คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการดำเนินงานปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด ครั้งที่ 1(ห้วงระยะเวลา 8 มีนาคม - 5 มิถุนายน 2547) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
1. การป้องกันกลุ่มเสี่ยง ได้จัดค่าย/กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ การหารายได้พิเศษในช่วงปิดภาคเรียน และการจัดระบบเฝ้าระวัง ดังนี้ จัดค่าย/กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ รวม 47,566 ครั้ง หางาน/รายได้พิเศษช่วงปิดภาคเรียน รวม 70,028 ราย จัดระบบเฝ้าระวัง รวม 32,541 ครั้ง
การควบคุมแหล่งแพร่ระบาด ได้มีการตรวจสอบและควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในแหล่งแพร่ระบาดที่สำคัญ ดังนี้
- สถานบริการ สถานบันเทิง ตรวจ 38,887 ครั้ง พบผู้กระทำผิด 366 ราย
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจ 18,998 ครั้ง พบผู้กระทำผิด 61 ราย
- สถานประกอบการ โรงงาน ตรวจ 22,426 ครั้ง พบผู้กระทำผิด 255 ราย
- หอพัก บ้านเช่า ตรวจ 10,551 ครั้ง พบผู้กระทำผิด 171 ราย
- ชุมชนแออัด แหล่งมั่วสุมอื่นๆ ตรวจ 15,973 ครั้ง พบผู้กระทำผิด 140 ราย
การปฏิบัติการในพื้นที่ชุมชนเมือง ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญมีผลการดำเนินการ ดังนี้ กดดัน ค้นหาผู้เกี่ยวข้อง 44,295 ครั้ง นำผู้เสพ/ผู้ติดเข้าบำบัด 5,063 คน นำผู้ค้าเข้าโครงการทำความดีเพื่อแผ่นดิน 854 คนการดำเนินการกับผู้ค้ารายสำคัญ
การดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวม 55 ราย พบผู้ค้ารายสำคัญที่หลงเหลืออยู่ รวม 613 ราย ผู้ค้าเดิมกลับมามีพฤติการณ์ใหม่ รวม 139 ราย จับกุมดำเนินคดีผู้ค้ารายสำคัญ 517 ราย ดำเนินการด้านทรัพย์สิน 94 ราย
2. การดำเนินงานด้านหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการดำรงความเข้มแข็งของพลังแผ่นดินและชุมชนอย่างยั่งยืน กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการจำแนกสถานะของหมู่บ้าน/ชุมชน และกำกับติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ปัญหายาเสพติดในทุกพื้นที่ โดยได้สำรวจเพื่อจำแนกสถานะรอบแรก โดยมีผลการสำรวจ รอบแรกเดือนมีนาคม 2547 ดังนี้
- หมู่บ้าน/ชุมชนประเภท ก (เข้มแข็งมีระบบเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน) จำนวน 23,925 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็น 31.6%
- หมู่บ้าน/ชุมชนประเภท ข (เข้มแข็งและมีระบบเฝ้าระวัง) จำนวน 23,078 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็น 30.5%
- หมู่บ้าน/ชุมชนประเภท ค (เข้มแข็งฯ) จำนวน 27,897 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็น 36.8%
- หมู่บ้าน/ชุมชนประเภท ง (ต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งเป็นกรณีพิเศษ) จำนวน 871 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็น 1.1%
การดำเนินการด้านการพัฒนาพลังแผ่นดิน มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
1. ในช่วงเวลาการปฏิบัติการ ศตส.จังหวัด และ ศตส. กทม. ได้ส่งเสริมการปฏิบัติของผู้ประสานพลังแผ่นดิน 26,640 ครั้ง ดำเนินการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง 30,668 ครั้ง
2. กำหนดเป้าหมายในการจัดตั้งผู้ประสานพลังแผ่นดินเพิ่มเติมไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของจำนวนผู้ประสานพลังแผ่นดินที่มีอยู่ ณ วันที่ 30 เมษายน 2547 (2,830,920 คน)
