คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพลังงานรายงานผลการประชุมหารือเรื่องความร่วมมือด้านเอทานอลระหว่างประเทศไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเอทานอลในไทย ระหว่างวันที่ 12-17 มิถุนายน 2547 รายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. การประชุมหารือกับกลุ่มอุตสาหกรรม อ้อย น้ำตาล และเอทานอล
- ฝ่ายบราซิลได้แสดงความสนใจในความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและขยายตลาดเอทานอลในเอเชียเป็นอย่างมาก โดยยินดีที่จะให้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการผลิตเอทานอลรวมทั้งเทคโนโลยีของเครื่องยนต์ที่ใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เสนอที่จะจัดให้มีการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านเอทานอล (Joint Technical Conference) ที่ประเทศไทย โดยฝ่ายบราซิลพร้อมที่จะประสานงานเชิญบรรดานักธุรกิจ และนักวิชาการด้านเอทานอลมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับฝ่ายไทย โดยฝ่ายไทยรับที่จะประสานงานกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านใน ASEAN รวมถึงประเทศ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เพื่อเข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการประชุมครั้งนี้ด้วย ในเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถจัดการประชุมได้ภายในเดือนสิงหาคม ศกนี้
2. การเยี่ยมชมดูงานโรงงานผลิตรถยนต์ของบริษัท Volkswagen
บริษัท Volkswagen เป็นบริษัทรถยนต์ที่มีมาตรฐานการผลิตในประเทศบราซิลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา ได้ยืนยันในผลงานวิจัยของกลุ่มบริษัทรถยนต์ในบราซิล (ANFAVEA) ว่าการใช้เอทานอลเป็นส่วนผสมเพียงเล็กน้อยนั้น (ไม่เกิน 5%) ไม่จำเป็นที่จะต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ใด ๆ เลยแต่หากใช้ในสัดส่วนที่สูงขึ้นการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์อาจมีความจำเป็นบ้างแล้วแต่สัดส่วนที่ผสม ดังนี้
1) ผสมเอทานอลในสัดส่วน 5-10% ไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ใด ๆ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้ระบบหัวฉีด แต่ถ้าเป็นรถยนต์รุ่นเก่าที่ยังใช้ระบบคาร์บูเรเตอร์ อาจต้องมีการปรับแต่ง เพื่อให้ได้สัดส่วนผสมของอากาศและไอน้ำมันมีความเหมาะสม
2) ผสมในสัดส่วน 10-25% ต้องปรับปรุงระบบหัวฉีด และปั๊มหัวฉีดรวมทั้งถังและท่อที่สัมพันธ์เชื้อเพลิง จะต้องทำการเคลือบสารเพื่อป้องกันการสึกกร่อน
3) ผสมในสัดส่วน 25-100% ต้องปรับปรุงระบบเชื้อเพลิงและระบบเกียร์รวมทั้งระบบการทรงตัวของรถยนต์ เพื่อให้รองรับกำลังขับเคลื่อนที่แรงขึ้น เนื่องจากเอทานอล 100% จะมีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่า และกำลังขับเคลื่อนที่แรงกว่าน้ำมันเบนซินธรรมดา
3. การประชุมหารือกับผู้แทน บริษัท PetroBras
- บริษัท PetroBras เป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของบราซิลและเป็นหนึ่งในกลไกภาครัฐในการพัฒนาอุตสาหกรรมเอทานอลของประเทศบราซิลได้ให้ความสนใจในการพัฒนาตลาดเอทานอลในเอเชียเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในประเทศจีน และยังได้เสนอแนวทางความร่วมมือกับประเทศไทยในกรณีที่จะแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ หรือเจ้าหน้าที่ด้านเอทานอล โดยอาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยสามารถมาทำงานหรือทำงานวิจัย ณ ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีของบริษัทในประเทศบราซิลได้ และในทางกลับกัน PetroBras ก็ยินดีที่จะจัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้าน เอทานอลมาให้คำปรึกษาต่าง ๆ แก่ฝ่ายไทยตามแต่จะตกลงกันทั้งนี้ PetroBras เสนอที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ในรูปแบบบริษัทต่อบริษัท (B2B) กับ ปตท. และบางจากต่อไป
- ทั้งนี้ฝ่ายไทยได้นำเสนอแนวความคิดในการพัฒนาตลาดเอทานอลในเอเชียว่าหากความต้องการเอทานอลในเอเชียสูงมากขึ้นเพียงพอที่จะรับปริมาณการนำเข้าจาก บราซิลได้ ฝ่ายไทยก็ยินดีที่จะให้ PetroBras เข้าร่วมทุนโครงการ Strategic Energy Landbridge เพื่อใช้เป็นฐานการสำรองและเป็นศูนย์กลางการกระจายเอทานอล (Distribution Center) ไปยังประเทศที่มีศักยภาพและกำลังซื้อในเอเชีย อาทิ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ต่อไป
