คณะรัฐมนตรีรับทราบการต่ออายุสัญญาเงินกู้ระยะสั้นแบบ CREDIT LINE ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 อนุม้ติในหลักการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทำสัญญาเงินกู้ระยะสั้นแบบ CREDIT LINE รวม 4 ประเภท จำนวน 9,000 ล้านบาท อายุไม่เกิน 1 ปี ประกอบด้วย กู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 3,000 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำ TRUST RECEIPT (T/R) และการทำสัญญากู้เงินเมื่อทวงถาม (CALL LOAN) ในวงเงิน 6,000 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ/หรือธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ โดยจะพิจารณาทำสัญญากู้เงินตามที่ธนาคารแต่ละแห่งเสนอในรูปแบบที่มีต้นทุนที่ต่ำสุดตามอัตราดอกเบี้ยตลาดยกเว้นการกู้เบิกเงินเกินบัญชี ที่ต้องทำสัญญากู้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพียงแห่งเดียว กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงินดังกล่าว โดยในรายละเอียดในการกู้เงินเห็นควรอนุมัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน และอนุมัติในหลักการให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบต่ออายุสัญญาเงินกู้ดังกล่าวในปีต่อ ๆ ไป ภายในวงเงินไม่เกินที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว และให้รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบทุกครั้ง และในปี 2546 กระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบให้ กฟผ. ต่ออายุสัญญาเงินกู้ระยะสั้นแบบ CREDIT LINE ภายในวงเงิน 9,000 ล้านบาท อายุ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2546 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2547 กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน โดยมีเงื่อนไขในการทำสัญญากู้เงิน ดังนี้
1. อนุมัติให้ กฟผ. ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 3,000 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
2. อนุมัติให้ กฟผ. ทำสัญญากู้เงินแบบตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำ TRUST RECEIPT (T/R) และการทำสัญญากู้เงินเมื่อทวงถาม (CALL LOAN) ในวงเงิน 6,000 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือธนาคารพาณิชย์อื่นในรูปแบบที่มีต้นทุนต่ำสุดโดยวิธีการประมูล ซึ่งคณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2546 ได้รับทราบการต่ออายุวงเงินดังกล่าวแล้ว
โดยที่สัญญาเงินกู้ระยะสั้นดังกล่าวสิ้นสุดในวันที่ 30 พฤษภาคม 2547 แต่ กฟผ. ยังมีความจำเป็นจะต้องใช้วงเงินกู้จำนวนดังกล่าวต่อไป ซึ่งกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า จากลักษณะการดำเนินกิจการของ กฟผ. มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงมาก โดยในปีงบประมาณ 2547 จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งสิ้น 236,965.02 ล้านบาท รายจ่ายลงทุนตามแผนการลงทุนประมาณ 16,881.01 ล้านบาท รวมทั้งการชำระคืนต้นเงินกู้ตามภาระผูกพันอีกจำนวนประมาณ 20,356.84 ล้านบาท ซึ่งบางขณะค่าใช้จ่ายทั้ง 3 รายการ ถึงกำหนดจ่ายในเวลาไล่เลี่ยกัน ไม่สอดคล้องกับเงินสดรับจากการดำเนินงาน อีกทั้งช่วงเวลารับเงินค่าขายกระแสไฟฟ้าและการจ่ายเงินของต้นทุนการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกันบางรายการที่มีจำนวนเงินสูง ไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น กฟผ. ต้องจ่ายค่าแก๊ส จำนวนประมาณ 5,000 ล้านบาท ทุกวันที่ 30 ของเดือน แต่กำหนดการรับค่าขายกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในช่วงต้นเดือนของเดือนถัดไป ทำให้ กฟผ. มีปัญหาขาดแคลนเงินสดระยะสั้นประมาณ 1-2 วัน หรือ 1 สัปดาห์ ประกอบกับ กฟผ. ยังมียอด LETTER OF CREDIT อีกจำนวน 3,054.821 ล้านบาท (ภาระผูกผันที่คาดว่าจะต้องชำระเงิน) ซึ่ง กฟผ. อาจจะต้องทำ TRUST RECEIPT (T/R) กับธนาคารแทนการชำระเงินสดเมื่อมีความจำเป็น ดังนั้น เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องในการบริหารงานสามารถบริหารเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการขอต่ออายุสัญญาเงินกู้ของ กฟผ. ในครั้งนี้ยังอยู่ภายในวงเงินกู้เดิมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไว้แล้ว และไม่เป็นภาระแก่กระทรวงการคลังในด้านการค้ำประกัน จึงเห็นควรให้ กฟผ. ต่ออายุสัญญาเงินกู้ระยะสั้นแบบ CREDIT LINE วงเงิน 9,000 ล้านบาท อายุ 1 ปี ภายใต้เงื่อนไขเดิม นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2547 