คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอแล้วมีมติดังนี้1. เห็นชอบกับบทบาทของคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ก.พ.ร.) ในการเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินการด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องกัน เนื่องจากมีองค์คณะหรือหน่วยงานรับผิดชอบด้านนโยบายอยู่แล้ว
2. เห็นชอบกับแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาระบบราชการไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพใน 3 มิติ คือ มิติด้านบูรณาการระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้ระบบร่วมกันได้ โดยกำหนดเป็นระบบปฏิบัติการ 5 ระบบ และมิติด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการที่ 1,3 และ 6 สำหรับมิติที่ 3 นั้น เป็นการแบ่งบทบาทผู้รับผิดชอบในแต่ละภารกิจเป็น 4 บทบาท โดยคำนึงถึงหลักเสรีภาพส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร และความจำเป็นของบางส่วนราชการที่ต้องจัดระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แบบแยกส่วนเฉพาะ โดยมีเหตุผลต่างกัน เช่น เพื่อความมั่นคงหรือเพื่อรักษาความลับของทางราชการ เป็นต้น
สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอว่า คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ก.พ.ร.) ได้เสนอแนะยุทธศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการ พัฒนาระบบราชการไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ 6 ขั้นตอนหลักดังนี้
1) การศึกษาเกี่ยวกับระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2) กำหนดกรอบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยให้การปรับเปลี่ยนการบริหารราชการมีประสิทธิภาพ
3) สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อออกความเห็นและให้ความเห็นชอบในแผนกลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยทั้ง 7 ยุทธศาสตร์
4) จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและคำแนะนำของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และผู้รับบริการ
5) กำหนดกรอบการพัฒนาระบบและการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ
6) นำโครงการนำร่องไปทดลองปฏิบัติกับหน่วยงานต้นแบบ
การดำเนินงานตามแผนการดำเนินงาน 6 ขั้นตอนดังกล่าว ขณะนี้ดำเนินการเสร็จสิ้นขั้นตอนที่ 5 แล้ว
สำหรับการกำหนดกรอบการพัฒนาระบบและการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ ได้พิจารณากลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในหน่วยงานภาครัฐให้เป็นแบบบูรณาการ พร้อมทั้งกำหนดกลุ่มงานด้านระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ควรดำเนินการในแต่ละยุทธศาสตร์และนำมาหารือกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ในลักษณะบูรณาการอย่างเป็นระบบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาระบบราชการไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ โดยแบ่งกลุ่มงานการพัฒนาออกเป็น 5 ชั้น (Layer)ได้แก่
Layer ที่ 1: การจัดให้มีระบบโครงข่ายโทรคมนาคมที่เหมาะสมในการเชื่อมโยงองค์กรต่าง ๆ
Layer ที่ 2: กำหนดมาตรฐานและช่องทางการเข้าสู่โครงข่ายระบบโทรคมนาคมเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดต่อกัน
Layer ที่ 3 : การจัดทำข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาเป็นข้อมูลกลางที่ใช้ร่วมกันได้ เช่น ข้อมูลบุคคล ข้อมูลนิติบุคคล ข้อมูลสถานที่ พร้อมทั้งจัดทำระบบความปลอดภัยของข้อมูล เช่น ระบบยืนยันตัวบุคคล
Layer ที่ 4 : การจัดทำโปรแกรมประยุกต์ เพื่อประมวลผลและใช้ข้อมูลร่วมกันและสามารถดึงข้อมูลข้ามส่วนราชการได้ หรือสามารถใช้โปรแกรมประยุกต์กลางที่ส่วนราชการหลัก ๆ มีอยู่ไปใช้งานร่วมกันได้