3. กดดัน ค้นหา ชักจูง ผู้เสพยาเสพติดที่ยังหลงเหลืออยู่ในพื้นที่เพื่อนำเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ และตรวจสอบสถานะความรุนแรงของปัญหาการแพร่ระบาด โดยกำหนดให้มีสัดส่วนของผู้เสพยาเสพติดไม่เกิน 4 คนต่อประชากร 1,000 คน
4. รณรงค์เชิญชวนให้มีการจัดตั้งชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นที่สามัคคีในระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ/เขต เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลในระดับพื้นที่
ผลงานด้านการควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด
การป้องกันตามแนวชายแดน ศตส. จังหวัดตามแนวชายแดนได้เพิ่มความเข้มข้นในการปฏิบัติการ และปรับเปลี่ยนแนวทางในการป้องกันตามแนวชายแดนโดยมีกิจกรรมสำคัญ
การปราบปรามผู้ค้ายาเสพติดรายสำคัญ
- เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2547 ศตส.จ.สมุทรปราการ จับกุม นายบรรหาร ใจแจ่มใสดีเลิศ หรืออาเซิน ได้ของกลางยาบ้า 278,000 เม็ด ยาไอซ์ หรือแอมเฟตามีนบริสุทธิ์ ที่ใช้เป็นสารตั้งต้นประมาณ 15 กิโลกรัม (สามารถผลิตยาบ้าได้จำนวน 1.5 ล้านเม็ด) คิดเป็นมูลค่าตามราคาตลาดประมาณ 540 ล้านบาท หลังจากนั้นได้ขยายผลจับกุมเครือข่ายได้อีกหลายราย
ปฏิบัติการในชุมชนเมือง สำหรับเป้าหมายชุมชนในเขตเมืองทุกเขตได้มีการเร่งรัดดำเนินการสำรวจสภาพปัญหาและประเมินความเข้มแข็ง กดดัน ค้นหา ชักจูง ดำเนินการกับผู้เสพ/ผู้ติด/ผู้ค้า และเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง
การปฏิบัติการด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด ศตส.จังหวัดทุกจังหวัดได้จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ จัดระบบเฝ้าระวังและตรวจสอบควบคุมการแพร่ระบาด
การปฏิบัติการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผลการดำเนินงาน เช่น
- ศตส.จ.ปัตตานี ได้ตรวจสอบ กดดัน ค้นหา และจับกุมผู้ค้ายาเสพติดอย่างเข้มข้นสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้หลายราย อาทิ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2547 ตรวจค้นรถยนต์รับจ้างพบของกลางยาบ้า 2,080 เม็ด ในด้านการป้องกัน ได้เร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน เสริมสร้างมาตราการป้องกันในสถานศึกษาและสถานประกอบการ
- ศตส.จ.ยะลา ได้จัดทำโครงการค่ายเยาวชนห่างไกลยาเสพติด โครงการสานสัมพันธ์ปฏิบัติธรรม (ดาวะห์) สู่ชุมชน โครงการสานดวงใจ ห่วงใยน้อง และโครงการพบปะหน้าเสาธง 5 นาที
- ศตส.จ.นราธิวาส จัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้ประสานพลังแผ่นดิน และกิจกรรมแข่งขันกีฬาต่อต้านยาเสพติด
ศตส.มท. ถือเป็นนโยบายสำคัญให้ ศตส.จังหวัด/อำเภอ ธำรงความเข้มแข็งในภารกิจที่ได้รับในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดควบคู่กับผู้มีอิทธิพล ดังนั้นในการตรวจราชการของผู้บริหารทุกระดับได้มีการเน้นย้ำให้ปฏิบัติการตามแผน มาตรการ การปรับงบประมาณให้สอดคล้องกับงสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในแต่ละพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน จะต้องมีการเฝ้าระวัง มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยให้ผู้ประสานพลังแผ่นดินและชมรมฯ ที่จัดตั้งเป็นแกนหลักในการดูแลระวังป้องกัน เป็นกลไกระดับพื้นที่ ที่รองรับการดำเนินงานของศตส. อำเภอ และจังหวัดตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
