คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานผลตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษฉบับแรกของไทย สรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้
1. รายงานผลตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) ฉบับแรกของประเทศไทย มีองค์ประกอบ 5 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 การประเมินการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของไทย สามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยากจน ความหิวโหย ความเท่าเทียมทางเพศ การต่อสู้กับโรคเอดส์ มาลาเรีย และการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด และใกล้จะบรรลุเป้าหมายในด้านการศึกษา นอกจากนี้ ยังมีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายด้านการต่อสู้กับวัณโรค การยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรในชุมชนแออัด และการรักษา/ลดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ส่วนที่ 2 การกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในที่ประชุมองค์การสหประชาชาติ โดยมีแนวคิดดังนี้
1) เนื่องจากประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านการพัฒนาคนระดับปานกลาง และสามารถบรรลุเป้าหมายหรือมีแนวโน้มสูงที่จะบรรลุเป้าหมาย MDGs ตามที่สหประชาชาติกำหนด จึงริเริ่มกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ท้าทายมากขึ้น โดยกำหนดเป็นเป้าหมาย MDG Plus (MDG+target) พร้อมนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
2) ขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีความสนใจที่จะติดตามผลการพัฒนาในเชิงลึกมากกว่าแนวทางที่สหประชาชาติกำหนดไว้เป็นขั้นพื้นฐาน อาทิ การพิจารณาความก้าวหน้าด้านคุณภาพควบคู่กับความสำเร็จด้านปริมาณหรือการให้ความสำคัญกับประชากรบางกลุ่มหรือพื้นที่บางแห่งที่ยังล้าหลัง ประเทศไทยจึงกำหนดตัวชี้วัด MDG Plus (MDG+indicators) พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการติดตามผลการพัฒนาในมิติดังกล่าว
ส่วนที่ 3 ผลการพัฒนาตามเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ ที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติเพื่อใช้เปรียบเทียบความก้าวหน้าหรือล้าหลังในมิติต่าง ๆ กับเป้าหมายที่ประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมกันกำหนด พร้อมกับกำหนดจุดเน้นและยุทธศาสตร์ในการพัฒนา เพื่อปรับปรุงแก้ไขหรือเร่งรัดให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
ส่วนที่ 4 บทบาทประเทศไทยในฐานะภาคีการพัฒนาระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับรูปแบบความสัมพันธ์จากแบบ "ผู้ให้-ผู้รับความช่วยเหลือ" เป็นแบบ "หุ้นส่วนความรู้เพื่อการพัฒนา" การขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาค การขยายการค้าและการลงทุนซึ่งจะมีผลส่งเสริมเป้าประสงค์การพัฒนาแห่งสหัสวรรษในมิติต่างๆ ตลอดจนบทบาทในการริเริ่ม และสนับสนุนความร่วมมือระดับภูมิภาคและระดับโลก
ส่วนที่ 5 สรุปประเด็นท้าทายที่สำคัญ ได้แก่ ความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายผลของการพัฒนาระหว่างพื้นที่และประชากรกลุ่มต่าง ๆ ความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องพัฒนาคุณภาพบริการทางสังคมหลายด้าน เช่น การศึกษาและสาธารณสุข เป็นต้น การพัฒนาระบบธรรมาภิบาลทั้งภาครัฐและเอกชน การกระจายอำนาจให้องค์กรท้องถิ่นมีบทบาทในการตัดสินใจและให้บริการประชาชนอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
2. การดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษทั้ง 7 เป้าหมายหลักภายในปี พ.ศ. 2558 นี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวง และหน่วยงานต่าง ๆ โดยสรุป ดังนี้ 1) การขจัดความยากจนและความหิวโหย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงมหาดไทย/กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ / กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ / สำนักงานสถิติแห่งชาติ/ กระทรวงสาธารณสุข/กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2) การพัฒนาการศึกษาชั้นประถม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงศึกษาธิการ/กระทรวงมหาดไทย/ สำนักงานสถิติแห่งชาติ / ศูนย์เทคโนโลยีอิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ / กรุงเทพมหานคร 3) การส่งเสริมความเท่าเทียมกันของทางเพศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ/ กระทรวงแรงงาน/ กระทรวงยุติธรรม / สำนักงานสถิติแห่งชาติ / สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 4) การลดอัตราการตายของเด็ก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงบประมาณ / กระทรวงสาธารณสุข / กระทรวงมหาดไทย / สำนักงานสถิติแห่งชาติ / สำนักอนามัย / กรุงเทพมหานคร 5) การพัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงบประมาณ / กระทรวงสาธารณสุข / กระทรวงมหาดไทย / สำนักอนามัย / กรุงเทพมหานคร 6) การป้องกันโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคติดต่ออื่น ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงบประมาณ / กระทรวงสาธารณสุข/ กระทรวงมหาดไทย / สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 7) การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม / กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ / กระทรวงอุตสาหกรรม / กระทรวงพลังงาน
