่ายเงินสดชดเชยพืชที่ได้รับความเสียหาย ได้แก่ ข้าว พืชไร่ และยางพารา ในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ และอำเภอวังชิ้น รวม 5,256 ไร่ จำนวน 1,085 ราย
1.3 การแก้ไขปัญหาระยะยาว
1) การดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาแหล่งน้ำของจังหวัด ประกอบด้วย
(1) การสร้างเขื่อนลุ่มน้ำยม ได้แก่ เขื่อนแก่งเสือเต้น ต.สะเอียบ อำเภอสอง มีปริมาณความจุเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 1,175 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเขื่อนแก่งเสือเต้นตอนล่าง (เขื่อนห้วยสัก) ต.เตาปูน อำเภอสอง มีปริมาณความจุเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 400 ล้านลูกบาศก์เมตร
(2) ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกป่าในพื้นที่ป่าชุมชน จำนวน 97 ป่า มีพื้นที่ 41,267 ไร่ ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 27 ป่า พื้นที่ 297,688 ไร่
(3) เร่งดำเนินการจัดทำฝายแม้ว (Check Dam) ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยได้ดำเนินการแล้ว จำนวน 349 แห่ง ที่ ศูนย์การศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำ จำนวน 2,901 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอก จำนวน 5 แห่ง และอุทยานแห่งชาติแม่ยม 150 แห่ง
2) จัดทำแผนการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง (ปี 2549 — 2553) ได้แก่
(1) อ่างเก็บน้ำแม่สาย บ้านสันกลาง ต.ป่าแดง อ.เมืองแพร่ ปริมาณความจุอ่างเก็บกักน้ำ 10.5 ล้านลูกบาศก์เมตร (บรรจุในแผนปีงบประมาณ 2549-2551)
(2) อ่างเก็บน้ำแม่แคม บ้านแม่แคม ต.สวนเขื่อน อ.เมืองแพร่ ปริมาณความจุอ่างเก็บกักน้ำ 8.55 ล้านลูกบาศก์เมตร (บรรจุในแผนปีงบประมาณ 2549-2552)
(3) อ่างเก็บน้ำแม่แลง บ้านแสนทอง ต.เวียงต้า อ.ลอง ปริมาณความจุอ่างเก็บกักน้ำ 10.5 ล้านลูกบาศก์เมตร (บรรจุในแผนปีงบประมาณ 2550-2552)
(4) อ่างเก็บน้ำแม่คำมี บ้านห้วยโรงใน ต.ห้วยโรง อ.ร้องกวาง ปริมาณความจุอ่างเก็บกักน้ำ 17 ล้านลูกบาศก์เมตร (แผนปีงบประมาณ 2552-2553)
1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ตรวจเยี่ยมราษฎรผู้ประสบความเดือดร้อนและสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำแม่มาน ต.หัวฝาย อ.สูงเม่น บ้านสันติสุข ม. 9 ต. เวียงต้า อ.ลอง บ้านกลางทุ่ง ม.10 ต.บ้านกลาง อ.สอง และตรวจดูสถานที่ก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ซึ่งอยู่ตอนบนของลุ่มแม่น้ำยม และเขื่อนแก่งเสือเต้นตอนล่าง (เขื่อนห้วยสัก) การจัดทำฝายแม้วเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม พร้อมทั้งประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่และประชาชน โดยขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้านและมีความชัดเจน เพื่อประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและมีความคุ้มค่า และหากต้องมีการอพยพราษฎรก็จักต้องมีแผนเตรียมการรองรับที่เหมาะสม ให้สามารถชดเชยและดูแลราษฎรให้มีชีวิตความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
2. จังหวัดน่าน
2.1 สภาพทั่วไปและสถานการณ์ภัยแล้ง
จังหวัดน่าน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ประชากรรวมทั้งสิ้น 477,754 คน มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 7,170,045 ไร่
ผลกระทบจากภัยแล้งในจังหวัดน่าน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2547 มีพื้นที่เผชิญกับปัญหาภัยแล้ง 8 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองน่าน อำเภอนาน้อย อำเภอสันติสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง กิ่งอำเภอภูเพียง อำเภอท่าวังผา อำเภอเวียงสา รวม 39 ตำบล 92 หมู่บ้าน ราษฎรประสบความเดือดร้อน 11,451 ครัวเรือน จำนวน 43,502 คน คิดเป็นร้อยละ 9.11 ของประชากรทั้งหมดในจังหวัด
2.2 การแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน/ระยะสั้น
1) การเตรียมการในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
- จัดตั้งศูนย์แจกจ่ายน้ำประจำหมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 326 แห่ง
- ซ่อมแซมทำความสะอาดภาชนะกักเก็บน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน อาทิถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ถังปูนฉาย ถังไฟเบอร์ โอ่งซีเมนต์ บ่อน้ำตื้น บ่อบาดาล ประปาหมู่บ้าน รวมถึงขุดลอกสระน้ำอื่น รวม 1747 แห่ง
- รณรงค์ให้มีการสำรวจ ซ่อมสร้างภาชนะกักเก็บน้ำ ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงท้องถิ่น 3 แห่ง เสียงตามสาย 19 แห่ง และหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน 402 แห่ง
- การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ รถน้ำ 51 คัน รถดับเพลิง 16 คัน เครื่องสูบน้ำดับเพลิงและเครื่องสูบน้ำแบบท่อส่ง 32 เครื่อง
2) การแก้ไขปัญหาน้ำเพื่ออุปโภค- บริโภค
- จัดให้มีรถบรรทุกน้ำ นำน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ไปช่วยเหลือราษฎรที่เดือดร้อน โดยได้มีการแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค แล้ว จำนวน แจกจ่าย 7,003,000 ลิตร
- จัดตั้งขุดจ่ายน้ำ บรรเทาและแก้ไขปัญหาภัยแล้งของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เพื่อให้รถแจกจ่ายน้ำสามารถรับน้ำไปแจกจ่ายให้ราษฎรจำนวน 5 จุด (อำเภอท่าวังผา 2 จุด อำเภอเวียงสา 2 จุด อำเภอเมืองน่าน 1 จุด)
- จัดซื้อกระสอบทราย เพื่อทำฝายชั่วคราวกักเก็บน้ำอุปโภคบริโภค (อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 22 แห่ง และอำเภอนาน้อย 35 แห่ง)
- เป่าล้างบ่อบาดาลตามแผนของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จำนวน 46 บ่อ
3) การแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร งบประมาณดำเนินการ เป็นเงิน 41,349,100 บาท
- ขุดลอกเปิดทางน้ำช่วยเหลือพื้นที่เกษตร จำนวน 52 โครงการ ที่อำเภอเมืองน่าน 27 โครงการ อำเภอเชียงกลาง 12 โครงการ และอำเภอท่าวังผา 13 โครงการ (งบประมาณดำเนินการ 40,848,300 บาท)
- ก่อสร้างฝายน้ำล้น (งบประมาณดำเนินการ 500,800 บาท)
2.3 การแก้ไขปัญหาระยะยาว
1) จัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร ตลอดจนกำจัดวัชพืชในแหล่งน้ำ และการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกในพื้นที่อำเภอ กิ่งอำเภอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านการป้องกันอุทกภัยและการป้องกันภัยแล้ง โดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาแหล่งน้ำ ดังนี้ ขุดลอกแหล่งน้ำ 203 โครงการ ระยะทาง 106.7 กิโลเมตร ขุดสระและสร้างแหล่งกักเก็บน้ำอื่น ๆ 264 โครงการ
2) จัดสร้างฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสาน เพื่อขวางทางเดินของน้ำในลำธารหรือร่องน้ำ โดยอาศัยรูปแบบของฝายชะลอความชุ่มชื้น ตามแนวพระราชดำริ หรือฝายแม้วที่ใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่นมาพัฒนาใช้ จำนวน 3,522 แห่ง และ สร้างอ่างเก็บน้ำ 93 แห่ง
2.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ตรวจเยี่ยมราษฎรผู้ประสบภัยและสถานการณ์ภัยแล้ง รวมทั้งการดำเนินงานจัดสร้างฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสาน(ฝายแม้ว ที่ศูนย์จัดการต้นน้ำตอนบนส่วนที่ 3 ม. 8 ต.สะเนียน อ.เมือง และโครงการขุดลอกลำห้วยสิงห์แก้ว บ้านผาสิงห์ ต.ผาสิงห์ อ.เมือง พร้อมประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่และประชาชน ในฐานะจังหวัดน่านเป็นพื้นที่ป่า ภูเขา และต้นน้ำที่สำคัญของประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงขอให้เจ้าหน้าที่และประชาชนให้ความสำคัญกับการสร้างป่า และรักษ์น้ำ โดยเร่งรณรงค์ ปลุกจิตสำนึก และร่วมกันปลูกป่าให้เต็มพื้นที่ การจัดทำฝายแม้ว หรือฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสานเป็นระยะ การจัดสร้างและบำรุงรักษาแหล่งน้ำขนาดเล็กให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ประสานและให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานแก่จังหวัดแพร่และน่าน คือ
