คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ รายงานความคืบหน้าการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย (ครั้งที่ 2) ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2547 ถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2547 ดังนี้
1. การดำเนินงานของกระทรวงมหาดไทย
1.1 กระทรวงมหาดไทย ได้จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนการปฏิบัติงานในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2547 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กทม. ให้กับรองผู้ว่าราชการ หัวหน้าสำนักงานจังหวัด และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นย้ำการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ ในบทบาทการวางระบบการบริหารงานระหว่างส่วนกลางเชื่อมโยงประสานการปฏิบัติงานลงสู่จังหวัด ให้เกิดประสิทธิภาพและเพื่ออำนวยประโยชน์สุขให้เกิดขึ้นกับประชาชนอย่างแท้จริง ในส่วนนโยบายสำคัญได้ให้จังหวัดดำเนินการในส่วนของการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (นอกระบบ) โดยให้เร่งรัดการดำเนินงาน กำหนดเป้าหมายการทำงานชัดเจนให้ลูกหนี้เข้ากระบวนการเจรจาให้ได้ทั้งหมดในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ การใช้หลักเมตตาธรรมในการเจรจารวมทั้งจะใช้การแก้ไขปัญหาสังคมและ ความยากจนเป็นหัวข้อหนึ่งในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการ
1.2 ในการประชุมกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2547 ได้เน้นย้ำผ่านการถ่ายทอดการประชุมด้วยระบบวีดีทัศน์ทางไกล เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ทราบว่า การแก้ไขปัญหาหนี้สิ้นภาคประชาชน (นอกระบบ) เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินงาน จึงขอให้ทุกจังหวัดให้ความสนใจเป็นกรณีพิเศษ โดยให้จังหวัดติดตามและรายงานผลการดำเนินงานของอำเภอ/กิ่งอำเภอ โดยใกล้ชิดหากมีปัญหาอุปสรรค หรือข้อสังเกตอื่นใดรายงานให้กระทรวงมหาดไทย ทราบโดยด่วน
2. ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา
ศตจ.จังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ ได้มีการประชาสัมพันธ์ วางแผนการดำเนินงาน การแบ่งมอบภารกิจ สรุปทวนข้อมูลแล้ว บัดนี้ ศตจ.มท. ได้รับรายงานผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2547 ในภาพรวม ดังนี้
ด้านหนี้สินนอกระบบ ยอดผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการประชาคม ในแบบ สย.6 (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) จำนวน 1,618,565 ปัญหา มูลหนี้ 122,100,992,365 บาท
การดำเนินการเจรจาประนอมหนี้ ศตจ. อำเภอ ได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจา ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
- ได้มีการตั้งทีมเจรจา จำนวน 5,469 ทีม
- ได้เชิญมาเจรจา 196,494 ปัญหา (ร้อยละ 12.14) มูลหนี้ 10,526,255,185 บาท
- ได้ข้อยุติ 146,349 ปัญหา (ร้อยละ 74.48 ที่มาเจรจา) มูลหนี้ 7,426,177,232 บาท
- ยังไม่ได้ข้อยุติ 50,145 ปัญหา (ร้อยละ 25.52 ที่มาเจรจา) มูลหนี้ 3,100,077,953 บาท
จังหวัด / อำเภอ ที่มีจำนวนลูกหนี้ไม่มากนัก กำหนดเป้าหมายให้มีการเจรจาให้แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม ในส่วนอำเภอใหญ่ได้วางแผนให้เสร็จกลางเดือนสิงหาคม
3. การตรวจนิเทศผลการดำเนินงาน
ศตจ.มท. ได้รับรายงานจากจังหวัดยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และจังหวัดขอนแก่น ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินคนยากจน ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนในพื้นที่ ระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2547 เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรค และมอบนโยบายการดำเนินงานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้
- การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ซึ่งต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชนระดับรากหญ้า ควบคู่ไปกับการพัฒนาภาคเอกชน
- การแก้ไขปัญหาให้ใช้ทุกภาคส่วนในจังหวัดร่วมดำเนินงานแบบบูรณาการ
- เน้นย้ำกระบวนการเจรจาหนี้ให้แล้วเสร็จ ภายในสิงหาคม 2547
- การเจรจาหนี้ขอให้ลดเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยให้มากที่สุด
- ในการเจรจาประนอมหนี้ ให้มีการตรวจสอบเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจนก่อนการเจรจาและตรวจสอบมิให้มีการสมยอมกันระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ เพื่อเพิ่มจำนวนเงิน
- คณะเจรจาหนี้มีความสามารถในการต่อรอง ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยน การประนอมหนี้ได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น ระบบเศรษฐกิจ สังคม ฐานะทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้
- กรณีที่เจ้าหนี้ใช้ทนายความเป็นตัวแทนในการเจรจาต่อรอง ให้ ศตจ. จังหวัดประสานอัยการพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจกับกลุ่มทนายความ
