คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานความก้าวหน้าการสร้างงานและอาชีพใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำเดือนพฤษภาคม 2547 ดังนี้
ด้านการส่งเสริม และพัฒนาอาชีพ รวมทั้งการสร้างรายได้
1. ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ของทั้ง 3 จังหวัด จำนวน 10-14 กลุ่ม หมุนเวียนนำสินค้ามาจำหน่ายที่ห้างโลตัสและห้างแม็คโคร อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อให้สินค้าของกลุ่มแม่บ้านและกลุ่มผู้ผลิตในท้องถิ่นมีช่องทางการจำหน่ายและสร้างรายได้สู่ชุมชนมากขึ้น
2. นำกลุ่มผู้ผลิตสินค้าของทั้ง 3 จังหวัด ไปร่วมแสดงและจำหน่ายในงาน OTOP ไทย- อินโดจีน ที่บริเวณทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี นอกจากนี้ได้นำกลุ่มผู้ผลิตสินค้าท้องถิ่นทั้ง 3 จังหวัดที่มีศักยภาพในการส่งสินค้า ไปจำหน่ายต่างประเทศได้เข้าร่วมงานแสดงและจำหน่ายในงานที่กรมส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการจำหน่ายออกต่างประเทศด้วย เช่น งาน BIG&BIH 2004 (Bangkok International Gift Fair 2004 (BIG) and Bangkok International Houseware Fair 2004 (BIH) ) ระหว่างวันที่ 20-24 เมษายน 2547 ณ อิมแพค เมืองทองธานี
3. หน่วยงานกระทรวงพาณิชย์ที่จังหวัดยะลาได้เจรจากับบริษัท เอส.แอล ไทยอินเตอร์ เอ็กปอร์ต จำกัด เพื่อรับซื้อหมวกกะปิเยาะห์ จากกลุ่มผู้ผลิต 9 กลุ่ม ส่งไปจำหน่ายในประเทศซาอุดิอาระเบียและตะวันออกกลาง นอกจากนี้หน่วยงานในจังหวัดนราธิวาสได้เตรียมการนำสินค้า OTOP ประเภทเครื่องแต่งกายมุสลิมไปจำหน่ายที่ประเทศมาเลเซียตามยุทธศาสตร์จังหวัด และหน่วยงานใน 3 จังหวัด อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนา Web Site OTOP ของจังหวัด เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าของจังหวัดให้เป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น
4. กิจกรรมด้านการพัฒนาความรู้และทักษะโดยการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานแก่ประชาชน กระทรวงพาณิชย์ได้เน้นด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และคุณภาพ บรรจุภัณฑ์และการตลาด ให้กับผู้ผลิตสินค้าท้องถิ่นทั้ง 3 จังหวัดด้วย
ด้านการส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้า
1. ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการร้านค้าปลีกเพื่อช่วยให้การประกอบธุรกิจของประชาชนมีความมั่นคงและเศรษฐกิจของจังหวัดมีการหมุนเวียนเติบโต โดยการช่วยพัฒนาด้านการวางระบบการบริหารจัดการและ การตลาดแก่ร้านค้าปลีก รวมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์ตกแต่งร้านบางส่วน ได้ดำเนินการไปแล้ว 8 ร้าน (ที่จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส จังหวัดละ 4 ร้าน)และมีแผนที่จะช่วยเหลือพัฒนาตามความต้องการของผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการต่อไป เนื่องจากอยู่ระหว่างการคัดเลือกอีกจำนวนหนึ่ง
2. จัดประชุมหารือร่วมกันระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการค้าผลไม้และสหกรณ์ฯ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อกันในการร่วมมือกันปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของผลไม้ของจังหวัดยะลา และพัฒนาไปสู่การส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงต่อไปและจะสร้างรายได้เข้าสู่จังหวัดยะลาเพิ่มขึ้นด้วย
ด้านการส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
1. หน่วยงานในจังหวัดยะลา ได้สนับสนุนให้ก่อตั้งชมรมผู้ประกอบการค้าชายแดนจังหวัดยะลา และจัดสัมมนากลุ่มผู้ประกอบการค้าชายแดนจังหวัดยะลา ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยชาวมุสลิม
2. ในส่วนของงานการให้บริการเรื่องการค้าชายแดน กระทรวงพาณิชย์ได้ให้บริการในเรื่องการออกใบอนุญาตต่าง ๆ เช่น การออกใบอนุญาตส่งออกไม้ยางพารา การออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (FORM A,D GSTP,C/O ทั่วไป ฯลฯ) การออกหนังสือรับรองนำเข้าสินค้าเกษตรภายใต้ WTO นอกโควต้า (น้ำมันปาล์ม กระเทียม หอมใหญ่)
ด้านการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคและประชาชน(ด้านราคา ปัญหาการขาดแคลนและการกักตุนสินค้า ด้านการประกันภัย)
1. ได้ดำเนินการตรวจสถานประกอบการค้า กำกับดูแลราคาสินค้า/บริการและการชั่งตวงวัด ดังนี้
1) ออกตรวจสอบการจำหน่ายสินค้าและบริการ และการใช้เครื่องชั่ง ตวงวัด ณ ร้านค้า ตลาดสด โรงสี และผู้ประกอบการค้าพืชไร่ เพื่อเป็นการคุ้มครองประชาชนมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบด้านราคาสินค้าและเครื่องชั่งตวงวัด
2) จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบดูแลเรื่องการจำหน่ายสินค้าเกินราคา การกักตุนสินค้าที่อาจก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนสินค้าและสร้างความเดือนดร้อนแก่ประชาชนอย่างใกล้ชิด ซึ่งไม่พบปัญหาดังกล่าว
3) จัดศูนย์บริการประชาชน (Call Center) รับเรื่องร้องเรียนปัญหาด้านราคาและปริมาณสินค้า
2. การส่งเสริมร้านอาหารปรุงสำเร็จรูป เข้าร่วมโครงการธงฟ้าราคาประหยัด เพื่อจำหน่ายสินค้าราคาถูกให้กับผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย เป็นการบรรเทาปัญหาค่าครองชีพสูงในปี 2547 แล้ว จำนวน 10 ร้านค้า รวมทั้งได้มีการจัดหาสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพราคาประหยัดไปจำหน่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ที่อำเภอเมืองและอำเภอรามัน จังหวัดยะลา ตามโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ และจะดำเนินการในพื้นที่อื่น ๆ ทั้ง 3 จังหวัดต่อไปอย่างต่อเนื่อง
3. ให้การคุ้มครองดูแลผลประโยชน์ของประชาชนในเรื่องการประกันภัยและประกันชีวิต ทั้งในเรื่องการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมข้อพิพาท การร้องเรียนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและพัฒนาตามศักยภาพของจังหวัด
กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอโครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 5 โครงการ ซึ่งอยู่ระหว่างการทำประชามติของจังหวัดในพื้นที่ 3 จังหวัด ดังนี้
1. โครงการจัดตั้งศูนย์รวบรวม และกระจายสินค้าเกษตรระดับอำเภอ โดยดำเนินการในพื้นที่ 3 จังหวัดเป้าหมายรวม 6 แห่ง (ยะลา 3 จุด นราธิวาส 2 จุด และปัตตานี 1 จุด)
2. โครงการศึกษาการจัดสร้างห้องเย็น เพื่อเก็บรักษาผลผลิตด้านการเกษตรของเกษตรกรมิให้เน่าเสียเร็ว
3. โครงการส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้า เพื่อสนับสนุนในด้านการจัดวางระบบบริหารจัดการ การตกแต่งร้าน เป็นต้น
4. โครงการส่งเสริมการประกอบธุรกิจบริการ เน้นในเรื่องการสร้างอาชีพของประชาชนใน 3 จังหวัด เน้นในด้านการธุรกิจแฟรนไชส์ การส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการร้านอาหารเสริมสวย และอู่ซ่อมรถจักรยานยนต์ รวมทั้งการสนับสนุนอุปกรณ์ในการประกอบธุรกิจ
5. โครงการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ มีเป้าหมายเพื่อจัดตั้งศูนย์พัฒนาการตลาดสินค้า OTOP จังหวัดละ 1 ศูนย์ เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ พัฒนาและรับรองมาตรฐาน เป็นต้น ขณะนี้จังหวัดนำผลประชามติของทั้ง 3 จังหวัด มาหาข้อสรุปร่วมกันเมื่อวันที่ 7-9 มิถุนายน 2547 ที่จังหวัดปัตตานี เวทีประชาคมมีความเห็นสนับสนุนโครงการทั้งหมดของกระทรวงพาณิชย์
บุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ฯ
กระทรวงพาณิชย์ได้โยกย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในพื้นที่ฯ โดยเฉพาะคนในพื้นที่แถบนั้นที่มีความสมัครใจและมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2547 แล้ว ทำให้ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัด มีขวัญและกำลังใจดี มีประสิทธิภาพและมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
