เรื่อง การนำเสนอวาระสำคัญของรัฐบาล (agenda based) เรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด
ผู้มีอิทธิพล และ ธุรกิจผิดกฎหมาย ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่
ณ จังหวัดลำพูน
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการนำเสนอวาระสำคัญของรัฐบาล (agenda based) เรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด ผู้มีอิทธิพล และธุรกิจผิดกฎหมาย ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดลำพูน ตามที่ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) เสนอแล้วมีมติ ดังนี้
1. รับทราบผลการดำเนินงานการแก้ปัญหายาเสพติดและการปราบปรามผู้มีอิทธิพลและธุรกิจผิดกฎหมาย
2. เห็นชอบการบูรณาการการติดตามการปฏิบัติงานระดับพื้นที่
ศตส. รายงานผลการดำเนินการแก้ปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพลและธุรกิจที่ผิดกฎหมายสรุปได้ดังนี้
1. ในเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด จากการดำเนินงานตาม Roadmap ระยะที่ 1-2 ทำให้รัฐบาลสามารถควบคุมปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศให้เบาบางลงจนไม่กระทบต่อการดำรงชีวิตโดยปกติของประชาชน และสามารถประกาศชัยชนะต่อยาเสพติดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2546 และในระยะที่ 3 ได้ดำรงความเข้มแข็งของพลังแผ่นดินและชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งผลการดำเนินงานตั้งแต่ระยะที่ 1-3 (ระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2546-5 มิถุนายน 2547) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.1 ด้านการควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด สามารถทำลายโครงสร้างกลุ่มการค้ายาเสพติด โดยจับกุมผู้ผลิต จำนวน 11 คน (5 คดี) ผู้ค้ารายสำคัญ 4,030 (3,434คดี) จำนวนของกลางยาบ้า 49.90 ล้านเม็ด มูลค่าทรัพย์สินที่ยึดอายัด 5,050.59 ล้านบาท สกัดกั้นยาเสพติดพื้นที่ชายแดน ได้ของกลางยาบ้า 33.16 ล้านเม็ด เฮโรอีน 461.35 กิโลกรัม ฝิ่น 71.91 กิโลกรัม กัญชาสด 11,473.47 กิโลกรัม กัญชาแห้ง 5,325.73 กิโลกรัม
1.2 ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด สามารถให้การบำบัดรักษาทั้งหมด 300,644 คน ทั้งในระบบสมัครใจ ระบบบังคับบำบัด และระบบต้องโทษ
1.3 ด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด สามารถรณรงค์ให้เยาวชนสมัครเข้าเป็นสมาชิกโครงการ To Be Number One จำนวน 20.8 ล้านคน จัดตั้งผู้ประสานพลังแผ่นดินในระดับหมู่บ้าน 2,871,402 คน และเสริมสร้างดำรงความเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติดและมีระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดของหมู่บ้าน/ชุมชน รวม 67,008 หมู่บ้าน/ชุมชน จาก 83,472 หมู่บ้าน/ชุมชน
1.4 ด้านการบริหารจัดการ มีการจัดตั้งองค์กรต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดในทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับพื้นที่ มีการบูรณาการแผนงบประมาณและการดำเนินงานขึ้นทุกระดับ ตลอดจนเร่งรัด กำกับ ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
2. ในเรื่องการปราบปรามผู้มีอิทธิพลและธุรกิจผิดกฎหมาย จากยุทธศาสตร์การปราบปรามผู้มีอิทธิพล ศตส. ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน เป้าหมายผู้มีอิทธิพล การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีอิทธพล ตลอดจนเร่งรัดให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการปราบปรามผู้มีอิทธิพลโดยเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดและการปราบปรามผู้มีอิทธิพลบูรณาการเป็นแนวทางปฏิบัติโดยผลการดำเนินงานในช่วงเดือน พฤษภาคม 2546 - พฤษภาคม 2547 ที่สำคัญ ได้แก่
2.1 การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีอิทธิพลทั่วประเทศ สรุปรายชื่อผู้มีอิทธิพลระดับแกนนำ 313 ราย รายชื่อผู้มีอิทธิพลทั่วไป 2,525 ราย และรายชื่อบุคคลผู้ต้องเฝ้าระวัง 1,793 ราย โดยกำหนดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานในพื้นที่รับผิดชอบตามลำดับ
2.2 การปราบปรามอาวุธปืน อาวุธสงคราม วัตถุระเบิดและยาเสพติด สามารถจับกุมและยึดอาวุธปืน 945 กระบอก รวมทั้งอาวุธสงครามและระเบิด จับกุมผู้มีอิทธิพลระดับแกนนำ 12 ราย ประชาชนนำอาวุธปืนมามอบให้ทางราชการ และจับกุมผู้มีอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลังขบวนการค้ายาเสพติด โดยจับกุมผู้ผลิต 857 ราย 700 คน จับกุมผู้ค้า 2,372 ราย 3,057 คน และยึด/อายัดทรัพย์ รวมมูลค่า 1,813,295,434 บาท
ทั้งนี้สำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ศตส. และเลขานุการร่วมฝ่ายยุทธศาสตร์ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) เห็นควรเสนอประเด็นต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาบูรณาการการติดตามการปฏิบัติงานระดับพื้นที่ของการแก้ไขปัญหายาเสพติด ผู้มีอิทธิพล และธุรกิจผิดกฎหมาย และความยากจน โดยจะจัดประชุมระดับภูมิภาค จำนวน 4 ครั้ง ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ โดยฝ่ายเลขานุการจะกราบเรียนเชิญนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