- ให้จังหวัดรณรงค์ปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย
- ให้มีการฟื้นฟูหลังการปรับโครงสร้างหนี้ ในการหาอาชีพที่เหมาะสม
- ให้สถาบันการเงินผ่อนปรนหลักเกณฑ์ การรับหนี้นอกระบบ และสนับสนุนแหล่งเงินทุน
ศตจ.มท. ได้แจ้งนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินดังกล่าวข้างต้นให้ ศตจ.จังหวัดทราบ และใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป
4. ข้อสังเกตจากการดำเนินการของ ศตจ. จังหวัด/อำเภอ
ศตจ.มท. ได้ประมวลผลการดำเนินงานของคณะเจรจาประนอมหนี้นอกระบบของ ศตจ.จังหวัด/อำเภอ อาทิเช่น
4.1 ลูกหนี้บางรายขอถอนการรับความช่วยเหลือ เนื่องจากเข้าใจว่า เมื่อมาจดทะเบียนขอรับ ความช่วยเหลือแต่แรกแล้ว รัฐบาลจะเป็นผู้ใช้หนี้แทน รวมทั้งความไม่สะดวกในการเดินทางหรือไม่ได้อยู่ในพื้นที่วันที่อำเภอนัดหมาย ซึ่งมีจำนวนมาก
4.2 ศตจ.อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีแผนการเจรจาประนอมหนี้แล้ว ซึ่งได้ทยอยแจ้งเชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจาประนอมหนี้ ส่วนยอดจำนวนผู้มาเจรจาหนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของทีมเจรจาหนี้
4.3 ศตจ.อำเภอ/กิ่งอำเภอ ได้แจ้งเชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจาประนอมหนี้ บางกรณีมิอาจตรวจสอบจำนวนเงินต้น และดอกเบี้ยที่แท้จริงระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ว่า มีมูลหนี้ทั้งหมดเท่าใด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ไม่สามารถเจรจาประนอมหนี้ได้สำเร็จ
4.4 การนำหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบ ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการได้ใช้เกณฑ์การพิจารณาปกติของธนาคารในการพิจารณาเงินกู้ของลูกหนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ลูกหนี้ไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเข้าสู่ระบบธนาคารได้
4.5 ศตจ.จังหวัดได้มีแผนการฟื้นฟูลูกหนี้หลังการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเน้นการฝึกอาชีพและการประกอบอาชีพที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เช่น การส่งข้อมูลลูกหนี้ที่ต้องการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีวศึกษาจังหวัด วิทยาลัยสารพัดช่าง และการศึกษานอกโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
4.6 จังหวัดในภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางจังหวัด ประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเจรจาประนอมหนี้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
1. การดำเนินงานของกระทรวงมหาดไทย
1.1 กระทรวงมหาดไทย ได้จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนการปฏิบัติงานในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2547 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กทม. ให้กับรองผู้ว่าราชการ หัวหน้าสำนักงานจังหวัด และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นย้ำการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ ในบทบาทการวางระบบการบริหารงานระหว่างส่วนกลางเชื่อมโยงประสานการปฏิบัติงานลงสู่จังหวัด ให้เกิดประสิทธิภาพและเพื่ออำนวยประโยชน์สุขให้เกิดขึ้นกับประชาชนอย่างแท้จริง ในส่วนนโยบายสำคัญได้ให้จังหวัดดำเนินการในส่วนของการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (นอกระบบ) โดยให้เร่งรัดการดำเนินงาน กำหนดเป้าหมายการทำงานชัดเจนให้ลูกหนี้เข้ากระบวนการเจรจาให้ได้ทั้งหมดในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ การใช้หลักเมตตาธรรมในการเจรจารวมทั้งจะใช้การแก้ไขปัญหาสังคมและ ความยากจนเป็นหัวข้อหนึ่งในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการ
1.2 ในการประชุมกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2547 ได้เน้นย้ำผ่านการถ่ายทอดการประชุมด้วยระบบวีดีทัศน์ทางไกล เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ทราบว่า การแก้ไขปัญหาหนี้สิ้นภาคประชาชน (นอกระบบ) เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินงาน จึงขอให้ทุกจังหวัดให้ความสนใจเป็นกรณีพิเศษ โดยให้จังหวัดติดตามและรายงานผลการดำเนินงานของอำเภอ/กิ่งอำเภอ โดยใกล้ชิดหากมีปัญหาอุปสรรค หรือข้อสังเกตอื่นใดรายงานให้กระทรวงมหาดไทย ทราบโดยด่วน
2. ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา
ศตจ.จังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ ได้มีการประชาสัมพันธ์ วางแผนการดำเนินงาน การแบ่งมอบภารกิจ สรุปทวนข้อมูลแล้ว บัดนี้ ศตจ.มท. ได้รับรายงานผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2547 ในภาพรวม ดังนี้
ด้านหนี้สินนอกระบบ ยอดผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการประชาคม ในแบบ สย.6 (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) จำนวน 1,618,565 ปัญหา มูลหนี้ 122,100,992,365 บาท