1. ทำงานแบบบูรณาการ ต้องจัดทำแผนเฉพาะกิจ แผนระยะปานกลาง แผนระยะยาว และแผนบริหารจัดการน้ำ
2. มีระบบรวบรวมข้อมูลจากทุกพื้นที่ของจังหวัด มีความพร้อมในการรับแจ้งเหตุและช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง และการตรวจสอบติดตามการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขให้เกิดความชัดเจน รวดเร็ว ต่อเนื่อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. จังหวัดแพร่
1.1 สภาพทั่วไปและสถานการณ์ภัยแล้ง
จังหวัดแพร่แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ 78 ตำบล 695 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 473,361 คน 147,269 ครัวเรือน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน — พฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง และจังหวัดไม่มีฝาย/ทำนบเพื่อกักเก็บน้ำในลำน้ำยมซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดให้เพียงพอครอบคลุมพื้นที่ เป็นผลให้ราษฎรขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อการเกษตร ทำให้ทั่วพื้นที่จังหวัดแพร่เกิดความแห้งแล้งเป็นประจำทุกปี ในปี 2548 จังหวัดแพร่ได้ประกาศให้ทุกอำเภอเป็นพื้นที่ประสบภัยฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547
จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ประสบภัยแล้งใน 8 อำเภอ จำนวน 40 ตำบล 135 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 19.42 ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 25,541 ครัวเรือน จำนวน 81,375 คน คิดเป็นร้อยละ 17.34 พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 5,648 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.81 เป็นพื้นที่นา 3,210 ไร่ พื้นที่ไร่ 2,432 ไร่ และพื้นที่สวน 6 ไร่
1.2 การแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน/ระยะสั้น
1) การเตรียมการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
- ซ่อมเครื่องสูบน้ำ 91 เครื่อง และติดตั้งจุดจ่ายน้ำ 18 แห่ง
- ดำเนินการเจาะบ่อบาดาล/บ่อน้ำตื้น/บ่อตอก 16 แห่ง, เป่าล้างบ่อบาดาล/น้ำตื้น 136 แห่ง
2) การแก้ไขปัญหาน้ำเพื่ออุปโภค- บริโภคการช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อน จังหวัดร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนที่มีรถบรรทุกน้ำ นำน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ไปช่วยเหลือราษฎร โดยได้มีการแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค แล้ว จำนวน 5,673,000 ลิตร
3) การแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร งบประมาณดำเนินการ เป็นเงิน 35,726,983 บาท
- สูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกพืชฤดูแล้ง ในพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลือง 4,173 ไร่ ได้ผลผลิตไร่ละ 240 กิโลกรัม ราคา 11.50 บาท/กิโลกรัม ทำให้เกษตรกรสามารถมีรายได้คิดเป็นเงิน 177,117,480 บาท (งบประมาณดำเนินการ 768,490 บาท เป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
- จัดสร้างทำนบกระสอบทรายกั้นลำน้ำ 614 แห่ง (งบประมาณดำเนินการ 33,586,529 บาท)
- การจ่ายเงินสดชดเชยพืชที่ได้รับความเสียหาย ได้แก่ ข้าว พืชไร่ และยางพารา ในพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ และอำเภอวังชิ้น รวม 5,256 ไร่ จำนวน 1,085 ราย
1.3 การแก้ไขปัญหาระยะยาว
1) การดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาแหล่งน้ำของจังหวัด ประกอบด้วย
(1) การสร้างเขื่อนลุ่มน้ำยม ได้แก่ เขื่อนแก่งเสือเต้น ต.สะเอียบ อำเภอสอง มีปริมาณความจุเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 1,175 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเขื่อนแก่งเสือเต้นตอนล่าง (เขื่อนห้วยสัก) ต.เตาปูน อำเภอสอง มีปริมาณความจุเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 400 ล้านลูกบาศก์เมตร