ด้านการส่งเสริม และพัฒนาอาชีพ รวมทั้งการสร้างรายได้
1. ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ของทั้ง 3 จังหวัด จำนวน 10-14 กลุ่ม หมุนเวียนนำสินค้ามาจำหน่ายที่ห้างโลตัสและห้างแม็คโคร อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อให้สินค้าของกลุ่มแม่บ้านและกลุ่มผู้ผลิตในท้องถิ่นมีช่องทางการจำหน่ายและสร้างรายได้สู่ชุมชนมากขึ้น
2. นำกลุ่มผู้ผลิตสินค้าของทั้ง 3 จังหวัด ไปร่วมแสดงและจำหน่ายในงาน OTOP ไทย- อินโดจีน ที่บริเวณทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี นอกจากนี้ได้นำกลุ่มผู้ผลิตสินค้าท้องถิ่นทั้ง 3 จังหวัดที่มีศักยภาพในการส่งสินค้า ไปจำหน่ายต่างประเทศได้เข้าร่วมงานแสดงและจำหน่ายในงานที่กรมส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการจำหน่ายออกต่างประเทศด้วย เช่น งาน BIG&BIH 2004 (Bangkok International Gift Fair 2004 (BIG) and Bangkok International Houseware Fair 2004 (BIH) ) ระหว่างวันที่ 20-24 เมษายน 2547 ณ อิมแพค เมืองทองธานี
3. หน่วยงานกระทรวงพาณิชย์ที่จังหวัดยะลาได้เจรจากับบริษัท เอส.แอล ไทยอินเตอร์ เอ็กปอร์ต จำกัด เพื่อรับซื้อหมวกกะปิเยาะห์ จากกลุ่มผู้ผลิต 9 กลุ่ม ส่งไปจำหน่ายในประเทศซาอุดิอาระเบียและตะวันออกกลาง นอกจากนี้หน่วยงานในจังหวัดนราธิวาสได้เตรียมการนำสินค้า OTOP ประเภทเครื่องแต่งกายมุสลิมไปจำหน่ายที่ประเทศมาเลเซียตามยุทธศาสตร์จังหวัด และหน่วยงานใน 3 จังหวัด อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนา Web Site OTOP ของจังหวัด เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าของจังหวัดให้เป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น
4. กิจกรรมด้านการพัฒนาความรู้และทักษะโดยการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานแก่ประชาชน กระทรวงพาณิชย์ได้เน้นด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และคุณภาพ บรรจุภัณฑ์และการตลาด ให้กับผู้ผลิตสินค้าท้องถิ่นทั้ง 3 จังหวัดด้วย
ด้านการส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้า
1. ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการร้านค้าปลีกเพื่อช่วยให้การประกอบธุรกิจของประชาชนมีความมั่นคงและเศรษฐกิจของจังหวัดมีการหมุนเวียนเติบโต โดยการช่วยพัฒนาด้านการวางระบบการบริหารจัดการและ การตลาดแก่ร้านค้าปลีก รวมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์ตกแต่งร้านบางส่วน ได้ดำเนินการไปแล้ว 8 ร้าน (ที่จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส จังหวัดละ 4 ร้าน)และมีแผนที่จะช่วยเหลือพัฒนาตามความต้องการของผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการต่อไป เนื่องจากอยู่ระหว่างการคัดเลือกอีกจำนวนหนึ่ง
2. จัดประชุมหารือร่วมกันระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการค้าผลไม้และสหกรณ์ฯ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อกันในการร่วมมือกันปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของผลไม้ของจังหวัดยะลา และพัฒนาไปสู่การส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงต่อไปและจะสร้างรายได้เข้าสู่จังหวัดยะลาเพิ่มขึ้นด้วย
ด้านการส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
1. หน่วยงานในจังหวัดยะลา ได้สนับสนุนให้ก่อตั้งชมรมผู้ประกอบการค้าชายแดนจังหวัดยะลา และจัดสัมมนากลุ่มผู้ประกอบการค้าชายแดนจังหวัดยะลา ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยชาวมุสลิม
2. ในส่วนของงานการให้บริการเรื่องการค้าชายแดน กระทรวงพาณิชย์ได้ให้บริการในเรื่องการออกใบอนุญาตต่าง ๆ เช่น การออกใบอนุญาตส่งออกไม้ยางพารา การออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (FORM A,D GSTP,C/O ทั่วไป ฯลฯ) การออกหนังสือรับรองนำเข้าสินค้าเกษตรภายใต้ WTO นอกโควต้า (น้ำมันปาล์ม กระเทียม หอมใหญ่)