การดำเนินการเจรจาประนอมหนี้ ศตจ. อำเภอ ได้เชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจา ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
- ได้มีการตั้งทีมเจรจา จำนวน 5,469 ทีม
- ได้เชิญมาเจรจา 196,494 ปัญหา (ร้อยละ 12.14) มูลหนี้ 10,526,255,185 บาท
- ได้ข้อยุติ 146,349 ปัญหา (ร้อยละ 74.48 ที่มาเจรจา) มูลหนี้ 7,426,177,232 บาท
- ยังไม่ได้ข้อยุติ 50,145 ปัญหา (ร้อยละ 25.52 ที่มาเจรจา) มูลหนี้ 3,100,077,953 บาท
จังหวัด / อำเภอ ที่มีจำนวนลูกหนี้ไม่มากนัก กำหนดเป้าหมายให้มีการเจรจาให้แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม ในส่วนอำเภอใหญ่ได้วางแผนให้เสร็จกลางเดือนสิงหาคม
3. การตรวจนิเทศผลการดำเนินงาน
ศตจ.มท. ได้รับรายงานจากจังหวัดยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และจังหวัดขอนแก่น ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินคนยากจน ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนในพื้นที่ ระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2547 เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรค และมอบนโยบายการดำเนินงานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้
- การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ซึ่งต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชนระดับรากหญ้า ควบคู่ไปกับการพัฒนาภาคเอกชน
- การแก้ไขปัญหาให้ใช้ทุกภาคส่วนในจังหวัดร่วมดำเนินงานแบบบูรณาการ
- เน้นย้ำกระบวนการเจรจาหนี้ให้แล้วเสร็จ ภายในสิงหาคม 2547
- การเจรจาหนี้ขอให้ลดเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยให้มากที่สุด
- ในการเจรจาประนอมหนี้ ให้มีการตรวจสอบเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจนก่อนการเจรจาและตรวจสอบมิให้มีการสมยอมกันระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ เพื่อเพิ่มจำนวนเงิน
- คณะเจรจาหนี้มีความสามารถในการต่อรอง ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยน การประนอมหนี้ได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น ระบบเศรษฐกิจ สังคม ฐานะทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้
- กรณีที่เจ้าหนี้ใช้ทนายความเป็นตัวแทนในการเจรจาต่อรอง ให้ ศตจ. จังหวัดประสานอัยการพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจกับกลุ่มทนายความ
- ให้จังหวัดรณรงค์ปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย
- ให้มีการฟื้นฟูหลังการปรับโครงสร้างหนี้ ในการหาอาชีพที่เหมาะสม
- ให้สถาบันการเงินผ่อนปรนหลักเกณฑ์ การรับหนี้นอกระบบ และสนับสนุนแหล่งเงินทุน
ศตจ.มท. ได้แจ้งนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินดังกล่าวข้างต้นให้ ศตจ.จังหวัดทราบ และใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป
4. ข้อสังเกตจากการดำเนินการของ ศตจ. จังหวัด/อำเภอ
ศตจ.มท. ได้ประมวลผลการดำเนินงานของคณะเจรจาประนอมหนี้นอกระบบของ ศตจ.จังหวัด/อำเภอ อาทิเช่น
4.1 ลูกหนี้บางรายขอถอนการรับความช่วยเหลือ เนื่องจากเข้าใจว่า เมื่อมาจดทะเบียนขอรับ ความช่วยเหลือแต่แรกแล้ว รัฐบาลจะเป็นผู้ใช้หนี้แทน รวมทั้งความไม่สะดวกในการเดินทางหรือไม่ได้อยู่ในพื้นที่วันที่อำเภอนัดหมาย ซึ่งมีจำนวนมาก
4.2 ศตจ.อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีแผนการเจรจาประนอมหนี้แล้ว ซึ่งได้ทยอยแจ้งเชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจาประนอมหนี้ ส่วนยอดจำนวนผู้มาเจรจาหนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของทีมเจรจาหนี้
4.3 ศตจ.อำเภอ/กิ่งอำเภอ ได้แจ้งเชิญลูกหนี้และเจ้าหนี้มาเจรจาประนอมหนี้ บางกรณีมิอาจตรวจสอบจำนวนเงินต้น และดอกเบี้ยที่แท้จริงระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ว่า มีมูลหนี้ทั้งหมดเท่าใด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ไม่สามารถเจรจาประนอมหนี้ได้สำเร็จ
4.4 การนำหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบ ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการได้ใช้เกณฑ์การพิจารณาปกติของธนาคารในการพิจารณาเงินกู้ของลูกหนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ลูกหนี้ไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเข้าสู่ระบบธนาคารได้
4.5 ศตจ.จังหวัดได้มีแผนการฟื้นฟูลูกหนี้หลังการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเน้นการฝึกอาชีพและการประกอบอาชีพที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เช่น การส่งข้อมูลลูกหนี้ที่ต้องการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับอาชีวศึกษาจังหวัด วิทยาลัยสารพัดช่าง และการศึกษานอกโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
4.6 จังหวัดในภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางจังหวัด ประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเจรจาประนอมหนี้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-