Layer ที่ 5 : พัฒนาขีดความสามารถในการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของ E-Citizen Service หรือ One Stop Service ได้ซึ่งการพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ตามกลุ่มงานการพัฒนา 5 ชั้นดังกล่าว ควรต้องมีการแบ่งความรับผิดชอบที่ชัดเจนว่าหน่วยงานใดมีบทบาทในการพัฒนาหรือการปฏิบัติอย่างไรบ้าง อ.ก.พ.ร.ฯ จึงได้จำแนกหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการพัฒนาและการนำไปสู่การปฏิบัติของระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ หน่วยงานหลัก หน่วยงานรอง หน่วยงานเสริม และหน่วยงานที่ปรึกษา โดยหน่วยงานแต่ละกลุ่มมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
หน่วยงานหลัก คือ หน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบในภารกิจหลักของยุทธศาสตร์นั้น ๆ โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จของหน่วยงานหลักที่ชัดเจน หน่วยงานหลักอาจเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในกิจกรรมนั้น ๆ ตามกฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ หรือได้รับมอบหมายโดยคณะกรรมการ ชุดใดชุดหนึ่งให้เป็นผู้รับผิดชอบในภารกิจนั้น ๆ เป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมทั้งในด้านกำลังคน เทคนิค และทรัพยากรในการดำเนินการ หน่วยงานหลักที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการในภารกิจหลัก มีหน้าที่ในการบูรณาการงบประมาณในเรื่องนั้น ๆ ด้วย
หน่วยงานรอง คือ หน่วยงานที่ทำงานร่วมกันกับหน่วยงานหลัก โดยมีหน้าที่ให้ คำแนะนำความเห็นในการพัฒนาภารกิจ และเป็นผู้นำไปปฏิบัติ หรือให้ความร่วมมือหรือมีส่วนร่วมหรือเข้าไปเสริมในบางจุดของหน่วยงานหลักตามความพร้อมในด้านทรัพยากรหรือเทคโนโลยีของหน่วยงานรองนั้น ๆ
หน่วยงานเสริม คือ หน่วยงานที่จะสนับสนุนให้ความเห็นหรือให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ โดยอาจเข้าไปร่วมให้คำปรึกษาหารือหรือให้งบประมาณสนับสนุนตามที่หน่วยงานหลักร้องขอ
หน่วยงานที่ปรึกษา คือ หน่วยงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้ความสามารถในอันที่จะให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานหลักในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้นซึ่งจะได้นำโครงการนำร่องไปทดลองปฏิบัติกับหน่วยงานต้นแบบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
2. เห็นชอบกับแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาระบบราชการไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพใน 3 มิติ คือ มิติด้านบูรณาการระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้ระบบร่วมกันได้ โดยกำหนดเป็นระบบปฏิบัติการ 5 ระบบ และมิติด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการที่ 1,3 และ 6 สำหรับมิติที่ 3 นั้น เป็นการแบ่งบทบาทผู้รับผิดชอบในแต่ละภารกิจเป็น 4 บทบาท โดยคำนึงถึงหลักเสรีภาพส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร และความจำเป็นของบางส่วนราชการที่ต้องจัดระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แบบแยกส่วนเฉพาะ โดยมีเหตุผลต่างกัน เช่น เพื่อความมั่นคงหรือเพื่อรักษาความลับของทางราชการ เป็นต้น
สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอว่า คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ก.พ.ร.) ได้เสนอแนะยุทธศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการ พัฒนาระบบราชการไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ 6 ขั้นตอนหลักดังนี้
1) การศึกษาเกี่ยวกับระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2) กำหนดกรอบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยให้การปรับเปลี่ยนการบริหารราชการมีประสิทธิภาพ
3) สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อออกความเห็นและให้ความเห็นชอบในแผนกลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยทั้ง 7 ยุทธศาสตร์
4) จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและคำแนะนำของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และผู้รับบริการ
5) กำหนดกรอบการพัฒนาระบบและการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ
6) นำโครงการนำร่องไปทดลองปฏิบัติกับหน่วยงานต้นแบบ
การดำเนินงานตามแผนการดำเนินงาน 6 ขั้นตอนดังกล่าว ขณะนี้ดำเนินการเสร็จสิ้นขั้นตอนที่ 5 แล้ว
สำหรับการกำหนดกรอบการพัฒนาระบบและการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ ได้พิจารณากลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในหน่วยงานภาครัฐให้เป็นแบบบูรณาการ พร้อมทั้งกำหนดกลุ่มงานด้านระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ควรดำเนินการในแต่ละยุทธศาสตร์และนำมาหารือกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์ในลักษณะบูรณาการอย่างเป็นระบบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาระบบราชการไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ โดยแบ่งกลุ่มงานการพัฒนาออกเป็น 5 ชั้น (Layer)ได้แก่
Layer ที่ 1: การจัดให้มีระบบโครงข่ายโทรคมนาคมที่เหมาะสมในการเชื่อมโยงองค์กรต่าง ๆ
Layer ที่ 2: กำหนดมาตรฐานและช่องทางการเข้าสู่โครงข่ายระบบโทรคมนาคมเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดต่อกัน
Layer ที่ 3 : การจัดทำข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาเป็นข้อมูลกลางที่ใช้ร่วมกันได้ เช่น ข้อมูลบุคคล ข้อมูลนิติบุคคล ข้อมูลสถานที่ พร้อมทั้งจัดทำระบบความปลอดภัยของข้อมูล เช่น ระบบยืนยันตัวบุคคล
Layer ที่ 4 : การจัดทำโปรแกรมประยุกต์ เพื่อประมวลผลและใช้ข้อมูลร่วมกันและสามารถดึงข้อมูลข้ามส่วนราชการได้ หรือสามารถใช้โปรแกรมประยุกต์กลางที่ส่วนราชการหลัก ๆ มีอยู่ไปใช้งานร่วมกันได้
Layer ที่ 5 : พัฒนาขีดความสามารถในการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของ E-Citizen Service หรือ One Stop Service ได้ซึ่งการพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ตามกลุ่มงานการพัฒนา 5 ชั้นดังกล่าว ควรต้องมีการแบ่งความรับผิดชอบที่ชัดเจนว่าหน่วยงานใดมีบทบาทในการพัฒนาหรือการปฏิบัติอย่างไรบ้าง อ.ก.พ.ร.ฯ จึงได้จำแนกหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการพัฒนาและการนำไปสู่การปฏิบัติของระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ หน่วยงานหลัก หน่วยงานรอง หน่วยงานเสริม และหน่วยงานที่ปรึกษา โดยหน่วยงานแต่ละกลุ่มมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
หน่วยงานหลัก คือ หน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบในภารกิจหลักของยุทธศาสตร์นั้น ๆ โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จของหน่วยงานหลักที่ชัดเจน หน่วยงานหลักอาจเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในกิจกรรมนั้น ๆ ตามกฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ หรือได้รับมอบหมายโดยคณะกรรมการ ชุดใดชุดหนึ่งให้เป็นผู้รับผิดชอบในภารกิจนั้น ๆ เป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมทั้งในด้านกำลังคน เทคนิค และทรัพยากรในการดำเนินการ หน่วยงานหลักที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการในภารกิจหลัก มีหน้าที่ในการบูรณาการงบประมาณในเรื่องนั้น ๆ ด้วย
หน่วยงานรอง คือ หน่วยงานที่ทำงานร่วมกันกับหน่วยงานหลัก โดยมีหน้าที่ให้ คำแนะนำความเห็นในการพัฒนาภารกิจ และเป็นผู้นำไปปฏิบัติ หรือให้ความร่วมมือหรือมีส่วนร่วมหรือเข้าไปเสริมในบางจุดของหน่วยงานหลักตามความพร้อมในด้านทรัพยากรหรือเทคโนโลยีของหน่วยงานรองนั้น ๆ
หน่วยงานเสริม คือ หน่วยงานที่จะสนับสนุนให้ความเห็นหรือให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ โดยอาจเข้าไปร่วมให้คำปรึกษาหารือหรือให้งบประมาณสนับสนุนตามที่หน่วยงานหลักร้องขอ
หน่วยงานที่ปรึกษา คือ หน่วยงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้ความสามารถในอันที่จะให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานหลักในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้นซึ่งจะได้นำโครงการนำร่องไปทดลองปฏิบัติกับหน่วยงานต้นแบบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-