คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2543 เกี่ยวกับพื้นที่ที่อนุมัติให้ดำเนินการออกเอกสารสิทธิจากเดิมที่เข้าใจว่าเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ 8,169 ไร่ เป็นการอนุมัติให้ดำเนินการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าไม้ถาวร พื้นที่นอกเขตป่า (ที่รกร้าง) และพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมเนื้อที่ 9,416-1-02 ไร่ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการออกเอกสารสิทธิที่ดินให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ดำเนินการเพิกถอนเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม บริเวณบ้านใหม่รัตนโกสินทร์ หมู่ 5 ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ เนื่องจากปัจจุบันมีสภาพเป็นที่อยู่อาศัยของราษฎร แล้วให้ส่งมอบพื้นที่ให้กรมที่ดินไปดำเนินการออกเอกสารสิทธิที่ดินให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. มอบพื้นที่ที่เพิกถอนออกจากป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) จำนวน 5,388-0-3 ไร่ ให้กรมที่ดิน และ สปก. ดำเนินการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎร โดยให้คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติพิจารณาให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว
4. การกำหนดหลักเกณฑ์การออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎร ดังนี้
4.1 กรณีราษฎรที่มีรายชื่อตรงกับบัญชีรายชื่อผู้ได้รับความช่วยเหลือให้ได้รับที่จัดสรรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2543 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการออกเอกสารสิทธิได้ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยให้เป็นไปตามผังที่ กฟผ. จัดสรรเงินไว้เดิม
4.2 กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ครอบครองที่ดิน ซึ่งมีรายชื่อไม่ตรงกับบัญชีรายชื่อของ กฟผ. ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะจัดตั้งขึ้นโดยจังหวัดลำปางพิจารณาชี้ขาดถึงสิทธิการครอบครองที่ดิน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการออกเอกสารสิทธิ ตามมติคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ครอบครองที่ดินจะต้องดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
5. หลักเกณฑ์การจัดสรรพื้นที่ว่างเปล่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 อนุมาตรา 1 และที่สาธารณประโยชน์ภายหลังดำเนินการเพิกถอนพื้นที่ป่า ดังนี้
5.1 ที่ดินที่เป็นสถานที่ราชการ และพื้นที่ว่างเปล่าหรือที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกสร้างโดย กฟผ. พื้นที่ดังกล่าวจะเป็นที่ราชพัสดุและอยู่ในการดูแลของกรมธนารักษ์
5.2 พื้นที่ว่างเปล่าหรือที่สาธารณประโยชน์ส่วนที่เหลือจากข้อ 5.1 ให้อยู่ในความดูแลของจังหวัดลำปาง โดยให้มีลักษณะเป็นที่ที่สงวนไว้ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งหากราษฎรอำเภอแม่เมาะต้องการใช้ประโยชน์ในที่ว่างดังกล่าว จะต้องเสนอเรื่องให้จังหวัดลำปางพิจารณาเป็นคราวไป
6. ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ที่มีอยู่เดิม และให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นใหม่ ให้สอดคล้องกับการแบ่งส่วนราชการใหม่ เพื่อให้คณะกรรมการฯ สามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และให้จังหวัดลำปางร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไปได้
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) รายงานว่า
1. จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 15 สิงหาคม 2543 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค นายจาตุตนต์ ฉายแสง และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ซึ่งกำกับดูแล กฟผ. ในขณะนั้น ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยมอบหมายให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และคณะกรรมการดังกล่าวได้มีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนราษฎรที่ได้รับผลกระทบเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวรวม 16 ครั้ง โดยได้มีการจัดประชุมทั้งที่ สปน. และที่จังหวัดลำปาง รวมทั้งได้มีการเดินทางไปดูสภาพข้อเท็จจริงของพื้นที่ที่จะออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรที่อำเภอแม่เมาะด้วย
2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ สำหรับการจัดทำแผนที่ประกอบ ร่างกฎกระทรวงเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติ 3 ฉบับ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 สิงหาคม 2543 ซึ่งปรากฎข้อเท็จจริงว่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ กฟผ. ได้รับอนุญาตไว้เดิม จำนวน 8,169 ไร่ นั้น ประกอบด้วย พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ในเขตป่าไม้ถาวร และพื้นที่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งมีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 9,416-1-02 ไร่
3. ผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
3.1 ทส. ได้จัดทำร่างกฎกระทรวงเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติ 3 ฉบับ เนื้อที่ 5,432-1-21 ไร่ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2545 และได้ส่งร่างกฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อไป ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
3.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติจำแนกประเภทที่ดิน ตามมติคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2547 และคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547 มีมติเห็นชอบให้มอบพื้นที่ที่จำแนกออกจากป่าไม้ถาวรดังกล่าว ให้แก่กรมที่ดิน และกรมธนารักษ์ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 สิงหาคม 2543 ด้วย
3.3 กรมที่ดินได้ดำเนินการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่ที่จำแนกออกจากป่าไม้ถาวรและได้ดำเนินการเสร็จสิ้นในวันที่ 31 สิงหาคม 2547 ซึ่งผลการปฏิบัติงานปรากฏว่า ได้มีการรังวัดที่ดินทั้งสิ้น จำนวน 1,033 แปลง เนื้อที่ 1,329-2-40 ไร่ และสามารถแจกโฉนดที่ดินได้แล้ว จำนวน 771 แปลง
4. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ มีดังนี้
4.1 ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการเพิกถอนสภาพป่า เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 สิงหาคม 2543 ได้กำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในที่ดินที่ได้รับการเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติบนเนื้อที่ประมาณ 8,169 ไร่ แต่เนื่องจากภายหลังการสำรวจพื้นที่ ปรากฎข้อเท็จจริงว่าที่ดินแปลงดังกล่าวไม่ใช่พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแต่เพียงอย่างเดียว แต่ประกอบด้วยพื้นที่ในเขตป่าไม้ถาวร พื้นที่นอกเขตป่า (ที่รกร้าง) และที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินด้วย และมีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 9,416-1-02 ไร่ ดังนั้น การดำเนินการออกเอกสารสิทธิในแต่ละพื้นที่จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง
4.2 ปัญหาเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิ มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 สิงหาคม 2543 กำหนดให้ออกเอกสารสิทธิในส่วนที่อยู่อาศัย และออก ส.ป.ก.4-01 ในส่วนที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรตามบัญชีรายชื่อผู้ได้รับความช่วยเหลือให้ได้รับที่จัดสรรของ กฟผ. แต่เมื่อระยะเวลาได้ล่วงเลยมาเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดปัญหาการถือครองที่ดิน รวม 2 ประเด็น ดังนี้
1) รายชื่อของผู้อยู่อาศัยและที่ทำกินในปัจจุบันไม่ตรงตามบัญชีรายชื่อผู้ได้รับความช่วยเหลือให้ได้รับที่จัดสรรของ กฟผ. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือครอง
2) การใช้ประโยชน์จากที่ดินตามแผนผังการจัดสรรที่ของ กฟผ. ไม่ตรงกับสภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบัน
4.3 จากการสำรวจพื้นที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้ทราบว่า ภายหลังการเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติ และดำเนินการออกเอกสารสิทธิของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามบัญชีของ กฟผ. แล้ว จะมีพื้นที่ส่วนหนึ่งที่จะมีสภาพเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวนี้คณะรัฐมนตรียังมิได้มีมติมอบหมายให้หน่วยงานใดเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลพื้นที่ ประกอบกับผู้แทนของราษฎรอำเภอแม่เมาะที่ได้รับผลกระทบได้เรียกร้องต่อคณะกรรมการฯ ให้มีการจัดสรรพื้นที่ว่างเปล่า และที่สาธารณประโยชน์สำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกันของราษฎรอำเภอแม่เมาะ ภายหลังการเพิกถอนสภาพป่า ซึ่งในหลายกรณีมีข้อจำกัดทางด้านกฎหมายที่ไม่สามารถดำเนินการตามข้อเรียกร้องของราษฎรได้
4.4 เนื่องจากพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการใหม่ โดยได้มีการจัดตั้งกระทรวง กรมขึ้นใหม่ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งให้ กฟผ. ไปสังกัดกระทรวงพลังงาน ประกอบกับการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิดังกล่าว ต้องเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของหลายหน่วยงาน จึงเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ใหม่ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป
5. เนื่องจากในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ของคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ได้มีความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง และได้ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการจึงได้มีมติเห็นสมควรขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ รวม 5 ประการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มีนาคม 2548--จบ--
1. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2543 เกี่ยวกับพื้นที่ที่อนุมัติให้ดำเนินการออกเอกสารสิทธิจากเดิมที่เข้าใจว่าเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เนื้อที่ 8,169 ไร่ เป็นการอนุมัติให้ดำเนินการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าไม้ถาวร พื้นที่นอกเขตป่า (ที่รกร้าง) และพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมเนื้อที่ 9,416-1-02 ไร่ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการออกเอกสารสิทธิที่ดินให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ดำเนินการเพิกถอนเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม บริเวณบ้านใหม่รัตนโกสินทร์ หมู่ 5 ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ เนื่องจากปัจจุบันมีสภาพเป็นที่อยู่อาศัยของราษฎร แล้วให้ส่งมอบพื้นที่ให้กรมที่ดินไปดำเนินการออกเอกสารสิทธิที่ดินให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. มอบพื้นที่ที่เพิกถอนออกจากป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) จำนวน 5,388-0-3 ไร่ ให้กรมที่ดิน และ สปก. ดำเนินการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎร โดยให้คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติพิจารณาให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว
4. การกำหนดหลักเกณฑ์การออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎร ดังนี้
4.1 กรณีราษฎรที่มีรายชื่อตรงกับบัญชีรายชื่อผู้ได้รับความช่วยเหลือให้ได้รับที่จัดสรรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2543 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการออกเอกสารสิทธิได้ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยให้เป็นไปตามผังที่ กฟผ. จัดสรรเงินไว้เดิม
4.2 กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ครอบครองที่ดิน ซึ่งมีรายชื่อไม่ตรงกับบัญชีรายชื่อของ กฟผ. ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะจัดตั้งขึ้นโดยจังหวัดลำปางพิจารณาชี้ขาดถึงสิทธิการครอบครองที่ดิน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการออกเอกสารสิทธิ ตามมติคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ครอบครองที่ดินจะต้องดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
5. หลักเกณฑ์การจัดสรรพื้นที่ว่างเปล่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 อนุมาตรา 1 และที่สาธารณประโยชน์ภายหลังดำเนินการเพิกถอนพื้นที่ป่า ดังนี้
5.1 ที่ดินที่เป็นสถานที่ราชการ และพื้นที่ว่างเปล่าหรือที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสิ่งปลูกสร้างที่ปลูกสร้างโดย กฟผ. พื้นที่ดังกล่าวจะเป็นที่ราชพัสดุและอยู่ในการดูแลของกรมธนารักษ์
5.2 พื้นที่ว่างเปล่าหรือที่สาธารณประโยชน์ส่วนที่เหลือจากข้อ 5.1 ให้อยู่ในความดูแลของจังหวัดลำปาง โดยให้มีลักษณะเป็นที่ที่สงวนไว้ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งหากราษฎรอำเภอแม่เมาะต้องการใช้ประโยชน์ในที่ว่างดังกล่าว จะต้องเสนอเรื่องให้จังหวัดลำปางพิจารณาเป็นคราวไป
6. ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ที่มีอยู่เดิม และให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นใหม่ ให้สอดคล้องกับการแบ่งส่วนราชการใหม่ เพื่อให้คณะกรรมการฯ สามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และให้จังหวัดลำปางร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไปได้
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) รายงานว่า
1. จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 15 สิงหาคม 2543 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค นายจาตุตนต์ ฉายแสง และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ซึ่งกำกับดูแล กฟผ. ในขณะนั้น ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยมอบหมายให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และคณะกรรมการดังกล่าวได้มีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนราษฎรที่ได้รับผลกระทบเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวรวม 16 ครั้ง โดยได้มีการจัดประชุมทั้งที่ สปน. และที่จังหวัดลำปาง รวมทั้งได้มีการเดินทางไปดูสภาพข้อเท็จจริงของพื้นที่ที่จะออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรที่อำเภอแม่เมาะด้วย
2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ สำหรับการจัดทำแผนที่ประกอบ ร่างกฎกระทรวงเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติ 3 ฉบับ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 สิงหาคม 2543 ซึ่งปรากฎข้อเท็จจริงว่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ กฟผ. ได้รับอนุญาตไว้เดิม จำนวน 8,169 ไร่ นั้น ประกอบด้วย พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ในเขตป่าไม้ถาวร และพื้นที่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งมีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 9,416-1-02 ไร่
3. ผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
3.1 ทส. ได้จัดทำร่างกฎกระทรวงเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติ 3 ฉบับ เนื้อที่ 5,432-1-21 ไร่ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2545 และได้ส่งร่างกฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อไป ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
3.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติจำแนกประเภทที่ดิน ตามมติคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2547 และคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547 มีมติเห็นชอบให้มอบพื้นที่ที่จำแนกออกจากป่าไม้ถาวรดังกล่าว ให้แก่กรมที่ดิน และกรมธนารักษ์ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 สิงหาคม 2543 ด้วย
3.3 กรมที่ดินได้ดำเนินการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่ที่จำแนกออกจากป่าไม้ถาวรและได้ดำเนินการเสร็จสิ้นในวันที่ 31 สิงหาคม 2547 ซึ่งผลการปฏิบัติงานปรากฏว่า ได้มีการรังวัดที่ดินทั้งสิ้น จำนวน 1,033 แปลง เนื้อที่ 1,329-2-40 ไร่ และสามารถแจกโฉนดที่ดินได้แล้ว จำนวน 771 แปลง
4. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ มีดังนี้
4.1 ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการเพิกถอนสภาพป่า เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 สิงหาคม 2543 ได้กำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในที่ดินที่ได้รับการเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติบนเนื้อที่ประมาณ 8,169 ไร่ แต่เนื่องจากภายหลังการสำรวจพื้นที่ ปรากฎข้อเท็จจริงว่าที่ดินแปลงดังกล่าวไม่ใช่พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแต่เพียงอย่างเดียว แต่ประกอบด้วยพื้นที่ในเขตป่าไม้ถาวร พื้นที่นอกเขตป่า (ที่รกร้าง) และที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินด้วย และมีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 9,416-1-02 ไร่ ดังนั้น การดำเนินการออกเอกสารสิทธิในแต่ละพื้นที่จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง
4.2 ปัญหาเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิ มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 สิงหาคม 2543 กำหนดให้ออกเอกสารสิทธิในส่วนที่อยู่อาศัย และออก ส.ป.ก.4-01 ในส่วนที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรตามบัญชีรายชื่อผู้ได้รับความช่วยเหลือให้ได้รับที่จัดสรรของ กฟผ. แต่เมื่อระยะเวลาได้ล่วงเลยมาเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดปัญหาการถือครองที่ดิน รวม 2 ประเด็น ดังนี้
1) รายชื่อของผู้อยู่อาศัยและที่ทำกินในปัจจุบันไม่ตรงตามบัญชีรายชื่อผู้ได้รับความช่วยเหลือให้ได้รับที่จัดสรรของ กฟผ. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือครอง
2) การใช้ประโยชน์จากที่ดินตามแผนผังการจัดสรรที่ของ กฟผ. ไม่ตรงกับสภาพการใช้ที่ดินในปัจจุบัน
4.3 จากการสำรวจพื้นที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้ทราบว่า ภายหลังการเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติ และดำเนินการออกเอกสารสิทธิของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามบัญชีของ กฟผ. แล้ว จะมีพื้นที่ส่วนหนึ่งที่จะมีสภาพเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวนี้คณะรัฐมนตรียังมิได้มีมติมอบหมายให้หน่วยงานใดเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลพื้นที่ ประกอบกับผู้แทนของราษฎรอำเภอแม่เมาะที่ได้รับผลกระทบได้เรียกร้องต่อคณะกรรมการฯ ให้มีการจัดสรรพื้นที่ว่างเปล่า และที่สาธารณประโยชน์สำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกันของราษฎรอำเภอแม่เมาะ ภายหลังการเพิกถอนสภาพป่า ซึ่งในหลายกรณีมีข้อจำกัดทางด้านกฎหมายที่ไม่สามารถดำเนินการตามข้อเรียกร้องของราษฎรได้
4.4 เนื่องจากพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการใหม่ โดยได้มีการจัดตั้งกระทรวง กรมขึ้นใหม่ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งให้ กฟผ. ไปสังกัดกระทรวงพลังงาน ประกอบกับการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิดังกล่าว ต้องเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของหลายหน่วยงาน จึงเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ใหม่ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป
5. เนื่องจากในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ของคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ได้มีความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง และได้ปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการจึงได้มีมติเห็นสมควรขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ รวม 5 ประการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มีนาคม 2548--จบ--