(2) ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกป่าในพื้นที่ป่าชุมชน จำนวน 97 ป่า มีพื้นที่ 41,267 ไร่ ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 27 ป่า พื้นที่ 297,688 ไร่
(3) เร่งดำเนินการจัดทำฝายแม้ว (Check Dam) ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยได้ดำเนินการแล้ว จำนวน 349 แห่ง ที่ ศูนย์การศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำ จำนวน 2,901 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอก จำนวน 5 แห่ง และอุทยานแห่งชาติแม่ยม 150 แห่ง
2) จัดทำแผนการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง (ปี 2549 — 2553) ได้แก่
(1) อ่างเก็บน้ำแม่สาย บ้านสันกลาง ต.ป่าแดง อ.เมืองแพร่ ปริมาณความจุอ่างเก็บกักน้ำ 10.5 ล้านลูกบาศก์เมตร (บรรจุในแผนปีงบประมาณ 2549-2551)
(2) อ่างเก็บน้ำแม่แคม บ้านแม่แคม ต.สวนเขื่อน อ.เมืองแพร่ ปริมาณความจุอ่างเก็บกักน้ำ 8.55 ล้านลูกบาศก์เมตร (บรรจุในแผนปีงบประมาณ 2549-2552)
(3) อ่างเก็บน้ำแม่แลง บ้านแสนทอง ต.เวียงต้า อ.ลอง ปริมาณความจุอ่างเก็บกักน้ำ 10.5 ล้านลูกบาศก์เมตร (บรรจุในแผนปีงบประมาณ 2550-2552)
(4) อ่างเก็บน้ำแม่คำมี บ้านห้วยโรงใน ต.ห้วยโรง อ.ร้องกวาง ปริมาณความจุอ่างเก็บกักน้ำ 17 ล้านลูกบาศก์เมตร (แผนปีงบประมาณ 2552-2553)
1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ตรวจเยี่ยมราษฎรผู้ประสบความเดือดร้อนและสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำแม่มาน ต.หัวฝาย อ.สูงเม่น บ้านสันติสุข ม. 9 ต. เวียงต้า อ.ลอง บ้านกลางทุ่ง ม.10 ต.บ้านกลาง อ.สอง และตรวจดูสถานที่ก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ซึ่งอยู่ตอนบนของลุ่มแม่น้ำยม และเขื่อนแก่งเสือเต้นตอนล่าง (เขื่อนห้วยสัก) การจัดทำฝายแม้วเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม พร้อมทั้งประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่และประชาชน โดยขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้านและมีความชัดเจน เพื่อประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและมีความคุ้มค่า และหากต้องมีการอพยพราษฎรก็จักต้องมีแผนเตรียมการรองรับที่เหมาะสม ให้สามารถชดเชยและดูแลราษฎรให้มีชีวิตความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
2. จังหวัดน่าน
2.1 สภาพทั่วไปและสถานการณ์ภัยแล้ง
จังหวัดน่าน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ประชากรรวมทั้งสิ้น 477,754 คน มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 7,170,045 ไร่
ผลกระทบจากภัยแล้งในจังหวัดน่าน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2547 มีพื้นที่เผชิญกับปัญหาภัยแล้ง 8 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองน่าน อำเภอนาน้อย อำเภอสันติสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง กิ่งอำเภอภูเพียง อำเภอท่าวังผา อำเภอเวียงสา รวม 39 ตำบล 92 หมู่บ้าน ราษฎรประสบความเดือดร้อน 11,451 ครัวเรือน จำนวน 43,502 คน คิดเป็นร้อยละ 9.11 ของประชากรทั้งหมดในจังหวัด
2.2 การแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน/ระยะสั้น
1) การเตรียมการในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
- จัดตั้งศูนย์แจกจ่ายน้ำประจำหมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 326 แห่ง
- ซ่อมแซมทำความสะอาดภาชนะกักเก็บน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน อาทิถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ถังปูนฉาย ถังไฟเบอร์ โอ่งซีเมนต์ บ่อน้ำตื้น บ่อบาดาล ประปาหมู่บ้าน รวมถึงขุดลอกสระน้ำอื่น รวม 1747 แห่ง