ผู้มีอิทธิพล และ ธุรกิจผิดกฎหมาย ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่
ณ จังหวัดลำพูน
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการนำเสนอวาระสำคัญของรัฐบาล (agenda based) เรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด ผู้มีอิทธิพล และธุรกิจผิดกฎหมาย ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดลำพูน ตามที่ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) เสนอแล้วมีมติ ดังนี้
1. รับทราบผลการดำเนินงานการแก้ปัญหายาเสพติดและการปราบปรามผู้มีอิทธิพลและธุรกิจผิดกฎหมาย
2. เห็นชอบการบูรณาการการติดตามการปฏิบัติงานระดับพื้นที่
ศตส. รายงานผลการดำเนินการแก้ปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพลและธุรกิจที่ผิดกฎหมายสรุปได้ดังนี้
1. ในเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด จากการดำเนินงานตาม Roadmap ระยะที่ 1-2 ทำให้รัฐบาลสามารถควบคุมปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศให้เบาบางลงจนไม่กระทบต่อการดำรงชีวิตโดยปกติของประชาชน และสามารถประกาศชัยชนะต่อยาเสพติดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2546 และในระยะที่ 3 ได้ดำรงความเข้มแข็งของพลังแผ่นดินและชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งผลการดำเนินงานตั้งแต่ระยะที่ 1-3 (ระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2546-5 มิถุนายน 2547) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.1 ด้านการควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด สามารถทำลายโครงสร้างกลุ่มการค้ายาเสพติด โดยจับกุมผู้ผลิต จำนวน 11 คน (5 คดี) ผู้ค้ารายสำคัญ 4,030 (3,434คดี) จำนวนของกลางยาบ้า 49.90 ล้านเม็ด มูลค่าทรัพย์สินที่ยึดอายัด 5,050.59 ล้านบาท สกัดกั้นยาเสพติดพื้นที่ชายแดน ได้ของกลางยาบ้า 33.16 ล้านเม็ด เฮโรอีน 461.35 กิโลกรัม ฝิ่น 71.91 กิโลกรัม กัญชาสด 11,473.47 กิโลกรัม กัญชาแห้ง 5,325.73 กิโลกรัม
1.2 ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด สามารถให้การบำบัดรักษาทั้งหมด 300,644 คน ทั้งในระบบสมัครใจ ระบบบังคับบำบัด และระบบต้องโทษ
1.3 ด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด สามารถรณรงค์ให้เยาวชนสมัครเข้าเป็นสมาชิกโครงการ To Be Number One จำนวน 20.8 ล้านคน จัดตั้งผู้ประสานพลังแผ่นดินในระดับหมู่บ้าน 2,871,402 คน และเสริมสร้างดำรงความเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติดและมีระบบเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดของหมู่บ้าน/ชุมชน รวม 67,008 หมู่บ้าน/ชุมชน จาก 83,472 หมู่บ้าน/ชุมชน
1.4 ด้านการบริหารจัดการ มีการจัดตั้งองค์กรต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดในทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับพื้นที่ มีการบูรณาการแผนงบประมาณและการดำเนินงานขึ้นทุกระดับ ตลอดจนเร่งรัด กำกับ ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
2. ในเรื่องการปราบปรามผู้มีอิทธิพลและธุรกิจผิดกฎหมาย จากยุทธศาสตร์การปราบปรามผู้มีอิทธิพล ศตส. ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน เป้าหมายผู้มีอิทธิพล การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีอิทธพล ตลอดจนเร่งรัดให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการปราบปรามผู้มีอิทธิพลโดยเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดและการปราบปรามผู้มีอิทธิพลบูรณาการเป็นแนวทางปฏิบัติโดยผลการดำเนินงานในช่วงเดือน พฤษภาคม 2546 - พฤษภาคม 2547 ที่สำคัญ ได้แก่
2.1 การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีอิทธิพลทั่วประเทศ สรุปรายชื่อผู้มีอิทธิพลระดับแกนนำ 313 ราย รายชื่อผู้มีอิทธิพลทั่วไป 2,525 ราย และรายชื่อบุคคลผู้ต้องเฝ้าระวัง 1,793 ราย โดยกำหนดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานในพื้นที่รับผิดชอบตามลำดับ
2.2 การปราบปรามอาวุธปืน อาวุธสงคราม วัตถุระเบิดและยาเสพติด สามารถจับกุมและยึดอาวุธปืน 945 กระบอก รวมทั้งอาวุธสงครามและระเบิด จับกุมผู้มีอิทธิพลระดับแกนนำ 12 ราย ประชาชนนำอาวุธปืนมามอบให้ทางราชการ และจับกุมผู้มีอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลังขบวนการค้ายาเสพติด โดยจับกุมผู้ผลิต 857 ราย 700 คน จับกุมผู้ค้า 2,372 ราย 3,057 คน และยึด/อายัดทรัพย์ รวมมูลค่า 1,813,295,434 บาท
ทั้งนี้สำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ศตส. และเลขานุการร่วมฝ่ายยุทธศาสตร์ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) เห็นควรเสนอประเด็นต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาบูรณาการการติดตามการปฏิบัติงานระดับพื้นที่ของการแก้ไขปัญหายาเสพติด ผู้มีอิทธิพล และธุรกิจผิดกฎหมาย และความยากจน โดยจะจัดประชุมระดับภูมิภาค จำนวน 4 ครั้ง ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ โดยฝ่ายเลขานุการจะกราบเรียนเชิญนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-