คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (ฝ่ายสาธารณสุข การเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เป็นประธานตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
สำหรับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีดังนี้
1. โดยที่ปัจจุบันการระบาดของโรคสัตว์บางชนิดส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น โรคหวัดนกส่งผลกระทบต่อการส่งออกเนื้อไก่ของประเทศ และมีผลต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งสังคมโลกให้ความสำคัญอย่างมาก เป็นต้น ดังนั้นการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อออกมาควบคุมการระบาดของโรคสัตว์บางชนิด โดยเฉพาะเป็ดไล่ทุ่ง ไก่พื้นเมือง จึงควรต้องมีความเข้มงวด เด็ดขาดเป็นลำดับแรก ต่อเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง จึงพิจารณาปรับปรุงตามความเหมาะสมต่อไป
2. คำนิยาม “สัตวแพทย์” ตามกฎหมายเดิมมีความครอบคลุมและเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ อื่นสามารถทำหน้าที่สัตวแพทย์ได้ อันจะเป็นการช่วยสนับสนุนการทำงานของสัตวแพทย์ที่มีจำนวนจำกัดอยู่ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกรณีเมื่อเกิดโรคระบาดสัตว์ ดังนั้น ในชั้นนี้จึงควรให้คงคำนิยามสัตวแพทย์ไว้ตามเดิม
3. เพื่อให้การควบคุมและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคสัตว์ต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงควรกำหนดให้ฝ่ายปกครอง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอสามารถเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายมีอำนาจในการพิจารณาสั่งกัก ควบคุม กำหนดพื้นที่ระบาด หรือสั่งทำลายสัตว์เป็นโรคได้ โดยมีสัตวแพทย์หรือปศุสัตว์เป็นที่ปรึกษาหรือให้การแนะนำ
ทั้งนี้ร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมนิยามสัตว์ชนิดอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในร่างมาตรา 3 (3) คำว่า “ซากสัตว์” “โรคระบาด” “สัตวแพทย์” และเพิ่มนิยาม “พาหนะของโรคระบาด” เครื่องหมายประจำสัตว์ “เขตเฝ้าระวังโรคระบาด” และ “เขตกันชน”
2. ให้อำนาจรัฐมนตรีออกประกาศกำหนดโรคระบาด สัตว์ ซากสัตว์ เขตกันชน เพื่อให้สามารถควบคุมโรคระบาดได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการจ่ายค่าปฏิบัติการ ค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติหน้าที่ของสัตวแพทย์ หรือสารวัตร โดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่าย
3. ให้อำนาจอธิบดีกำหนดการทำเครื่องหมายประจำสัตว์ การตรวจและป้องกันโรคระบาดสัตว์ รวมทั้งกำหนดการหักเงินสินบนและรางวัลนำจับ
4. ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตโรคระบาด เขตเฝ้าระวังโรคระบาดหรือเขตโรคระบาดชั่วคราว เพื่อให้การควบคุมโรคระบาดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. ให้อำนาจสัตวแพทย์ประกาศเขตโรคระบาด เขตเฝ้าระวังโรคระบาดหรือเขตโรคระบาดชั่วคราว การตรวจซากสัตว์ในสถานที่และยานพาหนะ และกักไว้ควบคุมโรคระบาดได้
6. รูปแบบยานพาหนะที่ใช้นำสัตว์หรือซากสัตว์ไปยังท้องที่ต่างจังหวัด ให้มีลักษณะการป้องกันโรคระบาดให้กำหนดโดยกฎกระทรวง
7. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากใบอนุญาตให้นำสัตว์หรือซากสัตว์ผ่านราชอาณาจักรให้กันไว้เป็นทุนค่าใช้จ่ายเพื่อการดังกล่าว จำนวนร้อยละ 50 ของเงินที่เก็บได้
8. ผู้ประสงค์การเลี้ยงช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ไก่ เป็ด ห่าน นก สุนัข และแมว หรือสัตว์อื่นที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องปฏิบัติตามระบบการป้องกันโรคระบาด
9. ปรับปรุงอัตราโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--
สำหรับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีดังนี้
1. โดยที่ปัจจุบันการระบาดของโรคสัตว์บางชนิดส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น โรคหวัดนกส่งผลกระทบต่อการส่งออกเนื้อไก่ของประเทศ และมีผลต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งสังคมโลกให้ความสำคัญอย่างมาก เป็นต้น ดังนั้นการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อออกมาควบคุมการระบาดของโรคสัตว์บางชนิด โดยเฉพาะเป็ดไล่ทุ่ง ไก่พื้นเมือง จึงควรต้องมีความเข้มงวด เด็ดขาดเป็นลำดับแรก ต่อเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง จึงพิจารณาปรับปรุงตามความเหมาะสมต่อไป
2. คำนิยาม “สัตวแพทย์” ตามกฎหมายเดิมมีความครอบคลุมและเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ อื่นสามารถทำหน้าที่สัตวแพทย์ได้ อันจะเป็นการช่วยสนับสนุนการทำงานของสัตวแพทย์ที่มีจำนวนจำกัดอยู่ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกรณีเมื่อเกิดโรคระบาดสัตว์ ดังนั้น ในชั้นนี้จึงควรให้คงคำนิยามสัตวแพทย์ไว้ตามเดิม
3. เพื่อให้การควบคุมและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคสัตว์ต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงควรกำหนดให้ฝ่ายปกครอง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอสามารถเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายมีอำนาจในการพิจารณาสั่งกัก ควบคุม กำหนดพื้นที่ระบาด หรือสั่งทำลายสัตว์เป็นโรคได้ โดยมีสัตวแพทย์หรือปศุสัตว์เป็นที่ปรึกษาหรือให้การแนะนำ
ทั้งนี้ร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมนิยามสัตว์ชนิดอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในร่างมาตรา 3 (3) คำว่า “ซากสัตว์” “โรคระบาด” “สัตวแพทย์” และเพิ่มนิยาม “พาหนะของโรคระบาด” เครื่องหมายประจำสัตว์ “เขตเฝ้าระวังโรคระบาด” และ “เขตกันชน”
2. ให้อำนาจรัฐมนตรีออกประกาศกำหนดโรคระบาด สัตว์ ซากสัตว์ เขตกันชน เพื่อให้สามารถควบคุมโรคระบาดได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการจ่ายค่าปฏิบัติการ ค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติหน้าที่ของสัตวแพทย์ หรือสารวัตร โดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่าย
3. ให้อำนาจอธิบดีกำหนดการทำเครื่องหมายประจำสัตว์ การตรวจและป้องกันโรคระบาดสัตว์ รวมทั้งกำหนดการหักเงินสินบนและรางวัลนำจับ
4. ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตโรคระบาด เขตเฝ้าระวังโรคระบาดหรือเขตโรคระบาดชั่วคราว เพื่อให้การควบคุมโรคระบาดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. ให้อำนาจสัตวแพทย์ประกาศเขตโรคระบาด เขตเฝ้าระวังโรคระบาดหรือเขตโรคระบาดชั่วคราว การตรวจซากสัตว์ในสถานที่และยานพาหนะ และกักไว้ควบคุมโรคระบาดได้
6. รูปแบบยานพาหนะที่ใช้นำสัตว์หรือซากสัตว์ไปยังท้องที่ต่างจังหวัด ให้มีลักษณะการป้องกันโรคระบาดให้กำหนดโดยกฎกระทรวง
7. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากใบอนุญาตให้นำสัตว์หรือซากสัตว์ผ่านราชอาณาจักรให้กันไว้เป็นทุนค่าใช้จ่ายเพื่อการดังกล่าว จำนวนร้อยละ 50 ของเงินที่เก็บได้
8. ผู้ประสงค์การเลี้ยงช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ไก่ เป็ด ห่าน นก สุนัข และแมว หรือสัตว์อื่นที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องปฏิบัติตามระบบการป้องกันโรคระบาด
9. ปรับปรุงอัตราโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--