คณะรัฐมนตรี อนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้
1. ให้บริษัท Anzoil (Thailand) Pty.Ltd. เลื่อนการปฏิบัติงานเจาะสำรวจ 1 หลุม ในแปลง B7/38 ในอ่าวไทย ออกไปอีก 10 เดือน จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2457 และรับทราบการเปลี่ยนชื่อบริษัทจากบริษัท Anzoil (Thailand) Pty.Ltd. เป็นบริษัท Black Swan Petroleum Pty.Ltd. โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2546
2. ให้กระทรวงพลังงาน ออกสัมปทานปิโตรเลียมเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ของสัมปทานปิโตรเลียม เลขที่1/2542/57 เพื่ออนุมัติการดำเนินการตามข้อ 1
กระทรวงพลังงานรายงานว่า บริษัท Anzoil (Thailand) Pty.Ltd. ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม เลขที่1/2542/57 ได้มีหนังสือลงวันที่ 1 ธันวาคม 2546 6 มกราคม 2547 และ 5 เมษายน 2547 แจ้งขอเลื่อนการดำเนินงานสำรวจปิโตรเลียมตามข้อผูกพันในช่วงที่หนึ่ง ปีที่สามของแปลง B7/38 ในอ่าวไทย คือการเจาะหลุมสำรวจ 1 หลุม ค่าใช้จ่าย 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะต้องดำเนินงานภายใน วันที่ 2 มีนาคม 2547 ออกไปอีก 10 เดือน จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547 เนื่องจากบริษัทฯ ได้นำการประมวลผลข้อมูลการสำรวจวัดความไหวสะเทือนบริเวณโครงสร้างหงส์ฟ้าและขุนทอง ในแปลงดังกล่าวมาประมวลผลข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการกำหนดหลุมเจาะที่เหมาะสม จึงต้องใช้เวลาในการเตรียมการเจาะเพิ่มขึ้น รวมทั้งได้ขอเปลี่ยนชื่อบริษัทจากบริษัท Anzoil (Thailand) Pty.Ltd. เป็นบริษัท Black Swan Petroleum Pty.Ltd. โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2546
กระทรวงพลังงาน ได้พิจารณาประกอบความเห็นของคณะกรรมการปิโตรเลียมแล้ว เห็นว่าการที่บริษัทผู้รับสัมปทาน ไม่สามารถเจาะหลุมสำรวจ 1 หลุม ได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้รับสัมปทานทำให้ต้องศึกษาข้อมูลเดิมเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถกำหนดหลุมเจาะที่แม่นยำ และเพิ่มโอกาสในการพบปิโตรเลียม อีกทั้งการเจาะหลุมสำรวจจะทำให้ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแปลง B7/38 อยู่ใกล้เคียงกับแปลง B6/27 (แหล่งนางนวล) ของบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด การเจาะหลุมสำรวจในแปลง B7/38 จะทำให้ภาพรวมของการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยตอนกลางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้มีแผนการดำเนินงานต่าง ๆ ในช่วงระยะเวลาที่ขออนุมัติให้เลื่อนการปฏิบัติงาน (มีนาคม-ธันวาคม 2547) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความตั้งใจที่จะทำการเจาะหลุมสำรวจ อีกทั้งการพิจารณาให้บริษัทฯ เลื่อนการเจาะสำรวจดังกล่าว จะเป็นการแสดงให้เห็นว่าทางราชการได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการดำเนินงานด้านสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานและพยายามที่จะให้งานดำเนินไปโดยสะดวก ราบรื่น และเกิดประโยชน์แก่รัฐ รวมทั้งเพิ่มโอกาสที่จะพบปิโตรเลียมมากขึ้น จึงเห็นควรอนุมัติให้ตามที่บริษัทฯ เสนอขอ และโดยที่พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 22 (1) กำหนดให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจให้สัมปทานปิโตรเลียม โดยนัยดังกล่าวก็ควรอนุญาตให้แก้ไขข้อผูกพันในสัมปทานปิโตรเลียมได้ในกรณีที่เหตุอันควร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ให้บริษัท Anzoil (Thailand) Pty.Ltd. เลื่อนการปฏิบัติงานเจาะสำรวจ 1 หลุม ในแปลง B7/38 ในอ่าวไทย ออกไปอีก 10 เดือน จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2457 และรับทราบการเปลี่ยนชื่อบริษัทจากบริษัท Anzoil (Thailand) Pty.Ltd. เป็นบริษัท Black Swan Petroleum Pty.Ltd. โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2546
