คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนของกระทรวงมหาดไทย (ศตจ.มท.) รายงานสรุปความคืบหน้าการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2547 จนถึงวันที่ 4 มิถุนายน 2547 ดังนี้
การดำเนินงานของกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ำต่อหน่วยงานในสังกัด ในการประชุมกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีการถ่ายทอดการประชุมด้วยระบบวีดีทัศน์ทางไกล เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศทราบด้วยว่า ในระยะ 3 เดือนข้าหงน้านี้ จะเน้นการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยในระดับพื้นที่ นายอำเภอจะเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหา ในการเชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจาให้ครบถ้วนภายในเดือนสิงหาคม 2547 ตามแนวทางที่กระทรวงการคลัง (คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินคนยากจน ของ ศตจ. กำหนดไว้) โดยให้วางแผนการดำเนินการให้ครอบคลุมรอบคอบรัดกุม สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้คิดเกินอัตราที่กำหนด หากสามารถเจรจาทำความตกลงกันได้ระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้แล้ว โดยลดดอกเบี้ยลงมาอยู่ในกรอบของกฎหมายร้อยละ 15 ต่อปี อาจไม่จำเป็นต้องเข้าระบบธนาคารทั้งหมด
เป้าหมาย ให้ลูกหนี้ที่ปรากฏในทะเบียนตามแบบ สย.6 และผ่านการทำประชาคมแล้ว จำนวน 1.76 ล้าน ราย เข้าสู่ระบบการเจรจาทุกราย ภายในเดือนสิงหาคม 2547 และ จัดตั้งคณะกรรมการเจรจาหนี้ให้ครบทุกจังหวัด/อำเภอ เพื่อแบ่งภารกิจให้แต่ละคณะดำเนินการเจรจา โดยจำแนกตามกลุ่มลูกหนี้ที่ธนาคารจะรับไปดูแล
การเตรียมการและความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา
ในระยะ 2 สัปดาห์แรก จังหวัด อำเภอ อยู่ในขั้นเตรียมการจัดแบ่งภารกิจรวมทั้งเชิญลูกหนี้ที่ได้มีการเจรจาไปล่วงหน้าแล้ว เพื่อเข้าสู่ระบบตามกรอบของกระทรวงการคลัง ดังนี้
1. ศตจ.จังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ และ กทม. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเจรจาหนี้ ทั้งนี้ จำนวนบุคคลในคณะเจรจาจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณปัญหาและปัจจัยของในพื้นที่
2. ศตจ.จังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ และ กทม. ได้ประชาสัมพันธ์และวางแผนการเจรจาประนอมหนี้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน จัดแบ่งพื้นที่ และเวทีสถานที่การเจรจา เพื่อให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2547 ส่วนใหญ่คณะเจรจาฯ ที่ตั้งขึ้น มีกำหนดดำเนินการในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน 2547
3. การปฏิบัติในช่วง 2 สัปดาห์ หลังจากรับมอบแนวทางของผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการ ปลัดจังหวัด และนายอำเภอทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2547 แล้ว บัดนี้ ศตจ.มท. ได้รับรายงานผลในเบื้องต้น ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2547 ในภาพรวม ดังนี้
ด้านหนี้สินนอกระบบ ยอดผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการประชาคม ในแบบ สย.6 (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) จำนวน 1,631,901 ปัญหา มูลหนี้ 131,028,165,479 บาท
การดำเนินการเจรจาประนอมหนี้ ศตจ.อำเภอ ได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจาในบางส่วนแล้ว และบางแห่งได้มีการสอบทวนข้อมูลลูกหนี้และเจ้าหนี้ มูลหนี้ สัญญาการชำระหนี้และหลักประกันชำระหนี้ เพื่อให้ถูกต้องสมบูรณ์ก่อนเชิญเจ้าหนี้มาเจรจา ซึ่งมีผลในชั้นต้น ดังนี้
- ได้มีการตั้งทีมเจรจาในระยะแรกนี้แล้ว จำนวน 4,636 ทีม
- ได้เชิญมาเจรจา 17,770 ปัญหา มูลหนี้ 1,057,248,530 บาท
- ได้ข้อยุติ 13,374 ปัญหา มูลหนี้ 669,218,222 บาท
