คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องขอผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ดำเนินการโครงการศึกษาวิจัยทางธรณีวิทยาในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติผ่อนผันให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ดำเนินการโครงการศึกษาวิจัยทางวิชาการทางธรณีวิทยาในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ 6,562 ไร่ พื้นที่ศักยภาพแร่ทองแดง ภูหินเหล็กไฟ-ภูหัวเขา อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 และวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544
2. อนุมัติในหลักการผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่ตามคำขอประทานบัตรของบริษัท ภูเทพ จำกัด กรณีพบว่าแหล่งแร่ทองแดงมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ โดยไม่ต้องนำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีอีก ทั้งนี้ ในการอนุญาตประทานบัตรบริษัทฯ จะต้องจัดทำรายงานการประเมินศักยภาพการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เสนอกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ความเห็นชอบโครงการก่อน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 และปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า
1. ตามมติคณะรัฐมนตรีในข้อ 2 กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีประกาศลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2532 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้สิทธิสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่จังหวัดเลย หนองคาย และอุดรธานี
2. บริษัท ภูเทพ จำกัด ได้รับคัดเลือกให้เข้ามาลงทุนดำเนินการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ภูถ้ำพระภูหินเหล็กไฟ ซึ่งคลุมพื้นที่อำเภอเชียงคาน อำเภอเมืองเลย อำเภอนาด้วง และอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมตามข้อ 1. และได้จัดทำสัญญากับกรมทรัพยากรธรณี (ปัจจุบันคือ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่) เกี่ยวกับการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ดังกล่าว เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2534 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกอาชญาบัตรพิเศษให้บริษัทฯ สำรวจแร่ทองคำในพื้นที่ที่ได้รับสิทธิเนื้อที่ 118,147 ไร่ สิ้นอายุวันที่ 5 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งจากผลการสำรวจแร่ของบริษัทฯ ไม่พบแหล่งแร่ทองคำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจแต่พบแหล่งแร่ทองแดง บริษัทฯ จึงยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองแดง จำนวน 50 แปลง เนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 15,000 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 บริเวณ คือ บริเวณแรกจำนวน 36 แปลง โดยมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ของลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนอื่น ๆ (ลุ่มน้ำชายแดน) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมดภาพันธ์ 2538 มีปริมาณโลหะทองแดงที่สามารถผลิตจากสินแร่ทองแดงในพื้นที่คำขอประทานบัตรประมาณ 351,600 เมตริกตัน ส่วนบริเวณที่ 2 ไม่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ 1 เอ
3. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเมืองแร่ (กรมทรัพยากรธรณีเดิม) ได้ขอนุญาตกรมป่าไม้เพื่อศึกษาวิจัยทางวิชาการเพิ่มเติมครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ตามข้อ 2 ตามโครงการศึกษาวิจัยทางทางธรณีวิทยาในพื้นที่ศักยภาพแร่ทองแดงเนื้อที่ 6,562 ไร่ เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ ตามคำขอประทานบัตรก่อนนำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรี ซึ่งกรมป่าไม้ขอให้นำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีเพื่อขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อการสำรวจและทำเหมืองแร่ ตามคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 โดยพิจารณาร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือกรมป่าไม้ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรมทรัพยากรธรณีซึ่งที่ประชุมไม่ขัดข้อง และอนุมัติในหลักการผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่ตามคำขอประทานบัตรของบริษัท ภูเทพ จำกัด กรณีพบว่าแหล่งแร่ทองแดงมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ โดยไม่ต้องนำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีอีก ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี และระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. พื้นที่ตามโครงการเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพแร่ทองแดง ซึ่งจากผลการสำรวจแร่ของบริษัท ภูเทพ จำกัด พบแหล่งแร่ทองแดง มีปริมาณโลหะทองแดงที่สามารผลิตจากสินแร่ทองแดงในพื้นที่คำขอประทานบัตรประมาณ 351,600 เมตริกตัน และบริษัทฯ ได้ยื่นคำขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ทองแดง แต่โดยที่ข้อมูลประกอบการพิจารณายังไม่ชัดเจน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จึงเห็นควรทำการศึกษาวิจัยทางธรณีวิทยาโดยละเอียดเพื่อให้ทราบข้อมูลทางวิชาการด้านธรณีวิทยาในระดับลึก และข้อมูลพื้นฐานด้านสถานภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนข้อมูลธรณีเทคนิคและอุทกธรณีวิทยาเพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ ซึ่งหากผลการศึกษาวิจัยพบว่าแหล่งแร่ทองแดงดังกล่าวมีความเหมาะสมสามารถพัฒนาให้เป็นเหมืองแร่ได้ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่จะนำข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาอนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่ทองแดงของบริษัท ภูเทพ จำกัด ก็จะสามารถนำแร่ทองแดงมาผลิตเป็นโลหะทองแดงเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้การดำเนินการตามโครงการศึกษาวิจัย ฯ ใช้ระยะเวลา 2 ปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
