คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการป้องกันและกำจัดแมลงดำหนามและศัตรูอื่น ๆ ของมะพร้าวของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ แล้วมีมติอนุมัติหลักการโครงการป้องกันและกำจัดแมลงดำหนามและศัตรูอื่น ๆ ของมะพร้าว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าว จำนวน 60,100,000 บาท นั้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจงว่า ในการดำเนินการโครงการแก้ไขการระบาดของแมลงดำหนามและด้วงแรดในมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 นั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการในปี 2548 ไปบางส่วน แต่ยังไม่สามารถทำให้การระบาดของแมลงดำหนามหมดลงได้ สำหรับการดำเนินการในปี 2549 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแต่อย่างใด และเนื่องจากการประเมินผลการดำเนินการป้องกันกำจัดแมลงดำหนามพบว่า มีด้วงแรดและด้วงงวงมะพร้าวเข้าทำลายมะพร้าวมีความรุนแรงมากขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาการป้องกันและกำจัดแมลงดำหนามและศัตรูอื่น ๆ ของมะพร้าว เพื่อควบคุมไม่ให้การแพร่ระบาดขยายตัวอีกต่อไป ดังนี้
1. การสำรวจติดตามสถานการณ์การระบาดแมลงดำหนามได้กำหนดพื้นที่ควบคุมการระบาดแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้
(1) กลุ่มพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง จำนวน 2 จังหวัด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ประมาณ 230,000 ไร่
(2) กลุ่มพื้นที่ที่มีการระบาดปานกลาง จำนวน 3 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช เพชรบุรี และชุมพร พื้นที่ประมาณ 34,000 ไร่
(3) กลุ่มพื้นที่ที่มีการระบาดบางส่วน จำนวน 9 จังหวัด คือ จังหวัดกระบี่ สงขลา ภูเก็ต ปัตตานี ชลบุรี ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และนครปฐม พื้นที่ประมาณ 7,000 ไร่
2. การผลิตและปล่อยแตนเบียน เพื่อให้กำจัดแมลงดำหนามให้ครอบคลุมพื้นที่ 300,000 ไร่ (ทั้งพื้นที่ที่มีการระบาดและบริเวณขอบพื้นที่ที่มีการระบาด) ต้องผลิตแตนเบียน 1.5 ล้านมัมมี่ โดยได้กำหนดการรับผิดชอบดังนี้ การผลิตแตนเบียน เนื่องจากส่วนราชการมีข้อจำกัดในการผลิตแตนเบียนในเชิงปริมาณ จึงให้เอกชนที่มีความสามารถเข้ามารับช่วงในการผลิต จำนวน 1 ล้านมัมมี่ โดยตั้งเป้าหมายการผลิตรวมทั้งเอกชนและส่วนราชการ ในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2548 — กุมภาพันธ์ 2549 ไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านมัมมี่ ซึ่งจะสามารถครอบคลุมพื้นที่ที่มีการระบาดและป้องกันการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่นรวมประมาณ 300,000 ไร่ โดยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีแผนการผลิตแตนเบียนในช่วงเดือนธันวาคม 2548 — กุมภาพันธ์ 2549 อยู่แล้ว 340,000 มัมมี่ และ 165,000 มัมมี่ ตามลำดับ ส่วนที่เหลืออีก 1 ล้านมัมมี่ ควรจัดจ้างให้ภาคเอกชนผลิต นอกจากนั้นเพื่อที่จะทำการควบคุมมิให้เกิดการระบาดซ้ำขึ้นมาอีก ควรให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมวิชาการเกษตรทำการผลิตเพิ่มอีก 100,000 มัมมี่ เพื่อทำการปล่อยหลังจากการระดมปล่อยแตนเบียนประมาณ 1.5 ล้านมัมมี่แล้ว
(2) การปล่อยแตนเบียน จากการวิเคราะห์พบว่าไม่สามารถปล่อยแตนเบียนทางอากาศได้ จึงต้องทำการปล่อยทางภาคพื้นดินให้กระจายตัวไปตามสวนมะพร้าวที่ถูกทำลายและสวนมะพร้าวข้างเคียง โดยจะมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับจังหวัด-อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิญชวนให้เกษตรกรและประชาชนร่วมกันปล่อยตามกรอบเวลาและแผนงานที่กำหนด
3. การป้องกันกำจัดด้วงแรดและด้วงมะพร้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะร่วมกับจังหวัด- อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่มีการระบาดทำการรณรงค์ให้มีการทำความสะอาดสวนมะพร้าว จัดทำกับดักหนอนของด้วงแรดและทำลายต้นมะพร้าวที่ยืนตายเพื่อทำลายด้วงงวงมะพร้าว เพื่อเป็นการป้องกันและกำจัดในระยะยาวและยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็จะติดตั้งกับดักตัวด้วงแรด โดยใช้สารฟีโรมีนเพื่อลดปริมาณให้หมดไปหรือเหลือน้อยที่สุดจนไม่เป็นอันตรายต่อมะพร้าว
4. การประชาสัมพันธ์และรณรงค์ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินงานกับส่วนราชการในพื้นที่ ในการป้องกันและกำจัดแมลงดำหนามและศัตรูอื่น ๆ ของมะพร้าว เช่น ด้วงแรดและด้วงงวงมะพร้าว
