คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานผลการเดินทางตรวจราชการต่างจังหวัดของนายกรัฐมนตรีเพื่อติดตามนการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้านต่าง ๆ รวมทั้งยุทธศาสตร์ในภูมิภาค เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน 2547 ณ จังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี สรุปได้ดังนี้
1. จังหวัดสุพรรณบุรี ประสบปัญหา 5 เรื่อง คือ
1.1 ปัญหาน้ำท่วม อ.สองพี่น้อง และ อ.บางปลาม้า นายกรัฐมนตรีได้เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วม 2 แนวทาง คือ
1) ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นธรรมชาติของน้ำที่จะไหลมาสู่พื้นที่ที่ต่ำ จะขอให้มีการถ่ายภาพทางดาวเทียม และให้กรมชลประทานกำหนดจุดต่ำสุดของพื้นที่เพื่อทำอ่างเก็บน้ำ โดยอาจมีการขอซื้อที่ดินจากประชาชนในบริเวณนั้น เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้ตลอดปี
2) ทำอ่างเก็บน้ำที่ต้นทาง แล้วนำพื้นที่ลุ่มมาปลูกปาล์ม เนื่องจากปาล์มเป็นพืชที่ชอบน้ำ และขณะนี้รัฐบาลกำลังส่งเสริมในเรื่องไบโอดีเซล นอกจากนี้ ปาล์มยังมีราคาสูงกว่าข้าว แต่ใช้เวลา 5 ปี ซึ่งช่วงที่ปาล์มยังใช้ไม่ได้รัฐบาลจะชดเชยรายได้ให้ก่อน นายกรัฐมนตรีจะมอบหมายให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมบริเวณนี้
1.2 โครงการพัฒนาและอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน ขณะนี้ประสบภาวะเสื่อมโทรม เนื่องจากมีการระบายน้ำทิ้งจากการทำเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาดูแล โดยอาจมีการจัดทำบ่อบำบัดน้ำเสียและจะกำจัดผักตบชวาที่มีจำนวนมาก อย่างเร่งด่วนโดยมอบหมายให้หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา มาดำเนินการและให้กรมโยธาธิการและผังเมืองนำเรือเก็บกวาดผักตบชวามาประจำที่จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1 ลำ จากนั้นให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาสอนในเรื่องการนำผักตบชวามาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือปุ๋ยชีวภาพ
1.3 ปัญหาประชาชนเป็นหนี้นอกระบบ นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวไม่สามารถยกเลิกการเป็นหนี้ได้ เพราะจะทำให้ระบบเสียหายทั้งประเทศ แต่จะใช้วิธีย้ายหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ในระบบที่มีดอกเบี้ยต่ำลงหรือขยายเวลาการจ่ายหนี้ออกไป รวมทั้งมีการเจรจาลดหนี้ อย่างไรก็ตามประชาชนต้องหาวิธีสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และใช้จ่ายให้น้อยลงด้วย
1.4 การช่วยเหลือเกษตรกรจากไข้หวัดนกระบาด ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณในการช่วยเหลือไปเรียบร้อยแล้ว
1.5 ปัญหาไฟฟ้าไม่พอใช้ ในหมู่ที่ 6 ต.บางเลน อ.สองพี่น้อง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เลี้ยงไก่เป็นจำนวนมาก และมีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามาก สำหรับเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ประสานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
2. จังหวัดกาญจนบุรี ประสบปัญหา 7 เรื่อง คือ
2.1 การพัฒนาพื้นที่ชายแดนบ้านพุร้อนให้เป็นจุดผ่อนปรนทางการค้า นายกรัฐมนตรีได้หารือกับ นายกรัฐมนตรีพม่าในเรื่องการพัฒนาพื้นที่บริเวณเมืองทวายกับมะริด ซึ่งจะมีโครงการก่อสร้างสนามบินที่ทวาย ทำให้สามารถบินตรงจากรุงเทพฯ ถึงทะวายผ่านกาญจนบุรี ซึ่งหากโครงการนี้แล้วเสร็จก็จะส่งผลให้กาญจนบุรีเจริญตามไปด้วย ส่วนจุดผ่อนปรนจะเป็นจุดผ่านแดนถาวร ถ้าถนนแล้วเสร็จ
2.2 โครงการเมืองใหม่กาญจนบุรี นายกรัฐมนตรี ขอเวลาศึกษาข้อมูลก่อน เนื่องจากการสร้างเมืองใหม่ต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนแสนล้านบาท
2.3 การพัฒนาเส้นทางการจราจร นายกรัฐมนตรีแสดงความเห็นด้วยว่ามีความเป็นไปได้ เพราะจะใช้เป็นเส้นทางจากกรุงเทพฯ มากาญจนบุรีได้ด้วย ใช้เวลาเพียง 1.20 ชั่วโมงเท่านั้น และมอบหมายให้กรมทางหลวงพิจารณาว่าได้มีการจัดสรรงบประมาณไว้หรือไม่
2.4 โครงการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์บริเวณแหลมถั่วงอก นายกรัฐมนตรีให้ความสนใจเพราะมีพื้นที่ที่สามารถพัฒนาได้เป็นจำนวนถึง 200 ไร่ และมอบหมายให้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นองค์กรมหาชน เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม
2.5 การพัฒนาลุ่มน้ำห้วยตะเพิน นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมืองและกรมชลประทาน นำข้อมูลการใช้น้ำทั้งระบบของจังหวัดกาญจนบุรีไปพิจารณา
2.6 ปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกิน ได้มอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรี(พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับจังหวัดและประชาชน
2.7 เรื่องที่ราษฎรร้องเรียน นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลแก้ไขปัญหา และรัฐบาลได้จัดสรรงบพัฒนาให้กับจังหวัดแล้ว ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ของประชาชนได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
1. จังหวัดสุพรรณบุรี ประสบปัญหา 5 เรื่อง คือ
1.1 ปัญหาน้ำท่วม อ.สองพี่น้อง และ อ.บางปลาม้า นายกรัฐมนตรีได้เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วม 2 แนวทาง คือ
1) ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นธรรมชาติของน้ำที่จะไหลมาสู่พื้นที่ที่ต่ำ จะขอให้มีการถ่ายภาพทางดาวเทียม และให้กรมชลประทานกำหนดจุดต่ำสุดของพื้นที่เพื่อทำอ่างเก็บน้ำ โดยอาจมีการขอซื้อที่ดินจากประชาชนในบริเวณนั้น เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้ตลอดปี
2) ทำอ่างเก็บน้ำที่ต้นทาง แล้วนำพื้นที่ลุ่มมาปลูกปาล์ม เนื่องจากปาล์มเป็นพืชที่ชอบน้ำ และขณะนี้รัฐบาลกำลังส่งเสริมในเรื่องไบโอดีเซล นอกจากนี้ ปาล์มยังมีราคาสูงกว่าข้าว แต่ใช้เวลา 5 ปี ซึ่งช่วงที่ปาล์มยังใช้ไม่ได้รัฐบาลจะชดเชยรายได้ให้ก่อน นายกรัฐมนตรีจะมอบหมายให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมบริเวณนี้
1.2 โครงการพัฒนาและอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน ขณะนี้ประสบภาวะเสื่อมโทรม เนื่องจากมีการระบายน้ำทิ้งจากการทำเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาดูแล โดยอาจมีการจัดทำบ่อบำบัดน้ำเสียและจะกำจัดผักตบชวาที่มีจำนวนมาก อย่างเร่งด่วนโดยมอบหมายให้หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา มาดำเนินการและให้กรมโยธาธิการและผังเมืองนำเรือเก็บกวาดผักตบชวามาประจำที่จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1 ลำ จากนั้นให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาสอนในเรื่องการนำผักตบชวามาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือปุ๋ยชีวภาพ
1.3 ปัญหาประชาชนเป็นหนี้นอกระบบ นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวไม่สามารถยกเลิกการเป็นหนี้ได้ เพราะจะทำให้ระบบเสียหายทั้งประเทศ แต่จะใช้วิธีย้ายหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ในระบบที่มีดอกเบี้ยต่ำลงหรือขยายเวลาการจ่ายหนี้ออกไป รวมทั้งมีการเจรจาลดหนี้ อย่างไรก็ตามประชาชนต้องหาวิธีสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และใช้จ่ายให้น้อยลงด้วย
1.4 การช่วยเหลือเกษตรกรจากไข้หวัดนกระบาด ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณในการช่วยเหลือไปเรียบร้อยแล้ว
1.5 ปัญหาไฟฟ้าไม่พอใช้ ในหมู่ที่ 6 ต.บางเลน อ.สองพี่น้อง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เลี้ยงไก่เป็นจำนวนมาก และมีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามาก สำหรับเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ประสานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
2. จังหวัดกาญจนบุรี ประสบปัญหา 7 เรื่อง คือ
2.1 การพัฒนาพื้นที่ชายแดนบ้านพุร้อนให้เป็นจุดผ่อนปรนทางการค้า นายกรัฐมนตรีได้หารือกับ นายกรัฐมนตรีพม่าในเรื่องการพัฒนาพื้นที่บริเวณเมืองทวายกับมะริด ซึ่งจะมีโครงการก่อสร้างสนามบินที่ทวาย ทำให้สามารถบินตรงจากรุงเทพฯ ถึงทะวายผ่านกาญจนบุรี ซึ่งหากโครงการนี้แล้วเสร็จก็จะส่งผลให้กาญจนบุรีเจริญตามไปด้วย ส่วนจุดผ่อนปรนจะเป็นจุดผ่านแดนถาวร ถ้าถนนแล้วเสร็จ
2.2 โครงการเมืองใหม่กาญจนบุรี นายกรัฐมนตรี ขอเวลาศึกษาข้อมูลก่อน เนื่องจากการสร้างเมืองใหม่ต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนแสนล้านบาท
2.3 การพัฒนาเส้นทางการจราจร นายกรัฐมนตรีแสดงความเห็นด้วยว่ามีความเป็นไปได้ เพราะจะใช้เป็นเส้นทางจากกรุงเทพฯ มากาญจนบุรีได้ด้วย ใช้เวลาเพียง 1.20 ชั่วโมงเท่านั้น และมอบหมายให้กรมทางหลวงพิจารณาว่าได้มีการจัดสรรงบประมาณไว้หรือไม่
2.4 โครงการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์บริเวณแหลมถั่วงอก นายกรัฐมนตรีให้ความสนใจเพราะมีพื้นที่ที่สามารถพัฒนาได้เป็นจำนวนถึง 200 ไร่ และมอบหมายให้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นองค์กรมหาชน เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม
2.5 การพัฒนาลุ่มน้ำห้วยตะเพิน นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมืองและกรมชลประทาน นำข้อมูลการใช้น้ำทั้งระบบของจังหวัดกาญจนบุรีไปพิจารณา
2.6 ปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกิน ได้มอบหมายให้ รองนายกรัฐมนตรี(พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับจังหวัดและประชาชน
2.7 เรื่องที่ราษฎรร้องเรียน นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลแก้ไขปัญหา และรัฐบาลได้จัดสรรงบพัฒนาให้กับจังหวัดแล้ว ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ของประชาชนได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-