ด้านการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคและประชาชน(ด้านราคา ปัญหาการขาดแคลนและการกักตุนสินค้า ด้านการประกันภัย)
1. ได้ดำเนินการตรวจสถานประกอบการค้า กำกับดูแลราคาสินค้า/บริการและการชั่งตวงวัด ดังนี้
1) ออกตรวจสอบการจำหน่ายสินค้าและบริการ และการใช้เครื่องชั่ง ตวงวัด ณ ร้านค้า ตลาดสด โรงสี และผู้ประกอบการค้าพืชไร่ เพื่อเป็นการคุ้มครองประชาชนมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบด้านราคาสินค้าและเครื่องชั่งตวงวัด
2) จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบดูแลเรื่องการจำหน่ายสินค้าเกินราคา การกักตุนสินค้าที่อาจก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนสินค้าและสร้างความเดือนดร้อนแก่ประชาชนอย่างใกล้ชิด ซึ่งไม่พบปัญหาดังกล่าว
3) จัดศูนย์บริการประชาชน (Call Center) รับเรื่องร้องเรียนปัญหาด้านราคาและปริมาณสินค้า
2. การส่งเสริมร้านอาหารปรุงสำเร็จรูป เข้าร่วมโครงการธงฟ้าราคาประหยัด เพื่อจำหน่ายสินค้าราคาถูกให้กับผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย เป็นการบรรเทาปัญหาค่าครองชีพสูงในปี 2547 แล้ว จำนวน 10 ร้านค้า รวมทั้งได้มีการจัดหาสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพราคาประหยัดไปจำหน่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ที่อำเภอเมืองและอำเภอรามัน จังหวัดยะลา ตามโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ และจะดำเนินการในพื้นที่อื่น ๆ ทั้ง 3 จังหวัดต่อไปอย่างต่อเนื่อง
3. ให้การคุ้มครองดูแลผลประโยชน์ของประชาชนในเรื่องการประกันภัยและประกันชีวิต ทั้งในเรื่องการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมข้อพิพาท การร้องเรียนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและพัฒนาตามศักยภาพของจังหวัด
กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอโครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 5 โครงการ ซึ่งอยู่ระหว่างการทำประชามติของจังหวัดในพื้นที่ 3 จังหวัด ดังนี้
1. โครงการจัดตั้งศูนย์รวบรวม และกระจายสินค้าเกษตรระดับอำเภอ โดยดำเนินการในพื้นที่ 3 จังหวัดเป้าหมายรวม 6 แห่ง (ยะลา 3 จุด นราธิวาส 2 จุด และปัตตานี 1 จุด)
2. โครงการศึกษาการจัดสร้างห้องเย็น เพื่อเก็บรักษาผลผลิตด้านการเกษตรของเกษตรกรมิให้เน่าเสียเร็ว
3. โครงการส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้า เพื่อสนับสนุนในด้านการจัดวางระบบบริหารจัดการ การตกแต่งร้าน เป็นต้น
4. โครงการส่งเสริมการประกอบธุรกิจบริการ เน้นในเรื่องการสร้างอาชีพของประชาชนใน 3 จังหวัด เน้นในด้านการธุรกิจแฟรนไชส์ การส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการร้านอาหารเสริมสวย และอู่ซ่อมรถจักรยานยนต์ รวมทั้งการสนับสนุนอุปกรณ์ในการประกอบธุรกิจ
5. โครงการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ มีเป้าหมายเพื่อจัดตั้งศูนย์พัฒนาการตลาดสินค้า OTOP จังหวัดละ 1 ศูนย์ เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ พัฒนาและรับรองมาตรฐาน เป็นต้น ขณะนี้จังหวัดนำผลประชามติของทั้ง 3 จังหวัด มาหาข้อสรุปร่วมกันเมื่อวันที่ 7-9 มิถุนายน 2547 ที่จังหวัดปัตตานี เวทีประชาคมมีความเห็นสนับสนุนโครงการทั้งหมดของกระทรวงพาณิชย์
บุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ฯ
กระทรวงพาณิชย์ได้โยกย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในพื้นที่ฯ โดยเฉพาะคนในพื้นที่แถบนั้นที่มีความสมัครใจและมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2547 แล้ว ทำให้ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัด มีขวัญและกำลังใจดี มีประสิทธิภาพและมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-