แท็ก
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามแผนพัฒนากฎหมายแห่งชาติ ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2508
2. ปรับปรุงนิยามคำว่า “สถิติ” “สำมะโน” “การสำรวจ” “หน่วยงาน” และ “พนักงานเจ้าหน้าที่” และแก้ไข ชื่อตำแหน่ง “เลขาธิการสถิติแห่งชาติ” เป็น “ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ”
3. กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการดำเนินการเกี่ยวกับสถิติด้านต่าง ๆ ของประเทศ โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
4. กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติต้องจัดทำแผนแม่บท ต้องจัดทำสถิติให้เป็นไปตามแผนกำหนดและดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรฐานสถิติทั่วไป
5. กำหนดให้หน่วยงานที่จะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำสถิติในเรื่องใด ให้แจ้งสำนักงานสถิติแห่งชาติ และเป็นหน่วยงานเดียวที่มีหน้าที่จัดทำสำมะโน หากหน่วยงานใดจะทำสำมะโนในเรื่องใดให้แจ้งสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการพร้อมกับโอนเงินงบประมาณ และให้การสนับสนุนบุคลากรด้วย
6. กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจ
7. กำหนดให้ข้อมูลเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะที่ได้มาต้องถือเป็นความลับ ห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูล และห้าม ไม่ให้นำข้อมูลเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะงานไปใช้ในกิจการซึ่งนอกเหนือจากการทำสถิติ วิเคราะห์ และวิจัย
8. กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่าย หรือค่าบริการจากการให้บริการข้อมูล ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่สำนักงานสถิติแห่งชาติกำหนด
9. กำหนดบทกำหนดโทษแก่ผู้ไม่ให้ข้อมูล การไม่กรอกแบบสอบถาม การไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การให้ข้อมูลเป็นเท็จ การเปิดเผยข้อมูลเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะราย หรือการนำข้อมูลไปใช้ในกิจการอื่นนอกเหนือจากที่กำหนด
10. กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติดำเนินการออกประกาศตามมาตรา 11-ขึ้นแทนภายใน 60 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อมีประกาศดังกล่าวแล้ว ให้พระราชกฤษฎีกาที่ใช้บังคับอยู่เป็นอันยกเลิก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2508
2. ปรับปรุงนิยามคำว่า “สถิติ” “สำมะโน” “การสำรวจ” “หน่วยงาน” และ “พนักงานเจ้าหน้าที่” และแก้ไข ชื่อตำแหน่ง “เลขาธิการสถิติแห่งชาติ” เป็น “ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ”
3. กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการดำเนินการเกี่ยวกับสถิติด้านต่าง ๆ ของประเทศ โดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
4. กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติต้องจัดทำแผนแม่บท ต้องจัดทำสถิติให้เป็นไปตามแผนกำหนดและดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรฐานสถิติทั่วไป
5. กำหนดให้หน่วยงานที่จะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำสถิติในเรื่องใด ให้แจ้งสำนักงานสถิติแห่งชาติ และเป็นหน่วยงานเดียวที่มีหน้าที่จัดทำสำมะโน หากหน่วยงานใดจะทำสำมะโนในเรื่องใดให้แจ้งสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการพร้อมกับโอนเงินงบประมาณ และให้การสนับสนุนบุคลากรด้วย
6. กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจ
7. กำหนดให้ข้อมูลเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะที่ได้มาต้องถือเป็นความลับ ห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูล และห้าม ไม่ให้นำข้อมูลเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะงานไปใช้ในกิจการซึ่งนอกเหนือจากการทำสถิติ วิเคราะห์ และวิจัย
8. กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่าย หรือค่าบริการจากการให้บริการข้อมูล ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่สำนักงานสถิติแห่งชาติกำหนด
9. กำหนดบทกำหนดโทษแก่ผู้ไม่ให้ข้อมูล การไม่กรอกแบบสอบถาม การไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การให้ข้อมูลเป็นเท็จ การเปิดเผยข้อมูลเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะราย หรือการนำข้อมูลไปใช้ในกิจการอื่นนอกเหนือจากที่กำหนด
10. กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติดำเนินการออกประกาศตามมาตรา 11-ขึ้นแทนภายใน 60 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อมีประกาศดังกล่าวแล้ว ให้พระราชกฤษฎีกาที่ใช้บังคับอยู่เป็นอันยกเลิก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--