2. ให้กระทรวงพลังงาน ออกสัมปทานปิโตรเลียมเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ของสัมปทานปิโตรเลียม เลขที่1/2542/57 เพื่ออนุมัติการดำเนินการตามข้อ 1
กระทรวงพลังงานรายงานว่า บริษัท Anzoil (Thailand) Pty.Ltd. ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม เลขที่1/2542/57 ได้มีหนังสือลงวันที่ 1 ธันวาคม 2546 6 มกราคม 2547 และ 5 เมษายน 2547 แจ้งขอเลื่อนการดำเนินงานสำรวจปิโตรเลียมตามข้อผูกพันในช่วงที่หนึ่ง ปีที่สามของแปลง B7/38 ในอ่าวไทย คือการเจาะหลุมสำรวจ 1 หลุม ค่าใช้จ่าย 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะต้องดำเนินงานภายใน วันที่ 2 มีนาคม 2547 ออกไปอีก 10 เดือน จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547 เนื่องจากบริษัทฯ ได้นำการประมวลผลข้อมูลการสำรวจวัดความไหวสะเทือนบริเวณโครงสร้างหงส์ฟ้าและขุนทอง ในแปลงดังกล่าวมาประมวลผลข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการกำหนดหลุมเจาะที่เหมาะสม จึงต้องใช้เวลาในการเตรียมการเจาะเพิ่มขึ้น รวมทั้งได้ขอเปลี่ยนชื่อบริษัทจากบริษัท Anzoil (Thailand) Pty.Ltd. เป็นบริษัท Black Swan Petroleum Pty.Ltd. โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2546
กระทรวงพลังงาน ได้พิจารณาประกอบความเห็นของคณะกรรมการปิโตรเลียมแล้ว เห็นว่าการที่บริษัทผู้รับสัมปทาน ไม่สามารถเจาะหลุมสำรวจ 1 หลุม ได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้รับสัมปทานทำให้ต้องศึกษาข้อมูลเดิมเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถกำหนดหลุมเจาะที่แม่นยำ และเพิ่มโอกาสในการพบปิโตรเลียม อีกทั้งการเจาะหลุมสำรวจจะทำให้ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแปลง B7/38 อยู่ใกล้เคียงกับแปลง B6/27 (แหล่งนางนวล) ของบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด การเจาะหลุมสำรวจในแปลง B7/38 จะทำให้ภาพรวมของการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยตอนกลางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้มีแผนการดำเนินงานต่าง ๆ ในช่วงระยะเวลาที่ขออนุมัติให้เลื่อนการปฏิบัติงาน (มีนาคม-ธันวาคม 2547) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความตั้งใจที่จะทำการเจาะหลุมสำรวจ อีกทั้งการพิจารณาให้บริษัทฯ เลื่อนการเจาะสำรวจดังกล่าว จะเป็นการแสดงให้เห็นว่าทางราชการได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการดำเนินงานด้านสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของผู้รับสัมปทานและพยายามที่จะให้งานดำเนินไปโดยสะดวก ราบรื่น และเกิดประโยชน์แก่รัฐ รวมทั้งเพิ่มโอกาสที่จะพบปิโตรเลียมมากขึ้น จึงเห็นควรอนุมัติให้ตามที่บริษัทฯ เสนอขอ และโดยที่พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 22 (1) กำหนดให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจให้สัมปทานปิโตรเลียม โดยนัยดังกล่าวก็ควรอนุญาตให้แก้ไขข้อผูกพันในสัมปทานปิโตรเลียมได้ในกรณีที่เหตุอันควร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-