4. การประชุมหารือข้อราชการแบบเต็มคณะกับประธานาธิบดีบราซิล Mr.Luiz Inacio Lula da Silva
ฝ่ายไทยนำเสนอแนวความคิดในการจัดประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านเอทานอลซึ่งจะเป็นการจัดประชุมร่วมกับระหว่างไทย และ บราซิล ภายในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งทางรัฐบาลบราซิลจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และให้ความเห็นว่าการจัดประชุมสัมมนานี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญเป็นพันธมิตรด้านพลังงานโดยเฉพาะด้านเอทานอลระหว่างไทยกับบราซิลต่อไปในอนาคต
5. สรุปผลการประชุมหารือ และแสวงหาความร่วมมือด้านเอทานอล ระหว่างไทย-บราซิล
จากประสบการณ์ของบราซิล พบว่าการนำเอทานอลมาใช้เชื้อเพลิง จะให้ประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยด้านเศรษฐกิจนั้น จะช่วยลดการ นำเข้าน้ำมันเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแก่ประเทศสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าเกษตร สร้างงานสร้างรายได้ให้เกษตรกรลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ และเพิ่มเงินหมุนเวียนในประเทศ ด้านสิ่งแวดล้อม จะช่วยลดมลพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ ของน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น ฝุ่นละออง และเขม่าควันดำ ลดสารก่อเรือนกระจก ด้านสังคม จะเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เป็นการกระจายรายได้ให้สู่ชนบท
ทั้งนี้ ประเทศไทยและบราซิล จะร่วมกันจัดประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านเอทานอลโดยฝ่ายบราซิลจะนำคณะผู้ประกอบการเอทานอล และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง มาบรรยายถึงประสบการณ์ของบราซิล รวมทั้งแสดงนิทรรศการด้านเทคโนโลยีเอทานอลต่างๆ จากสมาคมชาวไร่อ้อยกลุ่มผู้ผลิตเอทานอล และบริษัทรถยนต์จากประเทศบราซิล โดยกระทรวงพลังงานจะรับหน้าที่ประสานงานในการเชิญชวนให้ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย โดยคาดว่าจะสามารถจัดการประชุมสัมมนาดังกล่าวได้ภายในระยะเวลา 2 เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
1. การประชุมหารือกับกลุ่มอุตสาหกรรม อ้อย น้ำตาล และเอทานอล
- ฝ่ายบราซิลได้แสดงความสนใจในความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและขยายตลาดเอทานอลในเอเชียเป็นอย่างมาก โดยยินดีที่จะให้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการผลิตเอทานอลรวมทั้งเทคโนโลยีของเครื่องยนต์ที่ใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เสนอที่จะจัดให้มีการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านเอทานอล (Joint Technical Conference) ที่ประเทศไทย โดยฝ่ายบราซิลพร้อมที่จะประสานงานเชิญบรรดานักธุรกิจ และนักวิชาการด้านเอทานอลมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับฝ่ายไทย โดยฝ่ายไทยรับที่จะประสานงานกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านใน ASEAN รวมถึงประเทศ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เพื่อเข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการประชุมครั้งนี้ด้วย ในเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถจัดการประชุมได้ภายในเดือนสิงหาคม ศกนี้
2. การเยี่ยมชมดูงานโรงงานผลิตรถยนต์ของบริษัท Volkswagen
บริษัท Volkswagen เป็นบริษัทรถยนต์ที่มีมาตรฐานการผลิตในประเทศบราซิลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา ได้ยืนยันในผลงานวิจัยของกลุ่มบริษัทรถยนต์ในบราซิล (ANFAVEA) ว่าการใช้เอทานอลเป็นส่วนผสมเพียงเล็กน้อยนั้น (ไม่เกิน 5%) ไม่จำเป็นที่จะต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ใด ๆ เลยแต่หากใช้ในสัดส่วนที่สูงขึ้นการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์อาจมีความจำเป็นบ้างแล้วแต่สัดส่วนที่ผสม ดังนี้
1) ผสมเอทานอลในสัดส่วน 5-10% ไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ใด ๆ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้ระบบหัวฉีด แต่ถ้าเป็นรถยนต์รุ่นเก่าที่ยังใช้ระบบคาร์บูเรเตอร์ อาจต้องมีการปรับแต่ง เพื่อให้ได้สัดส่วนผสมของอากาศและไอน้ำมันมีความเหมาะสม
