คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรายงานการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการขนาดใหญ่ในสาขาต่าง ๆ ตามภารกิจการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของรัฐบาลและสร้างเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กับประเทศฝรั่งเศส ในลักษณะการค้าต่างตอบแทน มูลค่าโครงการรวม 128 ล้านยูโร (ประมาณ 6,400 ล้านบาท คิดจาก 1 ยูโรเท่ากับ 50 บาท) ระยะเวลาดำเนินงานประมาณ 3 ปีเศษ (กรกฎาคม 2547 — ตุลาคม 2550) โดยกำหนดจะขึ้นสู่วงโคจรราวเดือนกรกฎาคม 2550 ซึ่งข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการเกษตร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาและสำรวจทรัพยากรทางทะเล การติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบสภาพทางธรณีวิทยา การทำแผนที่ การศึกษาทางโบราณคดี รวมทั้งการสำรวจและพัฒนาทรัพยากรน้ำ ขณะนี้ได้ดำเนินการโครงการแล้วใน ส่วนของการออกแบบเบื้องต้นและข้อกำหนดอุปกรณ์การผลิตข้อมูลภาคพื้นดิน ข้อกำหนดความต้องการของระบบและ การติดตั้งสัญญาณรับดาวเทียม SPOT-5 การออกแบบเบื้องต้นของสถานีควบคุมดาวเทียม และการพิจารณาคัดเลือกจรวดนำส่งดาวเทียม นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศฯ ได้สำรวจและคัดเลือกพื้นที่สำหรับการจัดตั้งสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดินแห่งใหม่ในพื้นที่ราชพัสดุบริเวณสถานีดาวเทียม ศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดย คาดว่าจะดำเนินการจัดจ้างการก่อสร้างสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดินในราวเดือนพฤศจิกายน 2548
2. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ดำเนินการโครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรน้ำที่สำคัญ ดังนี้
2.1 โครงการสารสนเทศเพื่อบูรณาการการจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ได้มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ จัดทำแผนโครงการสารสนเทศเพื่อกำหนดแนวทาง การปฏิบัติงาน การบริหารจัดการ การติดตามและประเมินผลเพื่อบูรณาการการจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำปิง และลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก แล้วขอให้ส่งแผนโครงการฯ ไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งมอบหมายให้สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ร่วมกับกรมชลประทาน และผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นเจ้าภาพในการประสานงานในการจัดทำโครงการพัฒนาและสารสนเทศแม่น้ำระยอง เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการงบประมาณ การติดตามและประเมินผลในการกักเก็บน้ำพื้นที่สำรองน้ำ และวิธีการนำน้ำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคแก่ราษฎร ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับการดูแลเรื่องมลพิษทางน้ำอย่างเข้มงวด และให้รายงานความก้าวหน้าทุกระยะ ซึ่งได้นำส่งแผนโครงการสารสนเทศเพื่อบูรณาการการจัดการทรัพยากรน้ำไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เห็นชอบอนุมัติงบกลางปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จากงบกลางเงินสำรองจ่าย จำนวน 1.5 ล้านบาท เพื่อนำไปดำเนินการสำรวจจุดรับน้ำต่าง ๆ (พื้นที่สำรองน้ำแก้มลิง) ของภาคตะวันออก การดำเนินการในระยะต่อไปมีเป้าหมายในการพัฒนาระบบสารสนเทศที่เป็นกลไกการบูรณาการการจัดการทรัพยากรน้ำ การสนับสนุน การดำเนินงานโครงการ และการประเมินผลสำเร็จของโครงการต่าง ๆ รวมทั้งภาพรวมทั้งระบบพื้นที่เป้าหมาย ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
2.2 รายงานการจัดทำข้อมูล GIS และภาพดาวเทียม เกี่ยวกับน้ำท่วมปี 2548 ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) มีบัญชาให้ขอความอนุเคราะห์กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จัดทำภาพถ่ายดาวเทียมเกี่ยวกับน้ำท่วมในจังหวัดต่าง ๆ ในระหว่างช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงตุลาคม 2548 พร้อมทั้งการแปลภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อจะได้นำมาประกอบการประชุมการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ซึ่งสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรได้รับข้อมูลการวิเคราะห์สภาพน้ำท่วมจากภาพถ่ายดาวเทียม RADARSAT, LANDSAT , SPOT จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ ฯ และได้ดำเนินการแล้วเสร็จ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กับประเทศฝรั่งเศส ในลักษณะการค้าต่างตอบแทน มูลค่าโครงการรวม 128 ล้านยูโร (ประมาณ 6,400 ล้านบาท คิดจาก 1 ยูโรเท่ากับ 50 บาท) ระยะเวลาดำเนินงานประมาณ 3 ปีเศษ (กรกฎาคม 2547 — ตุลาคม 2550) โดยกำหนดจะขึ้นสู่วงโคจรราวเดือนกรกฎาคม 2550 ซึ่งข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการเกษตร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาและสำรวจทรัพยากรทางทะเล การติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบสภาพทางธรณีวิทยา การทำแผนที่ การศึกษาทางโบราณคดี รวมทั้งการสำรวจและพัฒนาทรัพยากรน้ำ ขณะนี้ได้ดำเนินการโครงการแล้วใน ส่วนของการออกแบบเบื้องต้นและข้อกำหนดอุปกรณ์การผลิตข้อมูลภาคพื้นดิน ข้อกำหนดความต้องการของระบบและ การติดตั้งสัญญาณรับดาวเทียม SPOT-5 การออกแบบเบื้องต้นของสถานีควบคุมดาวเทียม และการพิจารณาคัดเลือกจรวดนำส่งดาวเทียม นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศฯ ได้สำรวจและคัดเลือกพื้นที่สำหรับการจัดตั้งสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดินแห่งใหม่ในพื้นที่ราชพัสดุบริเวณสถานีดาวเทียม ศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดย คาดว่าจะดำเนินการจัดจ้างการก่อสร้างสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดินในราวเดือนพฤศจิกายน 2548
2. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ดำเนินการโครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรน้ำที่สำคัญ ดังนี้
2.1 โครงการสารสนเทศเพื่อบูรณาการการจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ได้มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ จัดทำแผนโครงการสารสนเทศเพื่อกำหนดแนวทาง การปฏิบัติงาน การบริหารจัดการ การติดตามและประเมินผลเพื่อบูรณาการการจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำปิง และลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก แล้วขอให้ส่งแผนโครงการฯ ไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งมอบหมายให้สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ร่วมกับกรมชลประทาน และผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นเจ้าภาพในการประสานงานในการจัดทำโครงการพัฒนาและสารสนเทศแม่น้ำระยอง เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการงบประมาณ การติดตามและประเมินผลในการกักเก็บน้ำพื้นที่สำรองน้ำ และวิธีการนำน้ำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคแก่ราษฎร ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับการดูแลเรื่องมลพิษทางน้ำอย่างเข้มงวด และให้รายงานความก้าวหน้าทุกระยะ ซึ่งได้นำส่งแผนโครงการสารสนเทศเพื่อบูรณาการการจัดการทรัพยากรน้ำไปยังสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เห็นชอบอนุมัติงบกลางปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จากงบกลางเงินสำรองจ่าย จำนวน 1.5 ล้านบาท เพื่อนำไปดำเนินการสำรวจจุดรับน้ำต่าง ๆ (พื้นที่สำรองน้ำแก้มลิง) ของภาคตะวันออก การดำเนินการในระยะต่อไปมีเป้าหมายในการพัฒนาระบบสารสนเทศที่เป็นกลไกการบูรณาการการจัดการทรัพยากรน้ำ การสนับสนุน การดำเนินงานโครงการ และการประเมินผลสำเร็จของโครงการต่าง ๆ รวมทั้งภาพรวมทั้งระบบพื้นที่เป้าหมาย ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
2.2 รายงานการจัดทำข้อมูล GIS และภาพดาวเทียม เกี่ยวกับน้ำท่วมปี 2548 ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) มีบัญชาให้ขอความอนุเคราะห์กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จัดทำภาพถ่ายดาวเทียมเกี่ยวกับน้ำท่วมในจังหวัดต่าง ๆ ในระหว่างช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงตุลาคม 2548 พร้อมทั้งการแปลภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อจะได้นำมาประกอบการประชุมการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ซึ่งสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตรได้รับข้อมูลการวิเคราะห์สภาพน้ำท่วมจากภาพถ่ายดาวเทียม RADARSAT, LANDSAT , SPOT จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ ฯ และได้ดำเนินการแล้วเสร็จ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--