คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง "นโยบายการจัดการขยะของไทย" ตามที่สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้พิจารณาเห็นว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญประการหนึ่งของประเทศคือ นโยบายการจัดการขยะ ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวม จึงมอบหมายให้ คณะทำงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและพลังงานของ สภาที่ปรึกษา ฯ ดำเนินการศึกษาข้อมูล กฎหมาย ระเบียบ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ พร้อมทั้งจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากองค์การภาคประชาชน นักวิชาการ นักธุรกิจและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และจัดสัมมนาใหญ่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และองค์การทุกภาคส่วน เพื่อจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง "นโยบายการจัดการขยะของไทย"
สภาที่ปรึกษาฯ ในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 ได้พิจารณาผลการศึกษาของคณะทำงานฯ ดังกล่าวและมีมติให้เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเรื่อง "นโยบายการจัดการขยะของคนไทย" สรุปได้ดังนี้
1. รัฐบาลควรเร่งส่งเสริมด้านการพัฒนาระบบกำจัดขยะจากชุมชน ขยะอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม ขยะติดเชื้อ ขยะจากห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และขยะอันตรายจากต่างประเทศให้ได้มาตรฐานทั่วประเทศ ดังนี้
1.1 รัฐควรมีมาตรการกำจัดขยะจากชุมชนให้ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึง
1.2 รัฐควรมีมาตรการกำจัดขยะจากภาคอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึง
1.3 รัฐบาลควรเคร่งครัดในการตรวจสอบการกำจัดขยะติดเชื้อ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พร้อมในการจัดการขยะติดเชื้อ
1.4 ปรับปรุงมาตรการควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เป็นขยะอันตรายจากต่างประเทศ
1.5 ปรับปรุงมาตรการ กฎหมายและระเบียบ ในการกำจัดขยะอันตรายจากการวิจัยและทดลองของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐานสากล
2. รัฐบาลควรพิจารณาใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และมาตรการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ดังนี้
2.1 การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อลดปริมาณขยะและเพิ่มปริมาณการรีไซเคิลขยะ
2.2 การใช้มาตรการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เพื่อจูงใจให้มีการลดปริมาณขยะและส่งเสริมการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
3. สนับสนุนให้จังหวัดมีศูนย์รวมกำจัดขยะจากชุมชน โดย
3.1 รัฐบาลต้องส่งเสริมให้ทุกจังหวัดจัดทำผังเมือง เพื่อเตรียมพื้นที่ไว้สร้างสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย รองรับการกำจัดขยะได้อย่างเพียงพอ
3.2 องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอในการจัดการขยะถูกหลักสุขาภิบาล หรือรัฐบาลให้เงินอุดหนุนแก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นตามความจำเป็น
3.3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดสรรสวัสดิการให้เป็นพิเศษกับชุมชนที่อยู่อาศัยใกล้กับสถานที่กำจัดขยะ
3.4 รัฐควรเป็นตัวกลางในการแจ้งราคารับซื้อคืนขยะต่อสาธารณะผ่านสื่อต่าง ๆ
4. สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแลกเปลี่ยนกากอุตสาหกรรม
5. ปรับปรุงองค์กรและกฎหมายรับผิดชอบการจัดการขยะ ดังนี้
5.1 รัฐควรจัดตั้งองค์กรกลางในการกำกับดูแลนโยบายการแก้ปัญหาขยะทั้งระบบ และการให้คำปรึกษาแนะนำด้านเทคนิควิชาการจัดการขยะแก่องค์การต่าง ๆ
5.2 รัฐควรปรับปรุงกฎหมายด้านการจัดการขยะให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
6. พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการขยะและส่งเสริมกระบวนการผลิตที่สะอาด ดังนี้
6.1 สนับสนุนการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีกำจัดขยะที่มีราคาถูกและเหมาะสมกับประเทศไทย
6.2 ส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้ใช้เทคโนโลยีสะอาด (clean technology)
7. ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะ
8. รัฐควรส่งเสริมให้มีการสอน และฝึกอบรมในเรื่องวินัยการจัดการขยะ การคัดแยกขยะ และการกำจัดของเสียที่ถูกวิธีให้แก่ชุมชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
