คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง บริเวณหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
1. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้แจ้งเทศบาลตำบลหน้าพระลานและองค์การบริหารส่วนตำบลหน้าพระลาน ดำเนินการเฝ้าระวังมิให้มีการทำเหมืองผิดกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 และจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองบริเวณหน้าพระลานบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการที่จังหวัดสระบุรี และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และกรมควบคุมมลพิษ ได้ร่วมกันจัดทำรายละเอียด เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 จากนั้นจะนำแผนปฏิบัติการ ฯ เสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา และมอบให้หน่วยงานดำเนินการจัดตั้งงบประมาณตามขั้นตอน ซึ่งกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นจะพิจารณาเสนอขอตั้งงบประมาณตามขั้นตอนต่อไปด้วย
2. จังหวัดสระบุรี ได้รายงานสรุปผลปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองบริเวณหน้าพระลาน ดังนี้
2.1 ได้ตรวจสอบและดำเนินคดีเกี่ยวกับการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้อย่างต่อเนื่อง คือ
1) เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2547 จังหวัดสระบุรีร่วมกับรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุก ระเบิด และย่อยหิน ของพื้นที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด สระบุรี เขาใหญ่ พื้นที่บริษัทหินอ่อน จำกัด และพื้นที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิลานิล ในท้องที่ตำบล หน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยทำการตรวจยึดอุปกรณ์การกระทำความผิด พร้อมดำเนินคดีฐานก่นสร้าง แผ้วถางป่า หรือเผาป่า หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 รวม 3 แปลง
2) เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547 ได้ให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ตรวจสอบและดำเนินคดีข้อหาเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง ทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลาย เพื่อทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และข้อหาก่นสร้าง แผ้วถางหรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 จำนวน 4 แปลง ในบริเวณผาเขายอดเอียง หมู่ที่ 5 ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ แปลงที่หนึ่งเนื้อที่ 77-0-01 ไร่ แปลงที่สอง เนื้อที่ 99-3-90 ไร่ แปลงที่สาม เนื้อที่ 21-1-64 ไร่ แปลงที่สี่ เนื้อที่ 9-3-00 ไร่ ซึ่งทุกแปลงได้แจ้งความดำเนินคดีไว้ที่ สภ.ต.หน้าพระลาน
3) เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 ได้ให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ตรวจสอบและดำเนินคดีข้อหาเข้าไป ยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้าง ทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลาย เพื่อทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และข้อหาก่นสร้าง แผ้วถางหรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า ตามพระราช-บัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 จำนวน 2 แปลง คือ บริเวณผาเขาอ้ายก้าน หมู่ที่ 6 ต.พุคำจาน อ.พระพุทธบาท เนื้อที่ 95-1-00 ไร่ แจ้งความดำเนินคดีที่ สภ.อ.พระพุทธบาท และบริเวณหุบเขาอีมด หมู่ที่ 3 ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ เนื้อที่ 25-2-00 ไร่ แจ้งความดำเนินคดีที่ สภ.ต.หน้าพระลาน
2.2 สั่งการโรงงานโม่ บด และย่อยหิน ระงับการเดินเครื่องจักร โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 37 วรรค หนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ให้ระงับการเดินเครื่องจักรในส่วนที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง และทำการปรับปรุงระบบป้องกันกำจัดฝุ่นละอองในกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพเป็นเวลา 60 วัน จนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 ได้สั่งให้โรงงานระงับการเดินเครื่องจักรแล้ว จำนวน 31 แห่ง
