คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานความคืบหน้าการ
ช่วยเหลือผู้ประสบภัย การฟื้นฟูและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย ครั้งที่ 3
จนถึงวันที่ 24 มกราคม 2548 ดังนี้
1. อุทยานแห่งชาติจำนวน 13 แห่ง มีความเสียหายมาก จำนวน 5 แห่ง (50 — 95%) และมีความเสียหายต่ำกว่า 50% จำนวน 8 แห่ง
2. ตรวจพบความผิดปกติของปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา เกิดหลุมยุบ แผ่นดินแยกตัว จำนวน
15 แห่ง ใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ สตูล พังงา ตรัง และนครศรีธรรมราช และเกิดตะกอนขุ่นข้นในน้ำบาดาลบริเวณอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ รวมทั้งการเพิ่มของจำนวนน้ำพุร้อนบริเวณอำเภอกะปง และอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
3. ปะการัง ที่ได้รับความเสียหายมากในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล ซึ่งควรให้งดการดำเนิน
กิจกรรมท่องเที่ยว เพื่อให้แนวปะการังสามารถฟื้นตัวได้แก่ เกาะค้างคาว เกาะกำนุ้ย ในเขตอุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง เกาะไผ่ และอ่าวต้นไทรบริเวณปีกอ่าวด้านตะวันตก ในหมู่เกาะพีพี อ่าวผักกาด บริเวณเกาะสุรินทร์ใต้และเกาะตอรินลาฝั่งตะวันออกและตะวันตกในพื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ และเกาะเมียง (เกาะสี่) บริเวณปีกอ่าวตอนเหนือและฝั่งด้านใต้ เกาะปายู (เกาะเจ็ด) ด้านตะวันออกเฉียงเหนือใต้ และเกาะสิมิลัน (เกาะแปด) ด้านเหนือและหินหน้าลิง ในพื้นที่เกาะสิมิลัน
4. ป่าชายเลน พบความเสียหายในพื้นที่จังหวัดพังงา 1,900 ไร่ และภูเก็ต 10 ไร่
5. หญ้าทะเล ส่วนใหญ่มีสภาพปกติ มีพื้นที่ความเสียหายมากกว่า 20% จำนวน 3 พื้นที่
6. ทรัพยากรน้ำ บ่อน้ำบาดาลเสียหาย 850 บ่อ บ่อน้ำตื้น 500 บ่อ ระบบประปาแบบบาดาล 425 แห่ง ระบบประปาผิวดิน 30 แห่ง และแหล่งน้ำเสียหาย 12 แห่ง
การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ได้ให้การสนับสนุนที่พักชั่วคราว โดยส่งเต็นท์ (Camping Ground) และถุงนอนรวมประมาณ 200 ชุด ให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่อุทยานฯ และนอกพื้นที่อุทยานฯ รวมทั้งได้ดำเนินการรื้อซากปรักหักพังในบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต และอุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง และขนย้ายสิ่งกีดขวาง ณ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา การบริการน้ำสะอาด โดยการติดตั้งชุดประปาสนาม 4 จุด ในบริเวณ อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และได้มีการแจกจ่ายน้ำสะอาด จำนวน 3,372,000 ลิตร ณ บ้านเขาหลัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา รวมทั้งจัดระบบประปาโดยการเจาะบ่อบาดาลใหม่ และติดตั้งระบบประปาบาดาลให้ผู้อพยพที่ศูนย์ที่พักชั่วคราว 5 จุด ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง จังหวัดพังงา
นอกจากนี้ได้ทำความสะอาดแหล่งน้ำบาดาล ติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหว ทำความสะอาดบริเวณอุทยานแห่งชาติที่ได้รับความเสียหายทั้งบนบกและในทะเล ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคในแหล่งกักขัง ปรับปรุงแหล่งน้ำของพื้นที่เกิดภัย ให้ความรู้กับชุมชนในการตรวจสอบเชื้อโคลิฟอร์มและค่าคลอรีนตกค้าง ตลอดจนการจัดการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ที่ประสบธรณีพิบัติภัยภาคใต้ ได้แก่ 1.การจัดการข้อมูลและประเมินความเสียหาย 2.การจัดการฟื้นฟูชุมชนและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม 3.การฟื้นฟูพื้นที่อุทยานแห่งชาติและแหล่งท่องเที่ยว 4.การแบ่งมอบภารกิจในระดับพื้นที่ให้มีความชัดเจน โดยให้ประสานงานกับส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--