1. การป้องกันกลุ่มเสี่ยง ได้จัดค่าย/กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ การหารายได้พิเศษในช่วงปิดภาคเรียน และการจัดระบบเฝ้าระวัง ดังนี้ จัดค่าย/กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ รวม 47,566 ครั้ง หางาน/รายได้พิเศษช่วงปิดภาคเรียน รวม 70,028 ราย จัดระบบเฝ้าระวัง รวม 32,541 ครั้ง
การควบคุมแหล่งแพร่ระบาด ได้มีการตรวจสอบและควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในแหล่งแพร่ระบาดที่สำคัญ ดังนี้
- สถานบริการ สถานบันเทิง ตรวจ 38,887 ครั้ง พบผู้กระทำผิด 366 ราย
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจ 18,998 ครั้ง พบผู้กระทำผิด 61 ราย
- สถานประกอบการ โรงงาน ตรวจ 22,426 ครั้ง พบผู้กระทำผิด 255 ราย
- หอพัก บ้านเช่า ตรวจ 10,551 ครั้ง พบผู้กระทำผิด 171 ราย
- ชุมชนแออัด แหล่งมั่วสุมอื่นๆ ตรวจ 15,973 ครั้ง พบผู้กระทำผิด 140 ราย
การปฏิบัติการในพื้นที่ชุมชนเมือง ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญมีผลการดำเนินการ ดังนี้ กดดัน ค้นหาผู้เกี่ยวข้อง 44,295 ครั้ง นำผู้เสพ/ผู้ติดเข้าบำบัด 5,063 คน นำผู้ค้าเข้าโครงการทำความดีเพื่อแผ่นดิน 854 คนการดำเนินการกับผู้ค้ารายสำคัญ
การดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวม 55 ราย พบผู้ค้ารายสำคัญที่หลงเหลืออยู่ รวม 613 ราย ผู้ค้าเดิมกลับมามีพฤติการณ์ใหม่ รวม 139 ราย จับกุมดำเนินคดีผู้ค้ารายสำคัญ 517 ราย ดำเนินการด้านทรัพย์สิน 94 ราย
2. การดำเนินงานด้านหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการดำรงความเข้มแข็งของพลังแผ่นดินและชุมชนอย่างยั่งยืน กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการจำแนกสถานะของหมู่บ้าน/ชุมชน และกำกับติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ปัญหายาเสพติดในทุกพื้นที่ โดยได้สำรวจเพื่อจำแนกสถานะรอบแรก โดยมีผลการสำรวจ รอบแรกเดือนมีนาคม 2547 ดังนี้
- หมู่บ้าน/ชุมชนประเภท ก (เข้มแข็งมีระบบเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน) จำนวน 23,925 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็น 31.6%
- หมู่บ้าน/ชุมชนประเภท ข (เข้มแข็งและมีระบบเฝ้าระวัง) จำนวน 23,078 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็น 30.5%
- หมู่บ้าน/ชุมชนประเภท ค (เข้มแข็งฯ) จำนวน 27,897 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็น 36.8%
- หมู่บ้าน/ชุมชนประเภท ง (ต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งเป็นกรณีพิเศษ) จำนวน 871 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็น 1.1%
การดำเนินการด้านการพัฒนาพลังแผ่นดิน มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
1. ในช่วงเวลาการปฏิบัติการ ศตส.จังหวัด และ ศตส. กทม. ได้ส่งเสริมการปฏิบัติของผู้ประสานพลังแผ่นดิน 26,640 ครั้ง ดำเนินการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง 30,668 ครั้ง
2. กำหนดเป้าหมายในการจัดตั้งผู้ประสานพลังแผ่นดินเพิ่มเติมไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของจำนวนผู้ประสานพลังแผ่นดินที่มีอยู่ ณ วันที่ 30 เมษายน 2547 (2,830,920 คน)