- รณรงค์ให้มีการสำรวจ ซ่อมสร้างภาชนะกักเก็บน้ำ ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงท้องถิ่น 3 แห่ง เสียงตามสาย 19 แห่ง และหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน 402 แห่ง
- การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ รถน้ำ 51 คัน รถดับเพลิง 16 คัน เครื่องสูบน้ำดับเพลิงและเครื่องสูบน้ำแบบท่อส่ง 32 เครื่อง
2) การแก้ไขปัญหาน้ำเพื่ออุปโภค- บริโภค
- จัดให้มีรถบรรทุกน้ำ นำน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ไปช่วยเหลือราษฎรที่เดือดร้อน โดยได้มีการแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค แล้ว จำนวน แจกจ่าย 7,003,000 ลิตร
- จัดตั้งขุดจ่ายน้ำ บรรเทาและแก้ไขปัญหาภัยแล้งของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เพื่อให้รถแจกจ่ายน้ำสามารถรับน้ำไปแจกจ่ายให้ราษฎรจำนวน 5 จุด (อำเภอท่าวังผา 2 จุด อำเภอเวียงสา 2 จุด อำเภอเมืองน่าน 1 จุด)
- จัดซื้อกระสอบทราย เพื่อทำฝายชั่วคราวกักเก็บน้ำอุปโภคบริโภค (อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 22 แห่ง และอำเภอนาน้อย 35 แห่ง)
- เป่าล้างบ่อบาดาลตามแผนของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จำนวน 46 บ่อ
3) การแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร งบประมาณดำเนินการ เป็นเงิน 41,349,100 บาท
- ขุดลอกเปิดทางน้ำช่วยเหลือพื้นที่เกษตร จำนวน 52 โครงการ ที่อำเภอเมืองน่าน 27 โครงการ อำเภอเชียงกลาง 12 โครงการ และอำเภอท่าวังผา 13 โครงการ (งบประมาณดำเนินการ 40,848,300 บาท)
- ก่อสร้างฝายน้ำล้น (งบประมาณดำเนินการ 500,800 บาท)
2.3 การแก้ไขปัญหาระยะยาว
1) จัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร ตลอดจนกำจัดวัชพืชในแหล่งน้ำ และการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกในพื้นที่อำเภอ กิ่งอำเภอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านการป้องกันอุทกภัยและการป้องกันภัยแล้ง โดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาแหล่งน้ำ ดังนี้ ขุดลอกแหล่งน้ำ 203 โครงการ ระยะทาง 106.7 กิโลเมตร ขุดสระและสร้างแหล่งกักเก็บน้ำอื่น ๆ 264 โครงการ
2) จัดสร้างฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสาน เพื่อขวางทางเดินของน้ำในลำธารหรือร่องน้ำ โดยอาศัยรูปแบบของฝายชะลอความชุ่มชื้น ตามแนวพระราชดำริ หรือฝายแม้วที่ใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่นมาพัฒนาใช้ จำนวน 3,522 แห่ง และ สร้างอ่างเก็บน้ำ 93 แห่ง
2.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ตรวจเยี่ยมราษฎรผู้ประสบภัยและสถานการณ์ภัยแล้ง รวมทั้งการดำเนินงานจัดสร้างฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสาน(ฝายแม้ว ที่ศูนย์จัดการต้นน้ำตอนบนส่วนที่ 3 ม. 8 ต.สะเนียน อ.เมือง และโครงการขุดลอกลำห้วยสิงห์แก้ว บ้านผาสิงห์ ต.ผาสิงห์ อ.เมือง พร้อมประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่และประชาชน ในฐานะจังหวัดน่านเป็นพื้นที่ป่า ภูเขา และต้นน้ำที่สำคัญของประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงขอให้เจ้าหน้าที่และประชาชนให้ความสำคัญกับการสร้างป่า และรักษ์น้ำ โดยเร่งรณรงค์ ปลุกจิตสำนึก และร่วมกันปลูกป่าให้เต็มพื้นที่ การจัดทำฝายแม้ว หรือฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสานเป็นระยะ การจัดสร้างและบำรุงรักษาแหล่งน้ำขนาดเล็กให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ประสานและให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานแก่จังหวัดแพร่และน่าน คือ
1. ทำงานแบบบูรณาการ ต้องจัดทำแผนเฉพาะกิจ แผนระยะปานกลาง แผนระยะยาว และแผนบริหารจัดการน้ำ
2. มีระบบรวบรวมข้อมูลจากทุกพื้นที่ของจังหวัด มีความพร้อมในการรับแจ้งเหตุและช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง และการตรวจสอบติดตามการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขให้เกิดความชัดเจน รวดเร็ว ต่อเนื่อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--