คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง นโยบายการจัดการขยะของไทยตามที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปดำเนินงาน ดังนี้
1. รับประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาดำเนินการตามประเด็นอภิปรายต่าง ๆ ของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธาน เช่น การจัดการขยะจากกิจการอุตสาหกรรม โรงพยาบาล และสถานพยาบาล ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ การจัดการแหล่งกำจัดขยะ และการพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีสะอาด
2. รับไปพิจารณาปรับแผนการจัดการขยะทั้งแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการตามประเด็นอภิปราย ข้อ 1 โดยให้คำนึงถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฯลฯ เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงานร่วมกันได้อย่างประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดการขยะในภาคเหนือเสนอคณะรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการ ที่จังหวัดลำพูนด้วย
4. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการขยะทั้งหมดเพื่อหารือกับรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ประธานกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต่อไป
สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า คณะทำงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและพลังงานได้ดำเนินการศึกษาข้อมูล กฎหมายระเบียบ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ พร้อมทั้งจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรภาคประชาชน นักวิชาการ นักธุรกิจและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและจัดสัมมนาใหญ่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และองค์กรทุกภาคส่วน เพื่อจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง "นโยบายการจัดการขยะของไทย" ซึ่งในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 สภาที่ปรึกษาฯ ได้พิจารณาผลการศึกษาของคณะทำงานฯ และมีมติให้เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเรื่อง "นโยบายการจัดการขยะของไทย" มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้
1. รัฐบาลควรเร่งส่งเสริมด้านการพัฒนาระบบกำจัดขยะจากชุมชน ขยะอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม ขยะติดเชื้อ ขยะจากห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และขยะอันตรายจากต่างประเทศให้ได้มาตรฐานทั่วประเทศ
2. รัฐบาลควรพิจารณาใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายเพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
3. สนับสนุนให้จังหวัดมีศูนย์รวมกำจัดขยะจากชุมชน
4. สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแลกเปลี่ยนกากอุตสาหกรรม
5. ปรับปรุงองค์กรและกฎหมายรับผิดชอบการจัดการขยะ
6. พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการขยะและส่งเสริมกระบวนการผลิตที่สะอาด
7. ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะ
8. รัฐควรส่งเสริมให้มีการสอน และฝึกอบรมในเรื่องการจัดการขยะ การคัดแยกขยะ และการกำจัดของเสียที่ถูกวิธีให้แก่ชุมชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. รับประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาดำเนินการตามประเด็นอภิปรายต่าง ๆ ของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธาน เช่น การจัดการขยะจากกิจการอุตสาหกรรม โรงพยาบาล และสถานพยาบาล ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ การจัดการแหล่งกำจัดขยะ และการพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีสะอาด
2. รับไปพิจารณาปรับแผนการจัดการขยะทั้งแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการตามประเด็นอภิปราย ข้อ 1 โดยให้คำนึงถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฯลฯ เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงานร่วมกันได้อย่างประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดการขยะในภาคเหนือเสนอคณะรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการ ที่จังหวัดลำพูนด้วย
4. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการขยะทั้งหมดเพื่อหารือกับรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ประธานกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต่อไป
สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า คณะทำงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและพลังงานได้ดำเนินการศึกษาข้อมูล กฎหมายระเบียบ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ พร้อมทั้งจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรภาคประชาชน นักวิชาการ นักธุรกิจและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและจัดสัมมนาใหญ่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และองค์กรทุกภาคส่วน เพื่อจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง "นโยบายการจัดการขยะของไทย" ซึ่งในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 สภาที่ปรึกษาฯ ได้พิจารณาผลการศึกษาของคณะทำงานฯ และมีมติให้เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเรื่อง "นโยบายการจัดการขยะของไทย" มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้
1. รัฐบาลควรเร่งส่งเสริมด้านการพัฒนาระบบกำจัดขยะจากชุมชน ขยะอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม ขยะติดเชื้อ ขยะจากห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และขยะอันตรายจากต่างประเทศให้ได้มาตรฐานทั่วประเทศ
2. รัฐบาลควรพิจารณาใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายเพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
3. สนับสนุนให้จังหวัดมีศูนย์รวมกำจัดขยะจากชุมชน
4. สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแลกเปลี่ยนกากอุตสาหกรรม
5. ปรับปรุงองค์กรและกฎหมายรับผิดชอบการจัดการขยะ
6. พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการขยะและส่งเสริมกระบวนการผลิตที่สะอาด
7. ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะ
8. รัฐควรส่งเสริมให้มีการสอน และฝึกอบรมในเรื่องการจัดการขยะ การคัดแยกขยะ และการกำจัดของเสียที่ถูกวิธีให้แก่ชุมชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-