คณะรัฐมนตรีรับทราบการจัดตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิง ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2546 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาของระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยให้มีการนำเอาอ้อยส่วนหนึ่งไปผลิตเป็นเอทานอลสำหรับไปผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง นั้น
กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับรายงานจากคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติว่า
1. ขณะนี้มีผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลซึ่งแสงความประสงค์จะลงทุนจัดตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิง โดยใช้น้ำอ้อยและผลิตผลพลอยได้จากโรงงานน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ จำนวน 11 ราย คือ
1) บริษัท โรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม จำกัด กำลังการผลิต 300,000 ลิตรต่อวัน
2) บริษัท น้ำตาลไทยกาญจนบุรี จำกัด กำลังการผลิต 200,000 ลิตรต่อวัน
3) บริษัท เอ็น.วาย.ชูการ์ จำกัด กำลังการผลิต 100,000 ลิตรต่อวัน
4) กลุ่มวังขนาย กำลังการผลิต 300,000 ลิตรต่อวัน
5) บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด กำลังการผลิต 50,000 ลิตรต่อวัน
6) โรงงานน้ำตาลทรายแดงของนายนพพร ว่องวัฒนะสิน กำลังการผลิต 100,000 ลิตรต่อวัน
7) โรงงานน้ำตาลทรายแดงของบริษัท สมเด็จ (1991)จำกัด กำลังการผลิต 100,000 ลิตรต่อวัน
8) บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด ยังไม่แจ้งกำลังการผลิต
9) บริษัท น้ำตาลเชียงใหม่ จำกัด ยังไม่แจ้งกำลังการผลิต
10) บริษัท น้ำตาลมิตรพล จำกัด ยังไม่แจ้งกำลังการผลิต
11) กลุ่มน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ ยังไม่แจ้งกำลังการผลิต
2. เนื่องจากขณะนี้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายกำลังประสบกับปัญหาราคาอ้อยตกต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลักเนื่องมาจากปริมาณผลผลิตส่วนเกินเป็นจำนวนมากต้องถูกส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2546 จึงได้มีมติเห็นชอบนโยบายการแก้ไขปัญหาของระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยให้มีการนำเอาอ้อยจำนวนหนึ่งไปผลิตเป็นเอทานอลสำหรับนำไปผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง และได้กำหนดมาตรการเพื่อให้มีตลาดผู้รับซื้อเอทานอลที่ชัดเจน ดังนั้น เพื่อให้การจัดตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายที่เรื้อรังมาเป็นเวลานานจนก่อให้เกิดภาระหนี้สินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นจำนวนมาก ประกอบกับต้นทุนการผลิตเอทานอลจากอ้อยมีโครงสร้างต้นทุนที่ถูกกว่าการผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบอื่น และโรงงานผลิตเอทานอลซึ่งต่อเชื่อมกับโรงงานน้ำตาลจะใช้เวลาในการก่อสร้างเร็วกว่าโรงงานตั้งใหม่ที่ใช้วัตถุดิบอื่น คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2547 จึงกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเป็นการเพิ่มเติม ดังนี้
1) ผู้ยื่นข้อเสนอโครงการตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งใช้น้ำอ้อยและผลิตผลพลอยได้จากโรงงานน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ จะได้รับการพิจารณาเป็นลำดับแรก
2) ผู้ยื่นข้อเสนอตามข้อ 1) จะต้องยื่นรายละเอียดข้อเสนอโครงการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับจากวันถัดจากวันที่ออกประกาศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2546 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาของระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยให้มีการนำเอาอ้อยส่วนหนึ่งไปผลิตเป็นเอทานอลสำหรับไปผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง นั้น
กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับรายงานจากคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติว่า
1. ขณะนี้มีผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลซึ่งแสงความประสงค์จะลงทุนจัดตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิง โดยใช้น้ำอ้อยและผลิตผลพลอยได้จากโรงงานน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ จำนวน 11 ราย คือ
1) บริษัท โรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดม จำกัด กำลังการผลิต 300,000 ลิตรต่อวัน
2) บริษัท น้ำตาลไทยกาญจนบุรี จำกัด กำลังการผลิต 200,000 ลิตรต่อวัน
3) บริษัท เอ็น.วาย.ชูการ์ จำกัด กำลังการผลิต 100,000 ลิตรต่อวัน
4) กลุ่มวังขนาย กำลังการผลิต 300,000 ลิตรต่อวัน
5) บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด กำลังการผลิต 50,000 ลิตรต่อวัน
6) โรงงานน้ำตาลทรายแดงของนายนพพร ว่องวัฒนะสิน กำลังการผลิต 100,000 ลิตรต่อวัน
7) โรงงานน้ำตาลทรายแดงของบริษัท สมเด็จ (1991)จำกัด กำลังการผลิต 100,000 ลิตรต่อวัน
8) บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด ยังไม่แจ้งกำลังการผลิต
9) บริษัท น้ำตาลเชียงใหม่ จำกัด ยังไม่แจ้งกำลังการผลิต
10) บริษัท น้ำตาลมิตรพล จำกัด ยังไม่แจ้งกำลังการผลิต
11) กลุ่มน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ ยังไม่แจ้งกำลังการผลิต
2. เนื่องจากขณะนี้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายกำลังประสบกับปัญหาราคาอ้อยตกต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลักเนื่องมาจากปริมาณผลผลิตส่วนเกินเป็นจำนวนมากต้องถูกส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2546 จึงได้มีมติเห็นชอบนโยบายการแก้ไขปัญหาของระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยให้มีการนำเอาอ้อยจำนวนหนึ่งไปผลิตเป็นเอทานอลสำหรับนำไปผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง และได้กำหนดมาตรการเพื่อให้มีตลาดผู้รับซื้อเอทานอลที่ชัดเจน ดังนั้น เพื่อให้การจัดตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายที่เรื้อรังมาเป็นเวลานานจนก่อให้เกิดภาระหนี้สินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นจำนวนมาก ประกอบกับต้นทุนการผลิตเอทานอลจากอ้อยมีโครงสร้างต้นทุนที่ถูกกว่าการผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบอื่น และโรงงานผลิตเอทานอลซึ่งต่อเชื่อมกับโรงงานน้ำตาลจะใช้เวลาในการก่อสร้างเร็วกว่าโรงงานตั้งใหม่ที่ใช้วัตถุดิบอื่น คณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2547 จึงกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเป็นการเพิ่มเติม ดังนี้
1) ผู้ยื่นข้อเสนอโครงการตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งใช้น้ำอ้อยและผลิตผลพลอยได้จากโรงงานน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ จะได้รับการพิจารณาเป็นลำดับแรก
2) ผู้ยื่นข้อเสนอตามข้อ 1) จะต้องยื่นรายละเอียดข้อเสนอโครงการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับจากวันถัดจากวันที่ออกประกาศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-