2.3 สั่งการโรงงานโม่ บด และย่อยหิน แก้ไขปรับปรุงระบบ โดยเสนอแผนการจัดการฝุ่นละอองการจัดทำลานล้างล้อรถยนต์ การทำความสะอาดเครื่องจักร การทำแนวคันดินปลูกต้นไม้ ติดตั้งมาตรวัดปริมาณการใช้น้ำ ระงับปรับปรุงการใช้ถนนภายในโรงงาน สำหรับโรงงานที่ไม่ได้ประกอบกิจการมาเป็นเวลา 10 เดือน และไม่ประสงค์จะดำเนินการผลิต ก็ให้ยื่นขอหยุดกิจการ ซึ่งนับแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2547 ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 ได้สั่งให้โรงงานแก้ไขปรับปรุงแล้ว รวม 27 แห่ง
2.4 การจัดทำแผนฟื้นฟูเหมืองหินรกร้างบริเวณหน้าพระลาน เพื่อนำไปประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษ จะดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2547 โดยจังหวัดสระบุรีได้มีหนังสือถึงกรมป่าไม้ขอรับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญไปช่วยเหลือในการสำรวจแปรข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศกับข้อมูลแผนที่แสดงประทานบัตรของอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
2.5 การตรวจสอบ ควบคุมการใช้วัตถุระเบิดในกิจการ โม่ บด และย่อยหิน ของสถานประกอบการได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแลการใช้วัตถุระเบิด และให้นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบ ควบคุมปริมาณการใช้ การขนย้าย การเก็บรักษา ให้เป็นไปตามที่ทางราชการอนุญาตโดยเคร่งครัด ทั้งต้นทางและปลายทาง (กรณีขนย้าย) ให้ถูกต้องตรงกัน กำชับให้อำเภอท้องที่ ตรวจสอบ ควบคุมให้มีการระเบิดหิน ของเหมืองหินต่าง ๆ ให้ตรงตามเวลาที่กำหนด ( ในแต่ละวัน ) เพื่อไม่ให้ราษฎรเดือดร้อน พร้อมกับได้กำหนดให้อำเภอท้องที่จัดทำแผนการตรวจสอบการใช้วัตถุระเบิดสำหรับกิจการโรงโม่บดและย่อยหินให้เป็นที่ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้ และมีการตั้งด่านตรวจสภาพ ยานพาหนะและการขนส่ง มิให้มีการทำวัสดุร่วงหล่นและเกิดฝุ่นละอองบนพื้นถนน
สำหรับความคืบหน้าของการดำเนินงานในขั้นต่อไป กระทรวงมหาดไทยจะได้นำเสนอตามห้วงเวลาที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
1. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้แจ้งเทศบาลตำบลหน้าพระลานและองค์การบริหารส่วนตำบลหน้าพระลาน ดำเนินการเฝ้าระวังมิให้มีการทำเหมืองผิดกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 และจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองบริเวณหน้าพระลานบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการที่จังหวัดสระบุรี และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และกรมควบคุมมลพิษ ได้ร่วมกันจัดทำรายละเอียด เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 จากนั้นจะนำแผนปฏิบัติการ ฯ เสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา และมอบให้หน่วยงานดำเนินการจัดตั้งงบประมาณตามขั้นตอน ซึ่งกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นจะพิจารณาเสนอขอตั้งงบประมาณตามขั้นตอนต่อไปด้วย
2. จังหวัดสระบุรี ได้รายงานสรุปผลปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองบริเวณหน้าพระลาน ดังนี้
2.1 ได้ตรวจสอบและดำเนินคดีเกี่ยวกับการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้อย่างต่อเนื่อง คือ
1) เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2547 จังหวัดสระบุรีร่วมกับรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุก ระเบิด และย่อยหิน ของพื้นที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด สระบุรี เขาใหญ่ พื้นที่บริษัทหินอ่อน จำกัด และพื้นที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิลานิล ในท้องที่ตำบล หน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยทำการตรวจยึดอุปกรณ์การกระทำความผิด พร้อมดำเนินคดีฐานก่นสร้าง แผ้วถางป่า หรือเผาป่า หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 รวม 3 แปลง
2) เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547 ได้ให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ตรวจสอบและดำเนินคดีข้อหาเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง ทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลาย เพื่อทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และข้อหาก่นสร้าง แผ้วถางหรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 จำนวน 4 แปลง ในบริเวณผาเขายอดเอียง หมู่ที่ 5 ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ แปลงที่หนึ่งเนื้อที่ 77-0-01 ไร่ แปลงที่สอง เนื้อที่ 99-3-90 ไร่ แปลงที่สาม เนื้อที่ 21-1-64 ไร่ แปลงที่สี่ เนื้อที่ 9-3-00 ไร่ ซึ่งทุกแปลงได้แจ้งความดำเนินคดีไว้ที่ สภ.ต.หน้าพระลาน
3) เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 ได้ให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ตรวจสอบและดำเนินคดีข้อหาเข้าไป ยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้าง ทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลาย เพื่อทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และข้อหาก่นสร้าง แผ้วถางหรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่า ตามพระราช-บัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 จำนวน 2 แปลง คือ บริเวณผาเขาอ้ายก้าน หมู่ที่ 6 ต.พุคำจาน อ.พระพุทธบาท เนื้อที่ 95-1-00 ไร่ แจ้งความดำเนินคดีที่ สภ.อ.พระพุทธบาท และบริเวณหุบเขาอีมด หมู่ที่ 3 ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ เนื้อที่ 25-2-00 ไร่ แจ้งความดำเนินคดีที่ สภ.ต.หน้าพระลาน
2.2 สั่งการโรงงานโม่ บด และย่อยหิน ระงับการเดินเครื่องจักร โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 37 วรรค หนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ให้ระงับการเดินเครื่องจักรในส่วนที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง และทำการปรับปรุงระบบป้องกันกำจัดฝุ่นละอองในกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพเป็นเวลา 60 วัน จนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 ได้สั่งให้โรงงานระงับการเดินเครื่องจักรแล้ว จำนวน 31 แห่ง
2.3 สั่งการโรงงานโม่ บด และย่อยหิน แก้ไขปรับปรุงระบบ โดยเสนอแผนการจัดการฝุ่นละอองการจัดทำลานล้างล้อรถยนต์ การทำความสะอาดเครื่องจักร การทำแนวคันดินปลูกต้นไม้ ติดตั้งมาตรวัดปริมาณการใช้น้ำ ระงับปรับปรุงการใช้ถนนภายในโรงงาน สำหรับโรงงานที่ไม่ได้ประกอบกิจการมาเป็นเวลา 10 เดือน และไม่ประสงค์จะดำเนินการผลิต ก็ให้ยื่นขอหยุดกิจการ ซึ่งนับแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2547 ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 ได้สั่งให้โรงงานแก้ไขปรับปรุงแล้ว รวม 27 แห่ง
2.4 การจัดทำแผนฟื้นฟูเหมืองหินรกร้างบริเวณหน้าพระลาน เพื่อนำไปประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษ จะดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2547 โดยจังหวัดสระบุรีได้มีหนังสือถึงกรมป่าไม้ขอรับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญไปช่วยเหลือในการสำรวจแปรข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศกับข้อมูลแผนที่แสดงประทานบัตรของอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
2.5 การตรวจสอบ ควบคุมการใช้วัตถุระเบิดในกิจการ โม่ บด และย่อยหิน ของสถานประกอบการได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแลการใช้วัตถุระเบิด และให้นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบ ควบคุมปริมาณการใช้ การขนย้าย การเก็บรักษา ให้เป็นไปตามที่ทางราชการอนุญาตโดยเคร่งครัด ทั้งต้นทางและปลายทาง (กรณีขนย้าย) ให้ถูกต้องตรงกัน กำชับให้อำเภอท้องที่ ตรวจสอบ ควบคุมให้มีการระเบิดหิน ของเหมืองหินต่าง ๆ ให้ตรงตามเวลาที่กำหนด ( ในแต่ละวัน ) เพื่อไม่ให้ราษฎรเดือดร้อน พร้อมกับได้กำหนดให้อำเภอท้องที่จัดทำแผนการตรวจสอบการใช้วัตถุระเบิดสำหรับกิจการโรงโม่บดและย่อยหินให้เป็นที่ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้ และมีการตั้งด่านตรวจสภาพ ยานพาหนะและการขนส่ง มิให้มีการทำวัสดุร่วงหล่นและเกิดฝุ่นละอองบนพื้นถนน
สำหรับความคืบหน้าของการดำเนินงานในขั้นต่อไป กระทรวงมหาดไทยจะได้นำเสนอตามห้วงเวลาที่กำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-