เรื่อง การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding , MOU)
โครงการความร่วมมือกับศูนย์วิจัยภายใต้รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ และสถาบันเทคโนโลยี
แห่งเอเชีย
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบบันทึกความเข้าใจ ( Memorandum of Understanding , MOU) โครงการความร่วมมือกับศูนย์วิจัยภายใต้รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขที่เห็นควรให้มีผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุขร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการดำเนินงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมในลุ่มแม่น้ำท่าจีนไปดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานว่า ศูนย์วิจัยภายใต้รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ (NCCR N-S) ประสานผ่านทางสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และได้ประชุมปรึกษาหารือร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2546 และมีมติที่ประชุมเห็นชอบที่จะให้มีการดำเนินโครงการศึกษาวิจัยร่วมกัน โดยในระยะแรกจะเป็นโครงการจัดทำกลยุทธ์ในการจัดการน้ำเสียในลุ่มน้ำท่าจีน และจะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางใช้ในการดำเนินงานต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความเห็นว่า ร่างบันทึกความเข้าใจนี้ไม่มีลักษณะเป็นความตกลงระหว่างประเทศตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 แต่เป็นการทำสัญญาทั่วไประหว่างหน่วยงานของรัฐบาลไทย ศูนย์วิจัยภายใต้รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และสัญญาดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายภายใน
โครงการจัดทำกลยุทธ์ในการจัดการน้ำเสียในลุ่มน้ำท่าจีน มีขอบเขตของการร่วมมือสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้1. การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กรมควบคุมมลพิษจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับลุ่มน้ำท่าจีนเพื่องานวิจัยทางด้านสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำท่าจีน โดย NCCR N-S จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งแก่บุคคล หรือหน่วยงานอื่นอย่างเด็ดขาดก่อนที่จะได้รับความเห็นชอบจากกรมควบคุมมลพิษ2. NCCR N-S จะให้การสนับสนุนแก่กรมควบคุมมลพิษ ตามที่ร้องขอในด้านที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชน บ้านเรือน และหลักการวิเคราะห์ความแปรผันเคลื่อนที่ของมวลสารวัสดุในพื้นที่ศึกษา
3. ในการดำเนินงานจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน โดยได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่าย ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากกรมควบคุมมลพิษ NCCR N-S และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยจะทำหน้าที่หลักในการจัดตั้งและตรวจสอบความก้าวหน้าของกิจกรรมการศึกษาวิจัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
โครงการความร่วมมือกับศูนย์วิจัยภายใต้รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ และสถาบันเทคโนโลยี
แห่งเอเชีย
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบบันทึกความเข้าใจ ( Memorandum of Understanding , MOU) โครงการความร่วมมือกับศูนย์วิจัยภายใต้รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขที่เห็นควรให้มีผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุขร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการดำเนินงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมในลุ่มแม่น้ำท่าจีนไปดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานว่า ศูนย์วิจัยภายใต้รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ (NCCR N-S) ประสานผ่านทางสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และได้ประชุมปรึกษาหารือร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2546 และมีมติที่ประชุมเห็นชอบที่จะให้มีการดำเนินโครงการศึกษาวิจัยร่วมกัน โดยในระยะแรกจะเป็นโครงการจัดทำกลยุทธ์ในการจัดการน้ำเสียในลุ่มน้ำท่าจีน และจะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางใช้ในการดำเนินงานต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความเห็นว่า ร่างบันทึกความเข้าใจนี้ไม่มีลักษณะเป็นความตกลงระหว่างประเทศตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 แต่เป็นการทำสัญญาทั่วไประหว่างหน่วยงานของรัฐบาลไทย ศูนย์วิจัยภายใต้รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และสัญญาดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายภายใน
โครงการจัดทำกลยุทธ์ในการจัดการน้ำเสียในลุ่มน้ำท่าจีน มีขอบเขตของการร่วมมือสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้1. การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กรมควบคุมมลพิษจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับลุ่มน้ำท่าจีนเพื่องานวิจัยทางด้านสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำท่าจีน โดย NCCR N-S จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งแก่บุคคล หรือหน่วยงานอื่นอย่างเด็ดขาดก่อนที่จะได้รับความเห็นชอบจากกรมควบคุมมลพิษ2. NCCR N-S จะให้การสนับสนุนแก่กรมควบคุมมลพิษ ตามที่ร้องขอในด้านที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชน บ้านเรือน และหลักการวิเคราะห์ความแปรผันเคลื่อนที่ของมวลสารวัสดุในพื้นที่ศึกษา
3. ในการดำเนินงานจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน โดยได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่าย ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากกรมควบคุมมลพิษ NCCR N-S และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยจะทำหน้าที่หลักในการจัดตั้งและตรวจสอบความก้าวหน้าของกิจกรรมการศึกษาวิจัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-