2) ผสมในสัดส่วน 10-25% ต้องปรับปรุงระบบหัวฉีด และปั๊มหัวฉีดรวมทั้งถังและท่อที่สัมพันธ์เชื้อเพลิง จะต้องทำการเคลือบสารเพื่อป้องกันการสึกกร่อน
3) ผสมในสัดส่วน 25-100% ต้องปรับปรุงระบบเชื้อเพลิงและระบบเกียร์รวมทั้งระบบการทรงตัวของรถยนต์ เพื่อให้รองรับกำลังขับเคลื่อนที่แรงขึ้น เนื่องจากเอทานอล 100% จะมีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่า และกำลังขับเคลื่อนที่แรงกว่าน้ำมันเบนซินธรรมดา
3. การประชุมหารือกับผู้แทน บริษัท PetroBras
- บริษัท PetroBras เป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของบราซิลและเป็นหนึ่งในกลไกภาครัฐในการพัฒนาอุตสาหกรรมเอทานอลของประเทศบราซิลได้ให้ความสนใจในการพัฒนาตลาดเอทานอลในเอเชียเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในประเทศจีน และยังได้เสนอแนวทางความร่วมมือกับประเทศไทยในกรณีที่จะแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ หรือเจ้าหน้าที่ด้านเอทานอล โดยอาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยสามารถมาทำงานหรือทำงานวิจัย ณ ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีของบริษัทในประเทศบราซิลได้ และในทางกลับกัน PetroBras ก็ยินดีที่จะจัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้าน เอทานอลมาให้คำปรึกษาต่าง ๆ แก่ฝ่ายไทยตามแต่จะตกลงกันทั้งนี้ PetroBras เสนอที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ในรูปแบบบริษัทต่อบริษัท (B2B) กับ ปตท. และบางจากต่อไป
- ทั้งนี้ฝ่ายไทยได้นำเสนอแนวความคิดในการพัฒนาตลาดเอทานอลในเอเชียว่าหากความต้องการเอทานอลในเอเชียสูงมากขึ้นเพียงพอที่จะรับปริมาณการนำเข้าจาก บราซิลได้ ฝ่ายไทยก็ยินดีที่จะให้ PetroBras เข้าร่วมทุนโครงการ Strategic Energy Landbridge เพื่อใช้เป็นฐานการสำรองและเป็นศูนย์กลางการกระจายเอทานอล (Distribution Center) ไปยังประเทศที่มีศักยภาพและกำลังซื้อในเอเชีย อาทิ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ต่อไป
4. การประชุมหารือข้อราชการแบบเต็มคณะกับประธานาธิบดีบราซิล Mr.Luiz Inacio Lula da Silva
ฝ่ายไทยนำเสนอแนวความคิดในการจัดประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านเอทานอลซึ่งจะเป็นการจัดประชุมร่วมกับระหว่างไทย และ บราซิล ภายในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งทางรัฐบาลบราซิลจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และให้ความเห็นว่าการจัดประชุมสัมมนานี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญเป็นพันธมิตรด้านพลังงานโดยเฉพาะด้านเอทานอลระหว่างไทยกับบราซิลต่อไปในอนาคต
5. สรุปผลการประชุมหารือ และแสวงหาความร่วมมือด้านเอทานอล ระหว่างไทย-บราซิล
จากประสบการณ์ของบราซิล พบว่าการนำเอทานอลมาใช้เชื้อเพลิง จะให้ประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยด้านเศรษฐกิจนั้น จะช่วยลดการ นำเข้าน้ำมันเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแก่ประเทศสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าเกษตร สร้างงานสร้างรายได้ให้เกษตรกรลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ และเพิ่มเงินหมุนเวียนในประเทศ ด้านสิ่งแวดล้อม จะช่วยลดมลพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ ของน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น ฝุ่นละออง และเขม่าควันดำ ลดสารก่อเรือนกระจก ด้านสังคม จะเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เป็นการกระจายรายได้ให้สู่ชนบท
ทั้งนี้ ประเทศไทยและบราซิล จะร่วมกันจัดประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านเอทานอลโดยฝ่ายบราซิลจะนำคณะผู้ประกอบการเอทานอล และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง มาบรรยายถึงประสบการณ์ของบราซิล รวมทั้งแสดงนิทรรศการด้านเทคโนโลยีเอทานอลต่างๆ จากสมาคมชาวไร่อ้อยกลุ่มผู้ผลิตเอทานอล และบริษัทรถยนต์จากประเทศบราซิล โดยกระทรวงพลังงานจะรับหน้าที่ประสานงานในการเชิญชวนให้ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย โดยคาดว่าจะสามารถจัดการประชุมสัมมนาดังกล่าวได้ภายในระยะเวลา 2 เดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-