คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 (เพิ่มเติม) รายการเสริมศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ จำนวน 59,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการประเมินคุณภาพการศึกษา (ภายนอกสถานศึกษาเพิ่มเติมในปี 2547) ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เสนอ
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) เป็นองค์กรทางวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยให้มีคุณภาพและให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาในสถานศึกษาที่มีการบริหารและการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุข
ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 (1 ตุลาคม 2546 - 29 กุมภาพันธ์ 2547) ผลผลิตที่ 1 การส่งเสริมการประกันคุณภาพภายในเพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอกแผนทั้งปี ตั้งไว้ 6,300 แห่ง ผลการดำเนินการตั้งแต่ตุลาคม 2546 - กุมภาพันธ์ 2547 ได้ 4,043 แห่ง หรือเท่ากับร้อยละ 64.17 ของแผน ผลผลิตที่ 2 การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา แผนทั้งปีตั้งไว้สำหรับระดับพื้นฐาน 5,650 แห่ง ระดับอุดมศึกษา 50 แห่ง และการอาชีวศึกษา 100 แห่ง รวมเป็น 5,800 แห่ง ผลการดำเนินการตั้งแต่ตุลาคม 2546 - กุมภาพันธ์ 2547 ระดับพื้นฐาน4,212 แห่ง ร้อยละ 74.55 ระดับอุดมศึกษา 47 แห่ง ร้อยละ 47.00 และการอาชีวศึกษา 20 แห่ง ร้อยละ 40.00 รวมทุกระดับผลการดำเนินการเท่ากับร้อยละ 73.78 ของแผน
เพื่อให้สถานศึกษาได้รับผลประเมินและนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาโดยเร็ว และเพื่อให้การดำเนินงานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) บรรลเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 49 กำหนดให้มีการประเมินภายนอกสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก 5 ปี โดยในรอบแรกนี้จะต้องประเมินสถานศึกษาในระบบทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2548 และจากมติคณะกรรมการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาครั้งที่ 15/2546 วันที่ 16 ธันวาคม 2546 พิจารณาแล้วเห็นว่าสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีศักยภาพและความพร้อมที่จะประเมินสถานศึกษา ได้อีก 9,150 แห่ง ภายในปีงบประมาณ 2547 จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการเสนอของบประมาณกลางปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เพื่อสนับสนุนให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกเพิ่มจำนวน 9,150 แห่ง โดยแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ ดังนี้ ระดับพื้นฐาน ระดับอุดมศึกษา การอาชีวศึกษา จำนวน 9000 50 และ 100 แห่ง ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) เป็นองค์กรทางวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยให้มีคุณภาพและให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาในสถานศึกษาที่มีการบริหารและการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุข
ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 (1 ตุลาคม 2546 - 29 กุมภาพันธ์ 2547) ผลผลิตที่ 1 การส่งเสริมการประกันคุณภาพภายในเพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอกแผนทั้งปี ตั้งไว้ 6,300 แห่ง ผลการดำเนินการตั้งแต่ตุลาคม 2546 - กุมภาพันธ์ 2547 ได้ 4,043 แห่ง หรือเท่ากับร้อยละ 64.17 ของแผน ผลผลิตที่ 2 การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา แผนทั้งปีตั้งไว้สำหรับระดับพื้นฐาน 5,650 แห่ง ระดับอุดมศึกษา 50 แห่ง และการอาชีวศึกษา 100 แห่ง รวมเป็น 5,800 แห่ง ผลการดำเนินการตั้งแต่ตุลาคม 2546 - กุมภาพันธ์ 2547 ระดับพื้นฐาน4,212 แห่ง ร้อยละ 74.55 ระดับอุดมศึกษา 47 แห่ง ร้อยละ 47.00 และการอาชีวศึกษา 20 แห่ง ร้อยละ 40.00 รวมทุกระดับผลการดำเนินการเท่ากับร้อยละ 73.78 ของแผน
เพื่อให้สถานศึกษาได้รับผลประเมินและนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาโดยเร็ว และเพื่อให้การดำเนินงานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) บรรลเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 49 กำหนดให้มีการประเมินภายนอกสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก 5 ปี โดยในรอบแรกนี้จะต้องประเมินสถานศึกษาในระบบทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2548 และจากมติคณะกรรมการบริหารสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาครั้งที่ 15/2546 วันที่ 16 ธันวาคม 2546 พิจารณาแล้วเห็นว่าสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีศักยภาพและความพร้อมที่จะประเมินสถานศึกษา ได้อีก 9,150 แห่ง ภายในปีงบประมาณ 2547 จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการเสนอของบประมาณกลางปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เพื่อสนับสนุนให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกเพิ่มจำนวน 9,150 แห่ง โดยแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ ดังนี้ ระดับพื้นฐาน ระดับอุดมศึกษา การอาชีวศึกษา จำนวน 9000 50 และ 100 แห่ง ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-