- ยังไม่ได้ข้อยุติ 4,396 ปัญหา มูลหนี้ 388,030,308 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
การดำเนินงานของกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ำต่อหน่วยงานในสังกัด ในการประชุมกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีการถ่ายทอดการประชุมด้วยระบบวีดีทัศน์ทางไกล เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศทราบด้วยว่า ในระยะ 3 เดือนข้าหงน้านี้ จะเน้นการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยในระดับพื้นที่ นายอำเภอจะเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหา ในการเชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้เข้าสู่กระบวนการเจรจาให้ครบถ้วนภายในเดือนสิงหาคม 2547 ตามแนวทางที่กระทรวงการคลัง (คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินคนยากจน ของ ศตจ. กำหนดไว้) โดยให้วางแผนการดำเนินการให้ครอบคลุมรอบคอบรัดกุม สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้คิดเกินอัตราที่กำหนด หากสามารถเจรจาทำความตกลงกันได้ระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้แล้ว โดยลดดอกเบี้ยลงมาอยู่ในกรอบของกฎหมายร้อยละ 15 ต่อปี อาจไม่จำเป็นต้องเข้าระบบธนาคารทั้งหมด
เป้าหมาย ให้ลูกหนี้ที่ปรากฏในทะเบียนตามแบบ สย.6 และผ่านการทำประชาคมแล้ว จำนวน 1.76 ล้าน ราย เข้าสู่ระบบการเจรจาทุกราย ภายในเดือนสิงหาคม 2547 และ จัดตั้งคณะกรรมการเจรจาหนี้ให้ครบทุกจังหวัด/อำเภอ เพื่อแบ่งภารกิจให้แต่ละคณะดำเนินการเจรจา โดยจำแนกตามกลุ่มลูกหนี้ที่ธนาคารจะรับไปดูแล
การเตรียมการและความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา
ในระยะ 2 สัปดาห์แรก จังหวัด อำเภอ อยู่ในขั้นเตรียมการจัดแบ่งภารกิจรวมทั้งเชิญลูกหนี้ที่ได้มีการเจรจาไปล่วงหน้าแล้ว เพื่อเข้าสู่ระบบตามกรอบของกระทรวงการคลัง ดังนี้
1. ศตจ.จังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ และ กทม. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเจรจาหนี้ ทั้งนี้ จำนวนบุคคลในคณะเจรจาจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณปัญหาและปัจจัยของในพื้นที่
2. ศตจ.จังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ และ กทม. ได้ประชาสัมพันธ์และวางแผนการเจรจาประนอมหนี้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน จัดแบ่งพื้นที่ และเวทีสถานที่การเจรจา เพื่อให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2547 ส่วนใหญ่คณะเจรจาฯ ที่ตั้งขึ้น มีกำหนดดำเนินการในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน 2547
3. การปฏิบัติในช่วง 2 สัปดาห์ หลังจากรับมอบแนวทางของผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการ ปลัดจังหวัด และนายอำเภอทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2547 แล้ว บัดนี้ ศตจ.มท. ได้รับรายงานผลในเบื้องต้น ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2547 ในภาพรวม ดังนี้
ด้านหนี้สินนอกระบบ ยอดผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการประชาคม ในแบบ สย.6 (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) จำนวน 1,631,901 ปัญหา มูลหนี้ 131,028,165,479 บาท
การดำเนินการเจรจาประนอมหนี้ ศตจ.อำเภอ ได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจาในบางส่วนแล้ว และบางแห่งได้มีการสอบทวนข้อมูลลูกหนี้และเจ้าหนี้ มูลหนี้ สัญญาการชำระหนี้และหลักประกันชำระหนี้ เพื่อให้ถูกต้องสมบูรณ์ก่อนเชิญเจ้าหนี้มาเจรจา ซึ่งมีผลในชั้นต้น ดังนี้
- ได้มีการตั้งทีมเจรจาในระยะแรกนี้แล้ว จำนวน 4,636 ทีม
- ได้เชิญมาเจรจา 17,770 ปัญหา มูลหนี้ 1,057,248,530 บาท
- ได้ข้อยุติ 13,374 ปัญหา มูลหนี้ 669,218,222 บาท
- ยังไม่ได้ข้อยุติ 4,396 ปัญหา มูลหนี้ 388,030,308 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-