ทั้งนี้ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้พิจารณาเห็นว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญประการหนึ่งของประเทศคือ นโยบายการจัดการขยะ ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวม จึงมอบหมายให้ คณะทำงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและพลังงานของ สภาที่ปรึกษา ฯ ดำเนินการศึกษาข้อมูล กฎหมาย ระเบียบ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ พร้อมทั้งจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากองค์การภาคประชาชน นักวิชาการ นักธุรกิจและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และจัดสัมมนาใหญ่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และองค์การทุกภาคส่วน เพื่อจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง "นโยบายการจัดการขยะของไทย"
สภาที่ปรึกษาฯ ในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 ได้พิจารณาผลการศึกษาของคณะทำงานฯ ดังกล่าวและมีมติให้เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเรื่อง "นโยบายการจัดการขยะของคนไทย" สรุปได้ดังนี้
1. รัฐบาลควรเร่งส่งเสริมด้านการพัฒนาระบบกำจัดขยะจากชุมชน ขยะอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม ขยะติดเชื้อ ขยะจากห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และขยะอันตรายจากต่างประเทศให้ได้มาตรฐานทั่วประเทศ ดังนี้
1.1 รัฐควรมีมาตรการกำจัดขยะจากชุมชนให้ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึง
1.2 รัฐควรมีมาตรการกำจัดขยะจากภาคอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึง
1.3 รัฐบาลควรเคร่งครัดในการตรวจสอบการกำจัดขยะติดเชื้อ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พร้อมในการจัดการขยะติดเชื้อ
1.4 ปรับปรุงมาตรการควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เป็นขยะอันตรายจากต่างประเทศ
1.5 ปรับปรุงมาตรการ กฎหมายและระเบียบ ในการกำจัดขยะอันตรายจากการวิจัยและทดลองของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐานสากล
2. รัฐบาลควรพิจารณาใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และมาตรการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ดังนี้
2.1 การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อลดปริมาณขยะและเพิ่มปริมาณการรีไซเคิลขยะ
2.2 การใช้มาตรการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เพื่อจูงใจให้มีการลดปริมาณขยะและส่งเสริมการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
3. สนับสนุนให้จังหวัดมีศูนย์รวมกำจัดขยะจากชุมชน โดย
3.1 รัฐบาลต้องส่งเสริมให้ทุกจังหวัดจัดทำผังเมือง เพื่อเตรียมพื้นที่ไว้สร้างสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย รองรับการกำจัดขยะได้อย่างเพียงพอ
3.2 องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอในการจัดการขยะถูกหลักสุขาภิบาล หรือรัฐบาลให้เงินอุดหนุนแก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นตามความจำเป็น
3.3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดสรรสวัสดิการให้เป็นพิเศษกับชุมชนที่อยู่อาศัยใกล้กับสถานที่กำจัดขยะ
3.4 รัฐควรเป็นตัวกลางในการแจ้งราคารับซื้อคืนขยะต่อสาธารณะผ่านสื่อต่าง ๆ
4. สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแลกเปลี่ยนกากอุตสาหกรรม
5. ปรับปรุงองค์กรและกฎหมายรับผิดชอบการจัดการขยะ ดังนี้
5.1 รัฐควรจัดตั้งองค์กรกลางในการกำกับดูแลนโยบายการแก้ปัญหาขยะทั้งระบบ และการให้คำปรึกษาแนะนำด้านเทคนิควิชาการจัดการขยะแก่องค์การต่าง ๆ
5.2 รัฐควรปรับปรุงกฎหมายด้านการจัดการขยะให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
6. พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการขยะและส่งเสริมกระบวนการผลิตที่สะอาด ดังนี้
6.1 สนับสนุนการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีกำจัดขยะที่มีราคาถูกและเหมาะสมกับประเทศไทย
6.2 ส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้ใช้เทคโนโลยีสะอาด (clean technology)
7. ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะ
8. รัฐควรส่งเสริมให้มีการสอน และฝึกอบรมในเรื่องวินัยการจัดการขยะ การคัดแยกขยะ และการกำจัดของเสียที่ถูกวิธีให้แก่ชุมชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-