5. การติดตามและเฝ้าระวัง โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์วางระบบร่วมกับหน่วยงานในภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อการติดตามและเฝ้าระวังตลอดจนประเมินผลการดำเนินงานเพื่อประเมินผลการดำเนินงานในช่วงปี 2548/2549 และเฝ้าระวังมิให้มีการระบาดในปีต่อ ๆ ไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 ธันวาคม 2548--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชี้แจงว่า ในการดำเนินการโครงการแก้ไขการระบาดของแมลงดำหนามและด้วงแรดในมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 นั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการในปี 2548 ไปบางส่วน แต่ยังไม่สามารถทำให้การระบาดของแมลงดำหนามหมดลงได้ สำหรับการดำเนินการในปี 2549 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแต่อย่างใด และเนื่องจากการประเมินผลการดำเนินการป้องกันกำจัดแมลงดำหนามพบว่า มีด้วงแรดและด้วงงวงมะพร้าวเข้าทำลายมะพร้าวมีความรุนแรงมากขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาการป้องกันและกำจัดแมลงดำหนามและศัตรูอื่น ๆ ของมะพร้าว เพื่อควบคุมไม่ให้การแพร่ระบาดขยายตัวอีกต่อไป ดังนี้
1. การสำรวจติดตามสถานการณ์การระบาดแมลงดำหนามได้กำหนดพื้นที่ควบคุมการระบาดแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้
(1) กลุ่มพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง จำนวน 2 จังหวัด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ประมาณ 230,000 ไร่
(2) กลุ่มพื้นที่ที่มีการระบาดปานกลาง จำนวน 3 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช เพชรบุรี และชุมพร พื้นที่ประมาณ 34,000 ไร่
(3) กลุ่มพื้นที่ที่มีการระบาดบางส่วน จำนวน 9 จังหวัด คือ จังหวัดกระบี่ สงขลา ภูเก็ต ปัตตานี ชลบุรี ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และนครปฐม พื้นที่ประมาณ 7,000 ไร่
2. การผลิตและปล่อยแตนเบียน เพื่อให้กำจัดแมลงดำหนามให้ครอบคลุมพื้นที่ 300,000 ไร่ (ทั้งพื้นที่ที่มีการระบาดและบริเวณขอบพื้นที่ที่มีการระบาด) ต้องผลิตแตนเบียน 1.5 ล้านมัมมี่ โดยได้กำหนดการรับผิดชอบดังนี้ การผลิตแตนเบียน เนื่องจากส่วนราชการมีข้อจำกัดในการผลิตแตนเบียนในเชิงปริมาณ จึงให้เอกชนที่มีความสามารถเข้ามารับช่วงในการผลิต จำนวน 1 ล้านมัมมี่ โดยตั้งเป้าหมายการผลิตรวมทั้งเอกชนและส่วนราชการ ในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2548 — กุมภาพันธ์ 2549 ไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านมัมมี่ ซึ่งจะสามารถครอบคลุมพื้นที่ที่มีการระบาดและป้องกันการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่นรวมประมาณ 300,000 ไร่ โดยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีแผนการผลิตแตนเบียนในช่วงเดือนธันวาคม 2548 — กุมภาพันธ์ 2549 อยู่แล้ว 340,000 มัมมี่ และ 165,000 มัมมี่ ตามลำดับ ส่วนที่เหลืออีก 1 ล้านมัมมี่ ควรจัดจ้างให้ภาคเอกชนผลิต นอกจากนั้นเพื่อที่จะทำการควบคุมมิให้เกิดการระบาดซ้ำขึ้นมาอีก ควรให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมวิชาการเกษตรทำการผลิตเพิ่มอีก 100,000 มัมมี่ เพื่อทำการปล่อยหลังจากการระดมปล่อยแตนเบียนประมาณ 1.5 ล้านมัมมี่แล้ว
(2) การปล่อยแตนเบียน จากการวิเคราะห์พบว่าไม่สามารถปล่อยแตนเบียนทางอากาศได้ จึงต้องทำการปล่อยทางภาคพื้นดินให้กระจายตัวไปตามสวนมะพร้าวที่ถูกทำลายและสวนมะพร้าวข้างเคียง โดยจะมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับจังหวัด-อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชิญชวนให้เกษตรกรและประชาชนร่วมกันปล่อยตามกรอบเวลาและแผนงานที่กำหนด
3. การป้องกันกำจัดด้วงแรดและด้วงมะพร้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะร่วมกับจังหวัด- อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่มีการระบาดทำการรณรงค์ให้มีการทำความสะอาดสวนมะพร้าว จัดทำกับดักหนอนของด้วงแรดและทำลายต้นมะพร้าวที่ยืนตายเพื่อทำลายด้วงงวงมะพร้าว เพื่อเป็นการป้องกันและกำจัดในระยะยาวและยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็จะติดตั้งกับดักตัวด้วงแรด โดยใช้สารฟีโรมีนเพื่อลดปริมาณให้หมดไปหรือเหลือน้อยที่สุดจนไม่เป็นอันตรายต่อมะพร้าว
4. การประชาสัมพันธ์และรณรงค์ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินงานกับส่วนราชการในพื้นที่ ในการป้องกันและกำจัดแมลงดำหนามและศัตรูอื่น ๆ ของมะพร้าว เช่น ด้วงแรดและด้วงงวงมะพร้าว
5. การติดตามและเฝ้าระวัง โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์วางระบบร่วมกับหน่วยงานในภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อการติดตามและเฝ้าระวังตลอดจนประเมินผลการดำเนินงานเพื่อประเมินผลการดำเนินงานในช่วงปี 2548/2549 และเฝ้าระวังมิให้มีการระบาดในปีต่อ ๆ ไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 ธันวาคม 2548--จบ--