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 อนุม้ติในหลักการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทำสัญญาเงินกู้ระยะสั้นแบบ CREDIT LINE รวม 4 ประเภท จำนวน 9,000 ล้านบาท อายุไม่เกิน 1 ปี ประกอบด้วย กู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 3,000 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำ TRUST RECEIPT (T/R) และการทำสัญญากู้เงินเมื่อทวงถาม (CALL LOAN) ในวงเงิน 6,000 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ/หรือธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ โดยจะพิจารณาทำสัญญากู้เงินตามที่ธนาคารแต่ละแห่งเสนอในรูปแบบที่มีต้นทุนที่ต่ำสุดตามอัตราดอกเบี้ยตลาดยกเว้นการกู้เบิกเงินเกินบัญชี ที่ต้องทำสัญญากู้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพียงแห่งเดียว กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงินดังกล่าว โดยในรายละเอียดในการกู้เงินเห็นควรอนุมัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน และอนุมัติในหลักการให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบต่ออายุสัญญาเงินกู้ดังกล่าวในปีต่อ ๆ ไป ภายในวงเงินไม่เกินที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้แล้ว และให้รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบทุกครั้ง และในปี 2546 กระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบให้ กฟผ. ต่ออายุสัญญาเงินกู้ระยะสั้นแบบ CREDIT LINE ภายในวงเงิน 9,000 ล้านบาท อายุ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2546 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2547 กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน โดยมีเงื่อนไขในการทำสัญญากู้เงิน ดังนี้
1. อนุมัติให้ กฟผ. ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 3,000 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
2. อนุมัติให้ กฟผ. ทำสัญญากู้เงินแบบตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำ TRUST RECEIPT (T/R) และการทำสัญญากู้เงินเมื่อทวงถาม (CALL LOAN) ในวงเงิน 6,000 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือธนาคารพาณิชย์อื่นในรูปแบบที่มีต้นทุนต่ำสุดโดยวิธีการประมูล ซึ่งคณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2546 ได้รับทราบการต่ออายุวงเงินดังกล่าวแล้ว
โดยที่สัญญาเงินกู้ระยะสั้นดังกล่าวสิ้นสุดในวันที่ 30 พฤษภาคม 2547 แต่ กฟผ. ยังมีความจำเป็นจะต้องใช้วงเงินกู้จำนวนดังกล่าวต่อไป ซึ่งกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า จากลักษณะการดำเนินกิจการของ กฟผ. มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงมาก โดยในปีงบประมาณ 2547 จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งสิ้น 236,965.02 ล้านบาท รายจ่ายลงทุนตามแผนการลงทุนประมาณ 16,881.01 ล้านบาท รวมทั้งการชำระคืนต้นเงินกู้ตามภาระผูกพันอีกจำนวนประมาณ 20,356.84 ล้านบาท ซึ่งบางขณะค่าใช้จ่ายทั้ง 3 รายการ ถึงกำหนดจ่ายในเวลาไล่เลี่ยกัน ไม่สอดคล้องกับเงินสดรับจากการดำเนินงาน อีกทั้งช่วงเวลารับเงินค่าขายกระแสไฟฟ้าและการจ่ายเงินของต้นทุนการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกันบางรายการที่มีจำนวนเงินสูง ไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น กฟผ. ต้องจ่ายค่าแก๊ส จำนวนประมาณ 5,000 ล้านบาท ทุกวันที่ 30 ของเดือน แต่กำหนดการรับค่าขายกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในช่วงต้นเดือนของเดือนถัดไป ทำให้ กฟผ. มีปัญหาขาดแคลนเงินสดระยะสั้นประมาณ 1-2 วัน หรือ 1 สัปดาห์ ประกอบกับ กฟผ. ยังมียอด LETTER OF CREDIT อีกจำนวน 3,054.821 ล้านบาท (ภาระผูกผันที่คาดว่าจะต้องชำระเงิน) ซึ่ง กฟผ. อาจจะต้องทำ TRUST RECEIPT (T/R) กับธนาคารแทนการชำระเงินสดเมื่อมีความจำเป็น ดังนั้น เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องในการบริหารงานสามารถบริหารเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการขอต่ออายุสัญญาเงินกู้ของ กฟผ. ในครั้งนี้ยังอยู่ภายในวงเงินกู้เดิมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไว้แล้ว และไม่เป็นภาระแก่กระทรวงการคลังในด้านการค้ำประกัน จึงเห็นควรให้ กฟผ. ต่ออายุสัญญาเงินกู้ระยะสั้นแบบ CREDIT LINE วงเงิน 9,000 ล้านบาท อายุ 1 ปี ภายใต้เงื่อนไขเดิม นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2547 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-