3. กดดัน ค้นหา ชักจูง ผู้เสพยาเสพติดที่ยังหลงเหลืออยู่ในพื้นที่เพื่อนำเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ และตรวจสอบสถานะความรุนแรงของปัญหาการแพร่ระบาด โดยกำหนดให้มีสัดส่วนของผู้เสพยาเสพติดไม่เกิน 4 คนต่อประชากร 1,000 คน
4. รณรงค์เชิญชวนให้มีการจัดตั้งชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นที่สามัคคีในระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ/เขต เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลในระดับพื้นที่
ผลงานด้านการควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด
การป้องกันตามแนวชายแดน ศตส. จังหวัดตามแนวชายแดนได้เพิ่มความเข้มข้นในการปฏิบัติการ และปรับเปลี่ยนแนวทางในการป้องกันตามแนวชายแดนโดยมีกิจกรรมสำคัญ
การปราบปรามผู้ค้ายาเสพติดรายสำคัญ
- เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2547 ศตส.จ.สมุทรปราการ จับกุม นายบรรหาร ใจแจ่มใสดีเลิศ หรืออาเซิน ได้ของกลางยาบ้า 278,000 เม็ด ยาไอซ์ หรือแอมเฟตามีนบริสุทธิ์ ที่ใช้เป็นสารตั้งต้นประมาณ 15 กิโลกรัม (สามารถผลิตยาบ้าได้จำนวน 1.5 ล้านเม็ด) คิดเป็นมูลค่าตามราคาตลาดประมาณ 540 ล้านบาท หลังจากนั้นได้ขยายผลจับกุมเครือข่ายได้อีกหลายราย
ปฏิบัติการในชุมชนเมือง สำหรับเป้าหมายชุมชนในเขตเมืองทุกเขตได้มีการเร่งรัดดำเนินการสำรวจสภาพปัญหาและประเมินความเข้มแข็ง กดดัน ค้นหา ชักจูง ดำเนินการกับผู้เสพ/ผู้ติด/ผู้ค้า และเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง
การปฏิบัติการด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด ศตส.จังหวัดทุกจังหวัดได้จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ จัดระบบเฝ้าระวังและตรวจสอบควบคุมการแพร่ระบาด
การปฏิบัติการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผลการดำเนินงาน เช่น
- ศตส.จ.ปัตตานี ได้ตรวจสอบ กดดัน ค้นหา และจับกุมผู้ค้ายาเสพติดอย่างเข้มข้นสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้หลายราย อาทิ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2547 ตรวจค้นรถยนต์รับจ้างพบของกลางยาบ้า 2,080 เม็ด ในด้านการป้องกัน ได้เร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน เสริมสร้างมาตราการป้องกันในสถานศึกษาและสถานประกอบการ
- ศตส.จ.ยะลา ได้จัดทำโครงการค่ายเยาวชนห่างไกลยาเสพติด โครงการสานสัมพันธ์ปฏิบัติธรรม (ดาวะห์) สู่ชุมชน โครงการสานดวงใจ ห่วงใยน้อง และโครงการพบปะหน้าเสาธง 5 นาที
- ศตส.จ.นราธิวาส จัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้ประสานพลังแผ่นดิน และกิจกรรมแข่งขันกีฬาต่อต้านยาเสพติด
ศตส.มท. ถือเป็นนโยบายสำคัญให้ ศตส.จังหวัด/อำเภอ ธำรงความเข้มแข็งในภารกิจที่ได้รับในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดควบคู่กับผู้มีอิทธิพล ดังนั้นในการตรวจราชการของผู้บริหารทุกระดับได้มีการเน้นย้ำให้ปฏิบัติการตามแผน มาตรการ การปรับงบประมาณให้สอดคล้องกับงสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในแต่ละพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน จะต้องมีการเฝ้าระวัง มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยให้ผู้ประสานพลังแผ่นดินและชมรมฯ ที่จัดตั้งเป็นแกนหลักในการดูแลระวังป้องกัน เป็นกลไกระดับพื้นที่ ที่รองรับการดำเนินงานของศตส. อำเภอ และจังหวัดตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-