เรื่อง ความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับ
สิทธิการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินบนต้นน้ำกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : กรณีต้นน้ำน่าน
คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับสิทธิการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินบนต้นน้ำกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : กรณีต้นน้ำน่าน และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธาน ไปพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับความเห็นและข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาฯ ด้วย
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า สภาที่ปรึกษาฯ ได้มอบหมายให้คณะทำงานสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองผู้บริโภคดำเนินการศึกษาปัญหาสิทธิการถือครองและการทำประโยชน์ในที่ดินเพื่อให้ได้ข้อมูลและข้อเสนอแนะเนวทางการแก้ไขที่เป็นประโยชน์ โดยนำประเด็นปัญหาต้นน้ำในจังหวัดน่านเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากได้เกิดข้อพิพาทของประชาชน 2 กลุ่ม (ราษฎรบ้านเชียงกลางกับราษฎรบ้านป่ากลาง) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบุกรุกที่ดินบริเวณต้นน้ำ เพื่อทำประโยชน์ทางการเกษตรและอื่น ๆ จนทำให้ที่ดินปลายน้ำได้รับผลกระทบ ในการนี้ สภาที่ปรึกษา ฯ มีมติให้เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ "สิทธิการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : กรณีต้นน้ำน่าน" ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้พิจารณากำหนดนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนเกี่ยวกับสิทธิการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและการแบ่งปันทรัพยากรที่ดินบนต้นน้ำอย่างชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. การแก้ปัญหาการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า อาจใช้ยุทธศาสตร์ "คนอยู่กับป่า" โดยให้ราษฎรถือครองที่ดินจำนวนที่พอเหมาะกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว และใช้ประโยชน์จากที่ดินเพียงเพื่อทำกินเลี้ยงชีพเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" หรืออีกแนวทางหนึ่งรัฐจะให้สิทธิกับราษฎรผู้ที่เข้าไปปลูกป่า ได้ตัดต้นไม้ที่โตแล้วไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายภายใต้หลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนด
2. รัฐควรปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการส่งเสริมการประกอบอาชีพในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ ป่าอนุรักษ์ ป่าต้นน้ำ ตลอดจนเขตที่ดินทำกินบนพื้นที่สูง โดยให้คำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ราบ ดังนั้น รัฐจึงไม่ควรที่จะส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวหรือการปลูกพืชในลักษณะเป็นการเกษตรเชิงพาณิชย์ ที่ต้องการปริมาณน้ำเป็นจำนวนมากหรือการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีและการใช้สารเคมีฆ่าวัชพืช เพราะจะส่งผลกระทบต่อการแห้งขอดของลำน้ำ
3. การมีสิทธิในที่ดินทำกินเพื่อเลี้ยงชีพ มีความสำคัญต่อความมั่นคงทางสังคมของประเทศ จึงจำเป็นที่รัฐพึงจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ประชาชนที่ไร้ที่ทำกินในสถานที่และจำนวนที่เหมาะสม
4. รัฐไม่ควรให้เอกสารสิทธิในลักษณะที่ผู้ถือครองสามารถจะจำหน่ายหรือถ่ายโอนให้แก่ประชาชนที่ทำกินในเขตอุทยานแห่งชาติ หรือเขตพื้นที่อนุรักษ์ป่าต้นน้ำ เช่น โฉนด นส. 3 หรือ ใบเหยียบย่ำ เป็นต้น แต่ควรให้เอกสารที่ใช้สิทธิครอบครองเพื่อทำกินเท่านั้น อนึ่ง รัฐควรให้สิทธิครอบครองที่ดินอีกลักษณะหนึ่ง คือ สิทธิครอบครองเพื่อทำกินของชุมชน ซึ่งในแต่ละภูมิภาคก็มีรูปแบบการถือครองที่ดินของตนเองอยู่ก่อนแล้ว
5. ส่งเสริมให้ราษฎรได้ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านนำเอาเศษไม้ ใบไม้ที่ตกหล่น พืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่เหลือใช้ และมูลสัตว์ นำมาผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อให้ทดแทนปุ๋ยเคมี
6. แนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาแหล่งต้นน้ำในระยะสั้น รัฐควรจัดสรรงบประมาณในการขุดลอกแหล่งน้ำตื้นเขิน เนื่องจากการทับถมของเศษหินเศษดินที่พังทลายตกลงมาจากที่สูง อันส่งผลกระทบต่อเส้นทางไหลของน้ำ
7. ควรให้ภาคประชาชนและภาครัฐได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุม ดูแลการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์จากป่า ประการสำคัญรัฐจะต้องสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้เข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของป่า ซึ่งเป็นสมบัติของประชาชนทั้งชาติ
8. กระบวนการ รูปแบบ และวิธีดำเนินการต่าง ๆ ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสิทธิที่ดินทำกิน การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาแหล่งต้นน้ำ และการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ได้ใช้แนวทางสันติวิธีโดยไม่เลือกปฏิบัติควรละเว้นการใช้กำลังและอำนาจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
สิทธิการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินบนต้นน้ำกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : กรณีต้นน้ำน่าน
คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับสิทธิการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินบนต้นน้ำกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : กรณีต้นน้ำน่าน และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธาน ไปพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับความเห็นและข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาฯ ด้วย
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า สภาที่ปรึกษาฯ ได้มอบหมายให้คณะทำงานสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองผู้บริโภคดำเนินการศึกษาปัญหาสิทธิการถือครองและการทำประโยชน์ในที่ดินเพื่อให้ได้ข้อมูลและข้อเสนอแนะเนวทางการแก้ไขที่เป็นประโยชน์ โดยนำประเด็นปัญหาต้นน้ำในจังหวัดน่านเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากได้เกิดข้อพิพาทของประชาชน 2 กลุ่ม (ราษฎรบ้านเชียงกลางกับราษฎรบ้านป่ากลาง) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบุกรุกที่ดินบริเวณต้นน้ำ เพื่อทำประโยชน์ทางการเกษตรและอื่น ๆ จนทำให้ที่ดินปลายน้ำได้รับผลกระทบ ในการนี้ สภาที่ปรึกษา ฯ มีมติให้เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ "สิทธิการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : กรณีต้นน้ำน่าน" ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้พิจารณากำหนดนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนเกี่ยวกับสิทธิการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและการแบ่งปันทรัพยากรที่ดินบนต้นน้ำอย่างชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. การแก้ปัญหาการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า อาจใช้ยุทธศาสตร์ "คนอยู่กับป่า" โดยให้ราษฎรถือครองที่ดินจำนวนที่พอเหมาะกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว และใช้ประโยชน์จากที่ดินเพียงเพื่อทำกินเลี้ยงชีพเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" หรืออีกแนวทางหนึ่งรัฐจะให้สิทธิกับราษฎรผู้ที่เข้าไปปลูกป่า ได้ตัดต้นไม้ที่โตแล้วไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายภายใต้หลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนด
2. รัฐควรปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการส่งเสริมการประกอบอาชีพในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ ป่าอนุรักษ์ ป่าต้นน้ำ ตลอดจนเขตที่ดินทำกินบนพื้นที่สูง โดยให้คำนึงถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ราบ ดังนั้น รัฐจึงไม่ควรที่จะส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวหรือการปลูกพืชในลักษณะเป็นการเกษตรเชิงพาณิชย์ ที่ต้องการปริมาณน้ำเป็นจำนวนมากหรือการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีและการใช้สารเคมีฆ่าวัชพืช เพราะจะส่งผลกระทบต่อการแห้งขอดของลำน้ำ
3. การมีสิทธิในที่ดินทำกินเพื่อเลี้ยงชีพ มีความสำคัญต่อความมั่นคงทางสังคมของประเทศ จึงจำเป็นที่รัฐพึงจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ประชาชนที่ไร้ที่ทำกินในสถานที่และจำนวนที่เหมาะสม
4. รัฐไม่ควรให้เอกสารสิทธิในลักษณะที่ผู้ถือครองสามารถจะจำหน่ายหรือถ่ายโอนให้แก่ประชาชนที่ทำกินในเขตอุทยานแห่งชาติ หรือเขตพื้นที่อนุรักษ์ป่าต้นน้ำ เช่น โฉนด นส. 3 หรือ ใบเหยียบย่ำ เป็นต้น แต่ควรให้เอกสารที่ใช้สิทธิครอบครองเพื่อทำกินเท่านั้น อนึ่ง รัฐควรให้สิทธิครอบครองที่ดินอีกลักษณะหนึ่ง คือ สิทธิครอบครองเพื่อทำกินของชุมชน ซึ่งในแต่ละภูมิภาคก็มีรูปแบบการถือครองที่ดินของตนเองอยู่ก่อนแล้ว
5. ส่งเสริมให้ราษฎรได้ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านนำเอาเศษไม้ ใบไม้ที่ตกหล่น พืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่เหลือใช้ และมูลสัตว์ นำมาผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อให้ทดแทนปุ๋ยเคมี
6. แนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาแหล่งต้นน้ำในระยะสั้น รัฐควรจัดสรรงบประมาณในการขุดลอกแหล่งน้ำตื้นเขิน เนื่องจากการทับถมของเศษหินเศษดินที่พังทลายตกลงมาจากที่สูง อันส่งผลกระทบต่อเส้นทางไหลของน้ำ
7. ควรให้ภาคประชาชนและภาครัฐได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุม ดูแลการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์จากป่า ประการสำคัญรัฐจะต้องสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้เข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของป่า ซึ่งเป็นสมบัติของประชาชนทั้งชาติ
8. กระบวนการ รูปแบบ และวิธีดำเนินการต่าง ๆ ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสิทธิที่ดินทำกิน การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาแหล่งต้นน้ำ และการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ได้ใช้แนวทางสันติวิธีโดยไม่เลือกปฏิบัติควรละเว้นการใช้กำลังและอำนาจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-