คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานผลการตรวจราชการเยี่ยมเยียนราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 ซึ่งประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองแพร่สูงเม่น ร้องกวาง เด่นชัย และลอง เพื่อรับทราบปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของราษฎร รวมตลอดทั้งสิ่งสาธารณูปโภคสาธารณูปการ โดยสรุปดังนี้
1. ปัญหาอุทกภัยในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา จังหวัดแพร่จะประสบอุทกภัยมาโดยตลอดทุกปี เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ นับว่าเกิดขึ้นเร็วกว่าช่วงเวลาปกติที่ผ่านมา เนื่องจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น "จันทู" ได้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทั้งกลางวันและกลางคืน เกิดน้ำป่าไหลหลาก เป็นผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลันก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชผลทางเกษตร บ้านเรือนของราษฎร และสิ่งสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้แจ้งเตือนภัยให้แก่ราษฎรทราบเป็นการล่วงหน้า เป็นผลให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นบรรเทาความรุนแรงลงได้และเนื่องจากเป็นต้นฤดูฝนระดับน้ำในแม่น้ำยมยังไม่สูงมากนัก จึงสามารถระบายน้ำท่วมขังลงสู่แม่น้ำยมได้ สาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาดังกล่าวเป็นผลจากการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ถึงแม้จะมีการปลูกป่าทดแทนก็ตามแต่ก็ไม่สามารถฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับคืนสภาพสมบูรณ์ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ประกอบกับที่ผ่านมาการบริหารจัดการระบบลุ่มน้ำไม่ดีพอ จึงไม่อาจป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การตรวจราชการดังกล่าวได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนและแสดงความห่วงใยแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ที่ว่าการอำเภอสูงเม่น ได้รับความเสียหายเกิดแก่พืชผลทางการเกษตร จำนวน 1,413 ไร่ รวมสิ่งสาธารณูปโภคสาธารณูปการ มีค่าเสียหายประเมินในเบื้องต้นประมาณ 5,600,000 บาท ทุกส่วนราชการ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้การช่วยเหลือร่วมมือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ โดยมอบถุงยังชีพให้แก่ราษฎร จำนวน 300 ครัวเรือน
2.2 โรงเรียนถิ่นโอภาสวิทยา อำเภอเมืองแพร่ ได้รับความเสียหายแก่พืชผลทางการเกษตร จำนวน 1,349 ไร่ รวมทั้งสิ่งสาธารณูปโภคสาธารณูปการ มีค่าเสียหายประเมินในเบื้องต้น ประมาณ 8 ล้านบาทเศษ มีผู้เสียชีวิตจากเหตุอุทกภัยในครั้งนี้ 2 ราย ซึ่งได้มอบเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้ง 2 ราย เป็นเงินรายละ 15,000 บาท และมอบถุงยังชีพให้แก่ราษฎร จำนวน 1,080 ครัวเรือน
2.3 โรงเรียนบ้านอ้อยวิทยาคาร อำเภอร้องกวาง ได้รับความเสียหายแก่พืชผลทางการเกษตร จำนวน 2,600 ไร่ รวมทั้งสิ่งสาธารณูปโภคสาธารณูปการ มีค่าเสียหายประเมินในเบื้องต้น ประมาณ 3,500,000 บาท และได้มอบประกาศนียบัตรผู้แทนที่ผ่านการฝึกอบรมตำรวจชุมชน ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณการฝึกอบรมโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเวียงเพื่อให้ความช่วยเหลือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ และมอบถุงยังชีพให้แก่ราษฎร จำนวน 1,400 ครัวเรือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ปัญหาอุทกภัยในเขตพื้นที่จังหวัดแพร่ ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา จังหวัดแพร่จะประสบอุทกภัยมาโดยตลอดทุกปี เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ นับว่าเกิดขึ้นเร็วกว่าช่วงเวลาปกติที่ผ่านมา เนื่องจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น "จันทู" ได้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทั้งกลางวันและกลางคืน เกิดน้ำป่าไหลหลาก เป็นผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลันก่อให้เกิดความเสียหายแก่พืชผลทางเกษตร บ้านเรือนของราษฎร และสิ่งสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้แจ้งเตือนภัยให้แก่ราษฎรทราบเป็นการล่วงหน้า เป็นผลให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นบรรเทาความรุนแรงลงได้และเนื่องจากเป็นต้นฤดูฝนระดับน้ำในแม่น้ำยมยังไม่สูงมากนัก จึงสามารถระบายน้ำท่วมขังลงสู่แม่น้ำยมได้ สาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาดังกล่าวเป็นผลจากการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ถึงแม้จะมีการปลูกป่าทดแทนก็ตามแต่ก็ไม่สามารถฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับคืนสภาพสมบูรณ์ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ประกอบกับที่ผ่านมาการบริหารจัดการระบบลุ่มน้ำไม่ดีพอ จึงไม่อาจป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การตรวจราชการดังกล่าวได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนและแสดงความห่วงใยแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ที่ว่าการอำเภอสูงเม่น ได้รับความเสียหายเกิดแก่พืชผลทางการเกษตร จำนวน 1,413 ไร่ รวมสิ่งสาธารณูปโภคสาธารณูปการ มีค่าเสียหายประเมินในเบื้องต้นประมาณ 5,600,000 บาท ทุกส่วนราชการ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้การช่วยเหลือร่วมมือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ โดยมอบถุงยังชีพให้แก่ราษฎร จำนวน 300 ครัวเรือน
2.2 โรงเรียนถิ่นโอภาสวิทยา อำเภอเมืองแพร่ ได้รับความเสียหายแก่พืชผลทางการเกษตร จำนวน 1,349 ไร่ รวมทั้งสิ่งสาธารณูปโภคสาธารณูปการ มีค่าเสียหายประเมินในเบื้องต้น ประมาณ 8 ล้านบาทเศษ มีผู้เสียชีวิตจากเหตุอุทกภัยในครั้งนี้ 2 ราย ซึ่งได้มอบเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้ง 2 ราย เป็นเงินรายละ 15,000 บาท และมอบถุงยังชีพให้แก่ราษฎร จำนวน 1,080 ครัวเรือน
2.3 โรงเรียนบ้านอ้อยวิทยาคาร อำเภอร้องกวาง ได้รับความเสียหายแก่พืชผลทางการเกษตร จำนวน 2,600 ไร่ รวมทั้งสิ่งสาธารณูปโภคสาธารณูปการ มีค่าเสียหายประเมินในเบื้องต้น ประมาณ 3,500,000 บาท และได้มอบประกาศนียบัตรผู้แทนที่ผ่านการฝึกอบรมตำรวจชุมชน ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณการฝึกอบรมโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเวียงเพื่อให้ความช่วยเหลือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ และมอบถุงยังชีพให้แก่ราษฎร จำนวน 1,400 ครัวเรือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-