คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เสนอ
ทั้งนี้ ในการตรวจราชการดังกล่าว ได้มีการประชุมเน้นย้ำนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย พร้อมกับปฏิบัติภารกิจตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวและรับทราบปัญหาความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ดังนี้
1. ประชุมเน้นย้ำนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดมุกดาหาร โดยมีประเด็นสรุป ดังนี้
1.1 การบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา ได้ดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่ส่วนราชการต่าง ๆ เร่งรัดที่จะดำเนินการตามยุทธศาสตร์จังหวัดกำหนดไว้ และมีความก้าวหน้าไปในระดับหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะเจ้าภาพหลัก ต้องมีความเป็นทั้งนักปกครอง นักบริหาร และนักการตลาด อยู่ในตัวของผู้ว่าราชการจังหวัดเอง และต้องมีความเป็นนักจัดการที่ดี โครงการในด้านต่าง ๆ ของในแต่ละส่วนราชการต้องมีสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน รวมตลอดทั้งต้องนำผลกระทบทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม อุทกภัย หรือภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการตามโครงการต่างๆ มาประกอบการพิจารณาแต่อย่างไรก็ตามการพัฒนา ทั้งทางด้านกายภาพและด้านสังคมต้องดำเนินการอย่างควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างแท้จริง ดังนั้น การบูรณาการการพัฒนาจึงเป็นการบูรณาการทุกภาคส่วน ไม่เฉพาะการบูรณาการด้านพื้นที่เพียงประการเดียว ต้องบูรณาการโดยนำวิถีชีวิตของคนในสังคมมาพิจารณาควบคู่กันไป
1.2 เศรษฐกิจชายแดนประเทศไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การค้าขายชายแดน ระหว่าง 2 ประเทศ ให้ใช้ศักยภาพของจังหวัดให้เต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน ลดความหวาดระแวงระหว่างกันและกัน คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ซึ่งในเดือนกรกฎาคม 2547 รัฐบาลจะเริ่มดำเนินการจดทะเบียนคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยเพื่อเป็นการจัดระเบียบแรงงาน ให้สรรหาแนวทางในการเพิ่มมูลค่าของสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล ควรดำเนินการจัดให้มีการคัดเลือกหรือประกวดผู้ผลิตหรือผู้ออกแบบในลักษณะของศิลปินพื้นบ้านหรือหัตถศิลป์ และดำเนินการประชาสัมพันธ์หรือแสดงสัญญลักษณ์ให้เป็นที่ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายนั้น ๆ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบหรือผลิตโดยบุคคลดังกล่าวเพื่อเป็นหลักประกันในคุณภาพ และเป็นการเสริมคุณค่าของผลิตภัณฑ์ การจัดการตลาดการค้าเพิ่มขึ้นเป็นสิ่งที่จำเป็น ต้องเร่งดำเนินการ ซึ่งหากมีการบริหารจัดการที่ดีแล้วความต้องการของผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้น และตลาดการค้าจะวิ่งเข้าสู่แหล่งผลิตเอง
1.3 การแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ แนวคิดหลักของการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ คือการให้โอกาสแก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาสในสังคมที่จะประกอบสัมมาอาชีวะที่ดีและถูกต้อง ลดช่องว่างของสังคม ขจัดการเอารัดเอาเปรียบ การให้โอกาสผู้ด้อยโอกาสให้เข้าสู่แหล่งทุน เพื่อพัฒนาอาชีพเป็นการสร้างเสริมรายได้เป็นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งให้เร่งรัดทำความเข้าใจกับราษฎรในพื้นที่ให้พยายามลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดค่านิยมของประชาชนที่จะรักษาสถานภาพทางสังคมโดยการ สร้างภาระหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แต่ประการใด
1.4 การแก้ไขปัญหายาเสพติด ในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามผู้ค้า และผู้ผลิตยาเสพติดที่ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง และเห็นผลมาแล้ว นั้น ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดไป โดยมีเป้าหมายให้ยาเสพติดหมดไปจากพื้นที่ รักษาไว้ซึ่งความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในพื้นที่ รวมตลอดทั้งการพัฒนาอาชีพเพื่อก่อให้เกิดรายได้ จะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องไม่ดำเนินการด้วยประการใดๆ ที่จะเป็นการสร้างเงื่อนไขหรือปัญหาที่จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชน
1.5 มาตรการประหยัดพลังงาน ได้เน้นย้ำให้จังหวัดทำแผนปฏิบัติการประหยัดพลังงานตามแนวทางของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 โดยกำชับให้ส่วนราชการต่าง ๆ ประหยัดการใช้พลังงานให้ลดลงร้อยละ 10 ในเดือนกรกฎาคม 2547 พร้อมทั้งให้เร่งรัดประชาสัมพันธ์รณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญ และการใช้พลังงานอย่างประหยัด โดยให้ภาคราชการทำเป็นแบบอย่างแก่ประชาชน ในการประหยัดพลังงาน ซึ่งในการดำเนินงานดังกล่าวกระทรวงมหาดไทยได้มีการสั่งการไปยังส่วนราชการสังกัดและจังหวัดทุกจังหวัดให้ดำเนินการแล้ว
2. การปฏิบัติภารกิจตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญและรับทราบปัญหาความต้องการ ของประชาชน โดยสรุป ดังนี้
2.1 การพัฒนาการค้าตามแนวชายแดน ณ ด่านถาวรบ้านปากแซง กิ่งอำเภอนาตาล อำเภอเขมราฐ บริเวณดังกล่าวมีการเดินทางเข้าออกเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างราษฎรฝั่งประเทศไทย และราษฎรเมืองละคอนเพ็ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อนึ่งในการพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนได้รับทราบความต้องการของประชาชนที่ต้องการจะให้ยกฐานะกิ่งอำเภอนาตาลขึ้นเป็นอำเภอเพื่อรองรับการค้าตามแนวชายแดน รวมทั้งการปรับปรุงสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้มีความพร้อมที่จะสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจในอนาคต
2.2 การแก้ไขปัญหายาเสพติด ณ บ้านบุ่งซวย อำเภอเขมราฐ เดิมราษฎรในหมู่บ้านดังกล่าวมีการจำหน่ายยาเสพติดอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสถานที่ตั้งหมู่บ้านติดริมแม่น้ำโขง สะดวกต่อการนำเข้ายาเสพติด ต่อมาประชาคมหมู่บ้านได้ตระหนักถึงปัญหาที่จะนำมาสู่ครอบครัวและชุมชน จึงได้รวมตัวกันทั้งผู้จำหน่ายและผู้เสพจัดตั้งเป็นวิทยากรประจำหมู่บ้านรณรงค์ให้มีการลด ละเลิก จำหน่ายและเสพยาเสพติด โดยได้กลับไปประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา และประมง โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มส่งเสริมช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการประกอบอาชีพด้านต่างๆ รวมตลอดทั้งการเฝ้าระวังในสถานการณ์แพร่ระบาดของยาเสพติด จนกลับกลายเป็นหมู่บ้านเข้มแข็งปลอดยาเสพติด
2.3 โครงการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน กรมที่ดินได้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้กับราษฎรผู้ถือครองที่ดิน ตามหลักฐานใบจอง และ ส.ค.1 จำนวน 97 แปลง เนื้อที่ประมาณ 1,137-1-46 ไร่ ในพื้นที่ อำเภอเขมราฐ โดยได้ร่วมในการแจกโฉนดที่ดินให้แก่ราษฎร ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขมราฐ
2.4 การมอบเบี้ยยังชีพให้แก่คนชรา ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบก กิ่งอำเภอเหล่าเสือโก้ก อำเภอเมืองอุบลราชธานี โดยองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบก ได้สนับสนุนงบประมาณโดยจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้การช่วยเหลือคนชรา ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสในสังคมและผู้ติดเชื้อ HIV ในการนี้ได้ร่วมมอบเบี้ยยังชีพให้แก่ศูนย์การสงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน จำนวน 13 หมู่บ้าน เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ผู้ด้อยโอกาสต่อไป
2.5 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เนื่องจากในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ประชาชนริมฝั่งแม่น้ำมูล ในเขตชุมชนอำเภอเมืองอุบลราชธานี และเขตชุมชนอำเภอวารินชำราบ ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ให้ความช่วยเหลือ โดยในการนี้ได้มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ณ หอประชุมอำเภอวารินชำราบ จำนวนทั้งสิ้น 517 ครอบครัว เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,337,100 บาท และองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 676 ครอบครัว เป็นจำนวนเงิน 772,700 บาท
3. ความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีและแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ร่วมงานเลี้ยงรับรองนายสีเหลือ บุนค้ำ เจ้าแขวงสะหวันนะเขต ณ โรงแรมลายทอง อำเภอเมืองอุบลราชธานี เพื่อกระชับสัมพันธไมตรี และความร่วมมือทางด้านการค้าระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีและแขวงสะหวันนะเขต โดยราษฎรทั้งสองฝ่ายจะใช้จุดผ่อนปรนบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเขมราฐ เป็นช่องทางเข้าออกเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
