คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีสถานีวิทยุโทรทัศน์ กองทัพบกช่อง 5(ททบ.5) ตามที่ปรากฎข่าวกรณีกองทัพบกซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) มีนโยบายเกี่ยวกับการให้กิจการบางส่วนของสถานีวิทยุ โทรทัศน์ดังกล่าวเข้าตลาดหุ้นหรือให้เอกชนเข้ามาบริหารหรือดำเนินการนั้น โดยที่การดำเนินการดังกล่าวมิใช่นโยบายหรือคำสั่งการของรัฐบาลมาแต่แรก และแนวทางที่กองทัพบกดำเนินการยังมีความชัดเจน ในข้อกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ กฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ตลอดจนยังไม่มีความชัดเจนในข้อเท็จจริง ได้แก่ เหตุผลความจำเป็นในการดำเนินการ หนี้สินหรือพันธะผูกพันที่มีมาแต่อดีต และแนวทางหรือทางเลือกในการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาอันสะสมมาแต่ในอดีต หรือเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในอนาคต
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
1. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณี สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1) พลเอกวัฒนชัย วุฒิศิริ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย 2) อัยการสูงสุดหรือผู้แทนซึ่งไม่ต่ำกว่ารองอัยการสูงสุด 3) นายชัช ชลวร เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม 4) นายวิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย จำกัด 5) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 6) ศาสตราจารย์ ปรีชา จรุงกิจอนันต์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 7) รองศาสตราจารย์ ดรุณี หิรัญรักษ์ อดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ โดยมี พลเอกเกษมชาติ นเรศเสนีย์ จเรทหารทั่วไป เป็นเลขานุการ
2. ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) ดำเนินการเข้าตลาดหุ้นหรือให้เอกชนเข้าบริหารหรือดำเนินการ เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่เพียงใดตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ และมีเหตุผลความจำเป็นหรือความถูกต้องชอบธรรมประการใด ตลอดจนแนวทางที่กองทัพบกพิจารณาดำเนินการอยู่ในขณะนี้มีความเหมาะสมหรือไม่ หรือมีแนวทางเลือกอื่นที่ควรใช้เพื่อแก้ปัญหาของสถานีหรือพัฒนากิจการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หากตรวจสอบพบว่าผู้ใดหรือการดำเนินการใดผิดกฎหมายหรือไม่ถูกต้องเหมาะสมหรือมีเหตุอันควรสงสัย เพื่อการตรวจสอบต่อไปก็ให้รายงานมาด้วย ทั้งนี้ ให้มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน และให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการชี้แจง ส่งเอกสารให้ ตลอดจนช่วยดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการประสานมา
3. ให้คณะกรรมการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน หากไม่เสร็จให้เสนอขอขยายเวลาได้ตามความจำเป็น
4. ให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ได้รับเบี้ยประชุมตามอัตราของทางราชการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(1) (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
1. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณี สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1) พลเอกวัฒนชัย วุฒิศิริ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย 2) อัยการสูงสุดหรือผู้แทนซึ่งไม่ต่ำกว่ารองอัยการสูงสุด 3) นายชัช ชลวร เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม 4) นายวิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย จำกัด 5) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 6) ศาสตราจารย์ ปรีชา จรุงกิจอนันต์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 7) รองศาสตราจารย์ ดรุณี หิรัญรักษ์ อดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ โดยมี พลเอกเกษมชาติ นเรศเสนีย์ จเรทหารทั่วไป เป็นเลขานุการ
2. ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) ดำเนินการเข้าตลาดหุ้นหรือให้เอกชนเข้าบริหารหรือดำเนินการ เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่เพียงใดตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ และมีเหตุผลความจำเป็นหรือความถูกต้องชอบธรรมประการใด ตลอดจนแนวทางที่กองทัพบกพิจารณาดำเนินการอยู่ในขณะนี้มีความเหมาะสมหรือไม่ หรือมีแนวทางเลือกอื่นที่ควรใช้เพื่อแก้ปัญหาของสถานีหรือพัฒนากิจการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หากตรวจสอบพบว่าผู้ใดหรือการดำเนินการใดผิดกฎหมายหรือไม่ถูกต้องเหมาะสมหรือมีเหตุอันควรสงสัย เพื่อการตรวจสอบต่อไปก็ให้รายงานมาด้วย ทั้งนี้ ให้มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน และให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือในการชี้แจง ส่งเอกสารให้ ตลอดจนช่วยดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการประสานมา
3. ให้คณะกรรมการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน หากไม่เสร็จให้เสนอขอขยายเวลาได้ตามความจำเป็น
4. ให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ได้รับเบี้ยประชุมตามอัตราของทางราชการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-