ทั้งนี้ สำนักงานฯ กำหนดจะจัดงานเปิดตัวรายงาน MDGs อย่างเป็นทางการในวันพุธที่ 23 มิถุนายน 2547 เวลา 09.30 - 11.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
1. รายงานผลตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) ฉบับแรกของประเทศไทย มีองค์ประกอบ 5 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 การประเมินการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของไทย สามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยากจน ความหิวโหย ความเท่าเทียมทางเพศ การต่อสู้กับโรคเอดส์ มาลาเรีย และการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด และใกล้จะบรรลุเป้าหมายในด้านการศึกษา นอกจากนี้ ยังมีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายด้านการต่อสู้กับวัณโรค การยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรในชุมชนแออัด และการรักษา/ลดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ส่วนที่ 2 การกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในที่ประชุมองค์การสหประชาชาติ โดยมีแนวคิดดังนี้
1) เนื่องจากประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านการพัฒนาคนระดับปานกลาง และสามารถบรรลุเป้าหมายหรือมีแนวโน้มสูงที่จะบรรลุเป้าหมาย MDGs ตามที่สหประชาชาติกำหนด จึงริเริ่มกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ท้าทายมากขึ้น โดยกำหนดเป็นเป้าหมาย MDG Plus (MDG+target) พร้อมนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
2) ขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีความสนใจที่จะติดตามผลการพัฒนาในเชิงลึกมากกว่าแนวทางที่สหประชาชาติกำหนดไว้เป็นขั้นพื้นฐาน อาทิ การพิจารณาความก้าวหน้าด้านคุณภาพควบคู่กับความสำเร็จด้านปริมาณหรือการให้ความสำคัญกับประชากรบางกลุ่มหรือพื้นที่บางแห่งที่ยังล้าหลัง ประเทศไทยจึงกำหนดตัวชี้วัด MDG Plus (MDG+indicators) พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการติดตามผลการพัฒนาในมิติดังกล่าว
ส่วนที่ 3 ผลการพัฒนาตามเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ ที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติเพื่อใช้เปรียบเทียบความก้าวหน้าหรือล้าหลังในมิติต่าง ๆ กับเป้าหมายที่ประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมกันกำหนด พร้อมกับกำหนดจุดเน้นและยุทธศาสตร์ในการพัฒนา เพื่อปรับปรุงแก้ไขหรือเร่งรัดให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
ส่วนที่ 4 บทบาทประเทศไทยในฐานะภาคีการพัฒนาระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับรูปแบบความสัมพันธ์จากแบบ "ผู้ให้-ผู้รับความช่วยเหลือ" เป็นแบบ "หุ้นส่วนความรู้เพื่อการพัฒนา" การขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาค การขยายการค้าและการลงทุนซึ่งจะมีผลส่งเสริมเป้าประสงค์การพัฒนาแห่งสหัสวรรษในมิติต่างๆ ตลอดจนบทบาทในการริเริ่ม และสนับสนุนความร่วมมือระดับภูมิภาคและระดับโลก
ส่วนที่ 5 สรุปประเด็นท้าทายที่สำคัญ ได้แก่ ความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายผลของการพัฒนาระหว่างพื้นที่และประชากรกลุ่มต่าง ๆ ความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องพัฒนาคุณภาพบริการทางสังคมหลายด้าน เช่น การศึกษาและสาธารณสุข เป็นต้น การพัฒนาระบบธรรมาภิบาลทั้งภาครัฐและเอกชน การกระจายอำนาจให้องค์กรท้องถิ่นมีบทบาทในการตัดสินใจและให้บริการประชาชนอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
2. การดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษทั้ง 7 เป้าหมายหลักภายในปี พ.ศ. 2558 นี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวง และหน่วยงานต่าง ๆ โดยสรุป ดังนี้ 1) การขจัดความยากจนและความหิวโหย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงมหาดไทย/กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ / กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ / สำนักงานสถิติแห่งชาติ/ กระทรวงสาธารณสุข/กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2) การพัฒนาการศึกษาชั้นประถม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงศึกษาธิการ/กระทรวงมหาดไทย/ สำนักงานสถิติแห่งชาติ / ศูนย์เทคโนโลยีอิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ / กรุงเทพมหานคร 3) การส่งเสริมความเท่าเทียมกันของทางเพศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ/ กระทรวงแรงงาน/ กระทรวงยุติธรรม / สำนักงานสถิติแห่งชาติ / สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 4) การลดอัตราการตายของเด็ก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงบประมาณ / กระทรวงสาธารณสุข / กระทรวงมหาดไทย / สำนักงานสถิติแห่งชาติ / สำนักอนามัย / กรุงเทพมหานคร 5) การพัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงบประมาณ / กระทรวงสาธารณสุข / กระทรวงมหาดไทย / สำนักอนามัย / กรุงเทพมหานคร 6) การป้องกันโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคติดต่ออื่น ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงบประมาณ / กระทรวงสาธารณสุข/ กระทรวงมหาดไทย / สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 7) การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม / กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ / กระทรวงอุตสาหกรรม / กระทรวงพลังงาน
ทั้งนี้ สำนักงานฯ กำหนดจะจัดงานเปิดตัวรายงาน MDGs อย่างเป็นทางการในวันพุธที่ 23 มิถุนายน 2547 เวลา 09.30 - 11.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-