แท็ก
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงบทบัญญัติเรื่องอำนาจการดำเนินกิจการของกองทุน) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 12) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงบทบัญญัติเรื่องอำนาจการดำเนินกิจการของกองทุน) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2546 เสร็จแล้ว มีการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญหลายประการ ซึ่งกระทรวงการคลังและกองทุนบำเหน็จบำนาญได้เห็นชอบด้วยแล้ว ดังนี้
1. บทนิยาม ได้เพิ่มบทนิยาม "นิติบุคคล" หมายถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับกรณีที่ กบข. อาจมอบหมายให้นิติบุคคลอื่นจัดการเงินกองทุนทั้งในประเทศและในต่างประเทศ
2. การมอบหมายให้จัดการเงินกองทุน กำหนดให้ กบข. สามารถมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นจัดการเงินของกองทุนทั้งในประเทศและในต่างประเทศ ตามที่ กบข. เสนอ และได้แก้ไขอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนและคณะอนุกรรมการจัดการกองทุนเพื่อให้สอดคล้องกับการหาประโยชน์ของกองทุนดังกล่าว
3. การส่งเงินสะสมเข้ากองทุน แก้ไขหลักการเรื่องการให้สมาชิกส่งเงินสะสมเข้ากองทุนได้ตามความสามารถ โดยต้องไม่ต่ำกว่าอัตราเงินสะสมขั้นต่ำ และไม่เกินกว่าอัตราเงินสะสมขั้นสูงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เป็น ให้ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินเดือน ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อไม่ให้สมาชิกส่งเงินสะสมได้ไม่จำกัด เนื่องจากเงินสะสมจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ หากไม่กำหนดอัตราขั้นสูงไว้ก็จะทำให้กระทบต่อการจัดเก็บภาษีของรัฐ และเป็นช่องทางหลีกเลี่ยงภาษีสำหรับรายได้ที่เกิดจากแหล่งรายได้อื่น และได้กำหนดให้ชัดเจนเกี่ยวกับการส่งเงินสะสมของส่วนราชการกรณีสมาชิกไม่มีสิทธิรับเงินเดือน หรือได้รับแต่ไม่เต็มจำนวน ให้ส่งเงินสมทบตามอัตราส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกได้รับ
4. แผนการลงทุน กำหนดให้การนำเงินของกองทุนไปลงทุนจะต้องลงทุนในหลักทรัพย์ที่มั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 เพื่อไม่ให้กองทุนมีความเสี่ยงมากเกินไป แต่กองทุนอาจจัดทำแผนการลงทุนสำหรับเงินในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผล เพื่อให้สมาชิกเลือกลงทุนได้ โดยแต่ละแผนฯ กองทุนอาจกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มั่นคงสูงแตกต่างจากอัตราที่กำหนดไว้ได้ และสมาชิกต้องยอมรับความเสี่ยงและดอกผลที่ได้รับตามแผนการลงทุนที่เลือกไว้
5. การบริหารเงินของผู้ซึ่งยังไม่ขอรับเงินคืน กำหนดหลักเกณฑ์การรับเงินคืนกรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนแต่ยังไม่ขอรับเงินคืนหรือทยอยรับเงินคืน เพื่อให้กองทุนสามารถบริหารเงินของกองทุนต่อไปได้ กรณีนี้คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่12) มีข้อสังเกตว่า หากผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนมายื่นคำขอรับเงินคืน จำนวนเงินที่ผู้นั้นจะได้รับ ได้แก่จำนวนเงินที่ตนมีสิทธิได้รับเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ โดยไม่รวมผลกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นภายหลัง
6. รัฐมนตรีรักษาการ ได้ตัดบทบัญญัติที่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย และมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวงออก เนื่องจากมีกำหนดไว้แล้วในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 12) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงบทบัญญัติเรื่องอำนาจการดำเนินกิจการของกองทุน) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2546 เสร็จแล้ว มีการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญหลายประการ ซึ่งกระทรวงการคลังและกองทุนบำเหน็จบำนาญได้เห็นชอบด้วยแล้ว ดังนี้
1. บทนิยาม ได้เพิ่มบทนิยาม "นิติบุคคล" หมายถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับกรณีที่ กบข. อาจมอบหมายให้นิติบุคคลอื่นจัดการเงินกองทุนทั้งในประเทศและในต่างประเทศ
2. การมอบหมายให้จัดการเงินกองทุน กำหนดให้ กบข. สามารถมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นจัดการเงินของกองทุนทั้งในประเทศและในต่างประเทศ ตามที่ กบข. เสนอ และได้แก้ไขอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนและคณะอนุกรรมการจัดการกองทุนเพื่อให้สอดคล้องกับการหาประโยชน์ของกองทุนดังกล่าว
3. การส่งเงินสะสมเข้ากองทุน แก้ไขหลักการเรื่องการให้สมาชิกส่งเงินสะสมเข้ากองทุนได้ตามความสามารถ โดยต้องไม่ต่ำกว่าอัตราเงินสะสมขั้นต่ำ และไม่เกินกว่าอัตราเงินสะสมขั้นสูงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เป็น ให้ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินเดือน ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อไม่ให้สมาชิกส่งเงินสะสมได้ไม่จำกัด เนื่องจากเงินสะสมจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ หากไม่กำหนดอัตราขั้นสูงไว้ก็จะทำให้กระทบต่อการจัดเก็บภาษีของรัฐ และเป็นช่องทางหลีกเลี่ยงภาษีสำหรับรายได้ที่เกิดจากแหล่งรายได้อื่น และได้กำหนดให้ชัดเจนเกี่ยวกับการส่งเงินสะสมของส่วนราชการกรณีสมาชิกไม่มีสิทธิรับเงินเดือน หรือได้รับแต่ไม่เต็มจำนวน ให้ส่งเงินสมทบตามอัตราส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกได้รับ
4. แผนการลงทุน กำหนดให้การนำเงินของกองทุนไปลงทุนจะต้องลงทุนในหลักทรัพย์ที่มั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 เพื่อไม่ให้กองทุนมีความเสี่ยงมากเกินไป แต่กองทุนอาจจัดทำแผนการลงทุนสำหรับเงินในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผล เพื่อให้สมาชิกเลือกลงทุนได้ โดยแต่ละแผนฯ กองทุนอาจกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มั่นคงสูงแตกต่างจากอัตราที่กำหนดไว้ได้ และสมาชิกต้องยอมรับความเสี่ยงและดอกผลที่ได้รับตามแผนการลงทุนที่เลือกไว้
5. การบริหารเงินของผู้ซึ่งยังไม่ขอรับเงินคืน กำหนดหลักเกณฑ์การรับเงินคืนกรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนแต่ยังไม่ขอรับเงินคืนหรือทยอยรับเงินคืน เพื่อให้กองทุนสามารถบริหารเงินของกองทุนต่อไปได้ กรณีนี้คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่12) มีข้อสังเกตว่า หากผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนมายื่นคำขอรับเงินคืน จำนวนเงินที่ผู้นั้นจะได้รับ ได้แก่จำนวนเงินที่ตนมีสิทธิได้รับเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ โดยไม่รวมผลกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นภายหลัง
6. รัฐมนตรีรักษาการ ได้ตัดบทบัญญัติที่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย และมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวงออก เนื่องจากมีกำหนดไว้แล้วในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-