ทั้งนี้ ในการตรวจราชการดังกล่าว ได้มีการประชุมเน้นย้ำนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย พร้อมกับปฏิบัติภารกิจตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวและรับทราบปัญหาความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ดังนี้
1. ประชุมเน้นย้ำนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดมุกดาหาร โดยมีประเด็นสรุป ดังนี้
1.1 การบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา ได้ดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่ส่วนราชการต่าง ๆ เร่งรัดที่จะดำเนินการตามยุทธศาสตร์จังหวัดกำหนดไว้ และมีความก้าวหน้าไปในระดับหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะเจ้าภาพหลัก ต้องมีความเป็นทั้งนักปกครอง นักบริหาร และนักการตลาด อยู่ในตัวของผู้ว่าราชการจังหวัดเอง และต้องมีความเป็นนักจัดการที่ดี โครงการในด้านต่าง ๆ ของในแต่ละส่วนราชการต้องมีสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน รวมตลอดทั้งต้องนำผลกระทบทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม อุทกภัย หรือภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการตามโครงการต่างๆ มาประกอบการพิจารณาแต่อย่างไรก็ตามการพัฒนา ทั้งทางด้านกายภาพและด้านสังคมต้องดำเนินการอย่างควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างแท้จริง ดังนั้น การบูรณาการการพัฒนาจึงเป็นการบูรณาการทุกภาคส่วน ไม่เฉพาะการบูรณาการด้านพื้นที่เพียงประการเดียว ต้องบูรณาการโดยนำวิถีชีวิตของคนในสังคมมาพิจารณาควบคู่กันไป
1.2 เศรษฐกิจชายแดนประเทศไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การค้าขายชายแดน ระหว่าง 2 ประเทศ ให้ใช้ศักยภาพของจังหวัดให้เต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน ลดความหวาดระแวงระหว่างกันและกัน คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ซึ่งในเดือนกรกฎาคม 2547 รัฐบาลจะเริ่มดำเนินการจดทะเบียนคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทยเพื่อเป็นการจัดระเบียบแรงงาน ให้สรรหาแนวทางในการเพิ่มมูลค่าของสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล ควรดำเนินการจัดให้มีการคัดเลือกหรือประกวดผู้ผลิตหรือผู้ออกแบบในลักษณะของศิลปินพื้นบ้านหรือหัตถศิลป์ และดำเนินการประชาสัมพันธ์หรือแสดงสัญญลักษณ์ให้เป็นที่ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายนั้น ๆ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบหรือผลิตโดยบุคคลดังกล่าวเพื่อเป็นหลักประกันในคุณภาพ และเป็นการเสริมคุณค่าของผลิตภัณฑ์ การจัดการตลาดการค้าเพิ่มขึ้นเป็นสิ่งที่จำเป็น ต้องเร่งดำเนินการ ซึ่งหากมีการบริหารจัดการที่ดีแล้วความต้องการของผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้น และตลาดการค้าจะวิ่งเข้าสู่แหล่งผลิตเอง
1.3 การแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ แนวคิดหลักของการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ คือการให้โอกาสแก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาสในสังคมที่จะประกอบสัมมาอาชีวะที่ดีและถูกต้อง ลดช่องว่างของสังคม ขจัดการเอารัดเอาเปรียบ การให้โอกาสผู้ด้อยโอกาสให้เข้าสู่แหล่งทุน เพื่อพัฒนาอาชีพเป็นการสร้างเสริมรายได้เป็นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งให้เร่งรัดทำความเข้าใจกับราษฎรในพื้นที่ให้พยายามลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดค่านิยมของประชาชนที่จะรักษาสถานภาพทางสังคมโดยการ สร้างภาระหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แต่ประการใด
1.4 การแก้ไขปัญหายาเสพติด ในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามผู้ค้า และผู้ผลิตยาเสพติดที่ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง และเห็นผลมาแล้ว นั้น ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดไป โดยมีเป้าหมายให้ยาเสพติดหมดไปจากพื้นที่ รักษาไว้ซึ่งความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในพื้นที่ รวมตลอดทั้งการพัฒนาอาชีพเพื่อก่อให้เกิดรายได้ จะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องไม่ดำเนินการด้วยประการใดๆ ที่จะเป็นการสร้างเงื่อนไขหรือปัญหาที่จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชน
1.5 มาตรการประหยัดพลังงาน ได้เน้นย้ำให้จังหวัดทำแผนปฏิบัติการประหยัดพลังงานตามแนวทางของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 โดยกำชับให้ส่วนราชการต่าง ๆ ประหยัดการใช้พลังงานให้ลดลงร้อยละ 10 ในเดือนกรกฎาคม 2547 พร้อมทั้งให้เร่งรัดประชาสัมพันธ์รณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญ และการใช้พลังงานอย่างประหยัด โดยให้ภาคราชการทำเป็นแบบอย่างแก่ประชาชน ในการประหยัดพลังงาน ซึ่งในการดำเนินงานดังกล่าวกระทรวงมหาดไทยได้มีการสั่งการไปยังส่วนราชการสังกัดและจังหวัดทุกจังหวัดให้ดำเนินการแล้ว
2. การปฏิบัติภารกิจตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญและรับทราบปัญหาความต้องการ ของประชาชน โดยสรุป ดังนี้
2.1 การพัฒนาการค้าตามแนวชายแดน ณ ด่านถาวรบ้านปากแซง กิ่งอำเภอนาตาล อำเภอเขมราฐ บริเวณดังกล่าวมีการเดินทางเข้าออกเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างราษฎรฝั่งประเทศไทย และราษฎรเมืองละคอนเพ็ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อนึ่งในการพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนได้รับทราบความต้องการของประชาชนที่ต้องการจะให้ยกฐานะกิ่งอำเภอนาตาลขึ้นเป็นอำเภอเพื่อรองรับการค้าตามแนวชายแดน รวมทั้งการปรับปรุงสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้มีความพร้อมที่จะสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจในอนาคต
2.2 การแก้ไขปัญหายาเสพติด ณ บ้านบุ่งซวย อำเภอเขมราฐ เดิมราษฎรในหมู่บ้านดังกล่าวมีการจำหน่ายยาเสพติดอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสถานที่ตั้งหมู่บ้านติดริมแม่น้ำโขง สะดวกต่อการนำเข้ายาเสพติด ต่อมาประชาคมหมู่บ้านได้ตระหนักถึงปัญหาที่จะนำมาสู่ครอบครัวและชุมชน จึงได้รวมตัวกันทั้งผู้จำหน่ายและผู้เสพจัดตั้งเป็นวิทยากรประจำหมู่บ้านรณรงค์ให้มีการลด ละเลิก จำหน่ายและเสพยาเสพติด โดยได้กลับไปประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา และประมง โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มส่งเสริมช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการประกอบอาชีพด้านต่างๆ รวมตลอดทั้งการเฝ้าระวังในสถานการณ์แพร่ระบาดของยาเสพติด จนกลับกลายเป็นหมู่บ้านเข้มแข็งปลอดยาเสพติด
2.3 โครงการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน กรมที่ดินได้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้กับราษฎรผู้ถือครองที่ดิน ตามหลักฐานใบจอง และ ส.ค.1 จำนวน 97 แปลง เนื้อที่ประมาณ 1,137-1-46 ไร่ ในพื้นที่ อำเภอเขมราฐ โดยได้ร่วมในการแจกโฉนดที่ดินให้แก่ราษฎร ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขมราฐ
2.4 การมอบเบี้ยยังชีพให้แก่คนชรา ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบก กิ่งอำเภอเหล่าเสือโก้ก อำเภอเมืองอุบลราชธานี โดยองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบก ได้สนับสนุนงบประมาณโดยจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้การช่วยเหลือคนชรา ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสในสังคมและผู้ติดเชื้อ HIV ในการนี้ได้ร่วมมอบเบี้ยยังชีพให้แก่ศูนย์การสงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน จำนวน 13 หมู่บ้าน เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ผู้ด้อยโอกาสต่อไป
2.5 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เนื่องจากในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ประชาชนริมฝั่งแม่น้ำมูล ในเขตชุมชนอำเภอเมืองอุบลราชธานี และเขตชุมชนอำเภอวารินชำราบ ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ให้ความช่วยเหลือ โดยในการนี้ได้มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ณ หอประชุมอำเภอวารินชำราบ จำนวนทั้งสิ้น 517 ครอบครัว เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,337,100 บาท และองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 676 ครอบครัว เป็นจำนวนเงิน 772,700 บาท
3. ความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีและแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ร่วมงานเลี้ยงรับรองนายสีเหลือ บุนค้ำ เจ้าแขวงสะหวันนะเขต ณ โรงแรมลายทอง อำเภอเมืองอุบลราชธานี เพื่อกระชับสัมพันธไมตรี และความร่วมมือทางด้านการค้าระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีและแขวงสะหวันนะเขต โดยราษฎรทั้งสองฝ่ายจะใช้จุดผ่อนปรนบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเขมราฐ เป็นช่องทางเข้าออกเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-