ช่วยเหลือผู้ประสบภัย การฟื้นฟูและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย ครั้งที่ 3
จนถึงวันที่ 24 มกราคม 2548 ดังนี้
1. อุทยานแห่งชาติจำนวน 13 แห่ง มีความเสียหายมาก จำนวน 5 แห่ง (50 — 95%) และมีความเสียหายต่ำกว่า 50% จำนวน 8 แห่ง
2. ตรวจพบความผิดปกติของปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา เกิดหลุมยุบ แผ่นดินแยกตัว จำนวน
15 แห่ง ใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ สตูล พังงา ตรัง และนครศรีธรรมราช และเกิดตะกอนขุ่นข้นในน้ำบาดาลบริเวณอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ รวมทั้งการเพิ่มของจำนวนน้ำพุร้อนบริเวณอำเภอกะปง และอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
3. ปะการัง ที่ได้รับความเสียหายมากในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล ซึ่งควรให้งดการดำเนิน
กิจกรรมท่องเที่ยว เพื่อให้แนวปะการังสามารถฟื้นตัวได้แก่ เกาะค้างคาว เกาะกำนุ้ย ในเขตอุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง เกาะไผ่ และอ่าวต้นไทรบริเวณปีกอ่าวด้านตะวันตก ในหมู่เกาะพีพี อ่าวผักกาด บริเวณเกาะสุรินทร์ใต้และเกาะตอรินลาฝั่งตะวันออกและตะวันตกในพื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ และเกาะเมียง (เกาะสี่) บริเวณปีกอ่าวตอนเหนือและฝั่งด้านใต้ เกาะปายู (เกาะเจ็ด) ด้านตะวันออกเฉียงเหนือใต้ และเกาะสิมิลัน (เกาะแปด) ด้านเหนือและหินหน้าลิง ในพื้นที่เกาะสิมิลัน
4. ป่าชายเลน พบความเสียหายในพื้นที่จังหวัดพังงา 1,900 ไร่ และภูเก็ต 10 ไร่
5. หญ้าทะเล ส่วนใหญ่มีสภาพปกติ มีพื้นที่ความเสียหายมากกว่า 20% จำนวน 3 พื้นที่
6. ทรัพยากรน้ำ บ่อน้ำบาดาลเสียหาย 850 บ่อ บ่อน้ำตื้น 500 บ่อ ระบบประปาแบบบาดาล 425 แห่ง ระบบประปาผิวดิน 30 แห่ง และแหล่งน้ำเสียหาย 12 แห่ง
การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ได้ให้การสนับสนุนที่พักชั่วคราว โดยส่งเต็นท์ (Camping Ground) และถุงนอนรวมประมาณ 200 ชุด ให้แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่อุทยานฯ และนอกพื้นที่อุทยานฯ รวมทั้งได้ดำเนินการรื้อซากปรักหักพังในบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต และอุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง และขนย้ายสิ่งกีดขวาง ณ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา การบริการน้ำสะอาด โดยการติดตั้งชุดประปาสนาม 4 จุด ในบริเวณ อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และได้มีการแจกจ่ายน้ำสะอาด จำนวน 3,372,000 ลิตร ณ บ้านเขาหลัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา รวมทั้งจัดระบบประปาโดยการเจาะบ่อบาดาลใหม่ และติดตั้งระบบประปาบาดาลให้ผู้อพยพที่ศูนย์ที่พักชั่วคราว 5 จุด ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง จังหวัดพังงา
นอกจากนี้ได้ทำความสะอาดแหล่งน้ำบาดาล ติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหว ทำความสะอาดบริเวณอุทยานแห่งชาติที่ได้รับความเสียหายทั้งบนบกและในทะเล ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคในแหล่งกักขัง ปรับปรุงแหล่งน้ำของพื้นที่เกิดภัย ให้ความรู้กับชุมชนในการตรวจสอบเชื้อโคลิฟอร์มและค่าคลอรีนตกค้าง ตลอดจนการจัดการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ที่ประสบธรณีพิบัติภัยภาคใต้ ได้แก่ 1.การจัดการข้อมูลและประเมินความเสียหาย 2.การจัดการฟื้นฟูชุมชนและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม 3.การฟื้นฟูพื้นที่อุทยานแห่งชาติและแหล่งท่องเที่ยว 4.การแบ่งมอบภารกิจในระดับพื้นที่ให้มีความชัดเจน โดยให้ประสานงานกับส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--