คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนใช้ความรุนแรง ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ สรุปได้ดังนี้
กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบในหลักการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนใช้ความรุนแรงดังกล่าวต่อไปแล้วทุกประเด็น ยกเว้นในกรณีกลุ่มเป้าหมายเด็กอาชีวศึกษาเรื่องเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนอาชีวศึกษาให้เหมือนกันทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพไม่แปลกแยกนั้น กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาแล้วเห็นว่า จะก่อให้เกิดผลกระทบกับบุคคลและหน่วยงานหลายฝ่าย จึงไม่ควรกำหนดให้เครื่องแบบนักเรียนอาชีวศึกษาเหมือนกันทั่วประเทศ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ทักท้วงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไว้แล้วด้วยเหตุผลพอสรุป ดังนี้
1. นักเรียนอาชีวศึกษาที่มีปัญหาส่วนใหญ่เรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งมีประมาณ10 โรงเรียนเท่านั้น สำหรับในต่างจังหวัดแทบจะไม่มีเลย
2. โรงเรียนอาชีวศึกษาทั่วประเทศที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดประมาณ 80% เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนในด้านบริหารธุรกิจ จะไม่เกิดปัญหานักเรียนทะเลาะวิวาท
3. ในปีการศึกษา 2547 โรงเรียนส่วนใหญ่ได้รับสมัครและมอบตัวนักเรียนไปแล้ว จึงได้มีการกำหนดเครื่องแบบและสั่งตัดเครื่องแบบนักเรียนแล้วเป็นจำนวนมาก ซึ่งเครื่องแบบของโรงเรียนเหล่านั้นก็ดูดีและเรียบร้อยอยู่แล้ว
4. การปรับเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนอาชีวศึกษา เคยได้ดำเนินการมาแล้วปรากฏว่าไม่ได้ผล สาเหตุเพราะนักเรียนจะไปสร้างสัญลักษณ์ของสถาบันเองที่ไม่ถูกต้อง เช่น เมื่อออกนอกโรงเรียนแล้วก็จะนำสัญลักษณ์มาสวมใส่อาทิเช่น โล่ เข็ม เสื้อ Shop ที่นักเรียนสั่งตัดขึ้นมาเอง ฯลฯ ยิ่งทำให้เกิดปัญหาในการดูแล และติดตามความประพฤติของอาจารย์ฝ่ายกิจการนักศึกษาของโรงเรียนนั้น ๆ
5. ขณะนี้สถานศึกษาได้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนนักศึกษาพ.ศ. 2527 ซึ่งมีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันอยู่แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบในหลักการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนใช้ความรุนแรงดังกล่าวต่อไปแล้วทุกประเด็น ยกเว้นในกรณีกลุ่มเป้าหมายเด็กอาชีวศึกษาเรื่องเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนอาชีวศึกษาให้เหมือนกันทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพไม่แปลกแยกนั้น กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาแล้วเห็นว่า จะก่อให้เกิดผลกระทบกับบุคคลและหน่วยงานหลายฝ่าย จึงไม่ควรกำหนดให้เครื่องแบบนักเรียนอาชีวศึกษาเหมือนกันทั่วประเทศ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ทักท้วงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไว้แล้วด้วยเหตุผลพอสรุป ดังนี้
1. นักเรียนอาชีวศึกษาที่มีปัญหาส่วนใหญ่เรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งมีประมาณ10 โรงเรียนเท่านั้น สำหรับในต่างจังหวัดแทบจะไม่มีเลย
2. โรงเรียนอาชีวศึกษาทั่วประเทศที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดประมาณ 80% เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนในด้านบริหารธุรกิจ จะไม่เกิดปัญหานักเรียนทะเลาะวิวาท
3. ในปีการศึกษา 2547 โรงเรียนส่วนใหญ่ได้รับสมัครและมอบตัวนักเรียนไปแล้ว จึงได้มีการกำหนดเครื่องแบบและสั่งตัดเครื่องแบบนักเรียนแล้วเป็นจำนวนมาก ซึ่งเครื่องแบบของโรงเรียนเหล่านั้นก็ดูดีและเรียบร้อยอยู่แล้ว
4. การปรับเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนอาชีวศึกษา เคยได้ดำเนินการมาแล้วปรากฏว่าไม่ได้ผล สาเหตุเพราะนักเรียนจะไปสร้างสัญลักษณ์ของสถาบันเองที่ไม่ถูกต้อง เช่น เมื่อออกนอกโรงเรียนแล้วก็จะนำสัญลักษณ์มาสวมใส่อาทิเช่น โล่ เข็ม เสื้อ Shop ที่นักเรียนสั่งตัดขึ้นมาเอง ฯลฯ ยิ่งทำให้เกิดปัญหาในการดูแล และติดตามความประพฤติของอาจารย์ฝ่ายกิจการนักศึกษาของโรงเรียนนั้น ๆ
5. ขณะนี้สถานศึกษาได้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนนักศึกษาพ.ศ. 2527 ซึ่งมีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันอยู่แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-