1. อนุมัติผ่อนผันให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ดำเนินการโครงการศึกษาวิจัยทางวิชาการทางธรณีวิทยาในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ 6,562 ไร่ พื้นที่ศักยภาพแร่ทองแดง ภูหินเหล็กไฟ-ภูหัวเขา อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 และวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544
2. อนุมัติในหลักการผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่ตามคำขอประทานบัตรของบริษัท ภูเทพ จำกัด กรณีพบว่าแหล่งแร่ทองแดงมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ โดยไม่ต้องนำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีอีก ทั้งนี้ ในการอนุญาตประทานบัตรบริษัทฯ จะต้องจัดทำรายงานการประเมินศักยภาพการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เสนอกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ความเห็นชอบโครงการก่อน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 และปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า
1. ตามมติคณะรัฐมนตรีในข้อ 2 กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีประกาศลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2532 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้สิทธิสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่จังหวัดเลย หนองคาย และอุดรธานี
2. บริษัท ภูเทพ จำกัด ได้รับคัดเลือกให้เข้ามาลงทุนดำเนินการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ภูถ้ำพระภูหินเหล็กไฟ ซึ่งคลุมพื้นที่อำเภอเชียงคาน อำเภอเมืองเลย อำเภอนาด้วง และอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมตามข้อ 1. และได้จัดทำสัญญากับกรมทรัพยากรธรณี (ปัจจุบันคือ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่) เกี่ยวกับการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ดังกล่าว เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2534 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกอาชญาบัตรพิเศษให้บริษัทฯ สำรวจแร่ทองคำในพื้นที่ที่ได้รับสิทธิเนื้อที่ 118,147 ไร่ สิ้นอายุวันที่ 5 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งจากผลการสำรวจแร่ของบริษัทฯ ไม่พบแหล่งแร่ทองคำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจแต่พบแหล่งแร่ทองแดง บริษัทฯ จึงยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองแดง จำนวน 50 แปลง เนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 15,000 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 บริเวณ คือ บริเวณแรกจำนวน 36 แปลง โดยมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ของลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนอื่น ๆ (ลุ่มน้ำชายแดน) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมดภาพันธ์ 2538 มีปริมาณโลหะทองแดงที่สามารถผลิตจากสินแร่ทองแดงในพื้นที่คำขอประทานบัตรประมาณ 351,600 เมตริกตัน ส่วนบริเวณที่ 2 ไม่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ 1 เอ
3. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเมืองแร่ (กรมทรัพยากรธรณีเดิม) ได้ขอนุญาตกรมป่าไม้เพื่อศึกษาวิจัยทางวิชาการเพิ่มเติมครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ตามข้อ 2 ตามโครงการศึกษาวิจัยทางทางธรณีวิทยาในพื้นที่ศักยภาพแร่ทองแดงเนื้อที่ 6,562 ไร่ เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ ตามคำขอประทานบัตรก่อนนำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรี ซึ่งกรมป่าไม้ขอให้นำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีเพื่อขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อการสำรวจและทำเหมืองแร่ ตามคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 โดยพิจารณาร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือกรมป่าไม้ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรมทรัพยากรธรณีซึ่งที่ประชุมไม่ขัดข้อง และอนุมัติในหลักการผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่ตามคำขอประทานบัตรของบริษัท ภูเทพ จำกัด กรณีพบว่าแหล่งแร่ทองแดงมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ โดยไม่ต้องนำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีอีก ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี และระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. พื้นที่ตามโครงการเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพแร่ทองแดง ซึ่งจากผลการสำรวจแร่ของบริษัท ภูเทพ จำกัด พบแหล่งแร่ทองแดง มีปริมาณโลหะทองแดงที่สามารผลิตจากสินแร่ทองแดงในพื้นที่คำขอประทานบัตรประมาณ 351,600 เมตริกตัน และบริษัทฯ ได้ยื่นคำขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ทองแดง แต่โดยที่ข้อมูลประกอบการพิจารณายังไม่ชัดเจน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จึงเห็นควรทำการศึกษาวิจัยทางธรณีวิทยาโดยละเอียดเพื่อให้ทราบข้อมูลทางวิชาการด้านธรณีวิทยาในระดับลึก และข้อมูลพื้นฐานด้านสถานภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนข้อมูลธรณีเทคนิคและอุทกธรณีวิทยาเพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ ซึ่งหากผลการศึกษาวิจัยพบว่าแหล่งแร่ทองแดงดังกล่าวมีความเหมาะสมสามารถพัฒนาให้เป็นเหมืองแร่ได้ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่จะนำข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาอนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่ทองแดงของบริษัท ภูเทพ จำกัด ก็จะสามารถนำแร่ทองแดงมาผลิตเป็นโลหะทองแดงเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้การดำเนินการตามโครงการศึกษาวิจัย ฯ ใช้ระยะเวลา 2 ปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-