คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ พล.อ. ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองนายกรัฐมนตรี รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง ปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยค้างดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
1. ปัญหาที่อยู่อาศัยค้างดำเนินการสามารถแบ่งเป็น 3 กรณี คือ
1) กรณีผู้ประกอบการประสบปัญหาทางการเงินอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ
2) กรณีผู้ประกอบการมีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภค
3) กรณีอาคารสูงค้างดำเนินการ
2. การดำเนินการในแต่ละกรณี
1) กรณีผู้ประกอบการประสบปัญหาทางการเงินอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ ในเวลาที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาไปบางส่วนแล้ว เช่น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับเงินมัดจำคืน และการเคหะแห่งชาติได้เข้าไปรับซื้อโครงการที่มีปัญหาแต่ยังมีศักยภาพ เพื่อนำไปบริหารต่อ เป็นต้น ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ที่มีลูกหนี้ในกลุ่มนี้ พบว่า การแก้ไขปัญหาเป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากกฎหมายปัจจุบันเป็นอุปสรรค นอกจากนี้ ยังขาดข้อมูลรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับสภาพปัญหา จึงสมควรจะได้มีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนและชัดเจนก่อน
2) กรณีผู้ประกอบการมีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภค มีจำนวนประมาณ 21 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินคดี และโดยที่ผู้ประกอบการกลุ่มนี้อาจมีการถ่ายเททรัพย์สินเพื่อหลบเลี่ยงทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีนี้จึงให้ สคบ. ประสานงานกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) เพื่อเข้ามารตรวจสอบและดำเนินการยึดทรัพย์ด้วย
3) กรณีอาคารสูงค้างดำเนินการ จากการสำรวจทั่วประเทศพบว่า มีจำนวน 508 อาคาร บางแห่งมีศักยภาพสูงและสถาบันการเงินประสงค์จะนำกลับมาดำเนินการต่อ แต่ยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพและรายละเอียด ที่สำคัญ เช่น การได้รับใบอนุญาตในเรื่องการก่อสร้าง การจัดสรร และสิ่งแวดล้อมแล้วหรือไม่ จึงสมควรให้มีการสำรวจข้อมูลดังกล่าวให้ชัดเจนก่อน สำหรับปัญหาเรื่องการสำรวจสภาพและความปลอดภัยของโครงสร้างอาคารก่อนตัดสินใจ ซึ่งเป็นเรื่องยากและมีค่าใช้จ่ายสูง นั้น สมควรให้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) เข้ามาร่วมดำเนินการด้วย
3. การดำเนินการต่อไป ในกรณีผู้ประกอบการมีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภค ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ประสานงานส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติให้ดำเนินคดีอาญา ให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำหรับกรณีผู้ประกอบการประสบปัญหาทางการเงินอันเนื่องมากจากวิกฤตเศรษฐกิจ และกรณีอาคารสูงค้างดำเนินการให้ สคบ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและเอกชน ตรวจสอบและสรุปข้อมูลโดยแยกแยะปัญหาต่าง ๆ ให้ชัดเจนพร้อมทั้งเสนอแนะหน่วยงานที่จะเป็นผู้ดำเนินการในปัญหานั้น ๆ ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ปัญหาที่อยู่อาศัยค้างดำเนินการสามารถแบ่งเป็น 3 กรณี คือ
1) กรณีผู้ประกอบการประสบปัญหาทางการเงินอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ
2) กรณีผู้ประกอบการมีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภค
3) กรณีอาคารสูงค้างดำเนินการ
2. การดำเนินการในแต่ละกรณี
1) กรณีผู้ประกอบการประสบปัญหาทางการเงินอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ ในเวลาที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาไปบางส่วนแล้ว เช่น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับเงินมัดจำคืน และการเคหะแห่งชาติได้เข้าไปรับซื้อโครงการที่มีปัญหาแต่ยังมีศักยภาพ เพื่อนำไปบริหารต่อ เป็นต้น ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ที่มีลูกหนี้ในกลุ่มนี้ พบว่า การแก้ไขปัญหาเป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากกฎหมายปัจจุบันเป็นอุปสรรค นอกจากนี้ ยังขาดข้อมูลรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับสภาพปัญหา จึงสมควรจะได้มีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนและชัดเจนก่อน
2) กรณีผู้ประกอบการมีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภค มีจำนวนประมาณ 21 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินคดี และโดยที่ผู้ประกอบการกลุ่มนี้อาจมีการถ่ายเททรัพย์สินเพื่อหลบเลี่ยงทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีนี้จึงให้ สคบ. ประสานงานกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) เพื่อเข้ามารตรวจสอบและดำเนินการยึดทรัพย์ด้วย
3) กรณีอาคารสูงค้างดำเนินการ จากการสำรวจทั่วประเทศพบว่า มีจำนวน 508 อาคาร บางแห่งมีศักยภาพสูงและสถาบันการเงินประสงค์จะนำกลับมาดำเนินการต่อ แต่ยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพและรายละเอียด ที่สำคัญ เช่น การได้รับใบอนุญาตในเรื่องการก่อสร้าง การจัดสรร และสิ่งแวดล้อมแล้วหรือไม่ จึงสมควรให้มีการสำรวจข้อมูลดังกล่าวให้ชัดเจนก่อน สำหรับปัญหาเรื่องการสำรวจสภาพและความปลอดภัยของโครงสร้างอาคารก่อนตัดสินใจ ซึ่งเป็นเรื่องยากและมีค่าใช้จ่ายสูง นั้น สมควรให้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) เข้ามาร่วมดำเนินการด้วย
3. การดำเนินการต่อไป ในกรณีผู้ประกอบการมีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภค ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ประสานงานส่งรายชื่อผู้ประกอบการที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติให้ดำเนินคดีอาญา ให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำหรับกรณีผู้ประกอบการประสบปัญหาทางการเงินอันเนื่องมากจากวิกฤตเศรษฐกิจ และกรณีอาคารสูงค้างดำเนินการให้ สคบ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและเอกชน ตรวจสอบและสรุปข้อมูลโดยแยกแยะปัญหาต่าง ๆ ให้ชัดเจนพร้อมทั้งเสนอแนะหน่วยงานที่จะเป็นผู้ดำเนินการในปัญหานั้น ๆ ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-