คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับเรื่อง แนวทางการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั่วประเทศ โดยมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากร-ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเจ้าของเรื่องรับไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำความเห็น ผลการพิจารณาและผลการดำเนินการ ตามความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธานและนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
สภาที่ปรึกษาฯ รายงานว่า คณะทำงานศึกษาและอนุรักษ์แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ได้ดำเนินการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั่วประเทศ โดยจัดประชุมเสวนาร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนและนักวิชาการ รวมทั้งการศึกษาดูงานในพื้นที่ เพื่อจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะในเรื่องดังกล่าว ซึ่งในคราวประชุม ครั้งที่ 6/2547 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2547 สภาที่ปรึกษาฯ ได้พิจารณาผลการศึกษาของคณะทำงานฯ แล้วมีมติให้เสนอปัญหาของการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั่วประเทศ รวมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี สรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาของการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน
1.1 ขาดบุคลากรที่ชำนาญด้านการเดินระบบและควบคุมดูแลรักษา
1.2 ขาดความชัดเจนในด้านการบังคับใช้กฎหมาย
1.3 ขาดการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และข้อเท็จจริงแก่ชุมชนและประชาชน
1.4 ขาดงบประมาณสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสีย
1.5 บ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านเป็นกรณีตัวอย่างที่มีปัญหาในเรื่องประเด็นนโยบาย เป้าหมาย แผนงาน การสำรวจออกแบบ รวมทั้งงบประมาณโดยรวม ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาแล้วไม่มีเจ้าภาพที่แท้จริงแก้ไขปัญหาดังกล่าว
2. ข้อเสนอแนะ
2.1 ภาครัฐควรกวดขันให้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามผังเมืองซึ่งจะเป็นการระบุตำแหน่งการขยายตัวของเมืองและกิจกรรมการขยายตัวของเกษตรกรรม ปศุสัตว์ รวมทั้งอุตสาหกรรมเพื่อการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 ควรเปิดโอกาสให้ชุมชนและประชาชนในพื้นที่เข้ามาร่วมรับรู้เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น
2.3 ในการจัดสรรงบประมาณสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรพิจารณาจากแผนผังเมืองกำหนดภาระหน้าที่ที่ท้องถิ่นจะต้องดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมและน้ำเสีย พร้อมงบประมาณที่จัดสรรตามแผนการดำเนินการไว้ให้ชัดเจน
2.4 นำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายมาใช้ปฏิบัติอย่างจริงจังและผลักดันให้มีการจัดเก็บบริการบำบัดน้ำเสียอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดความเป็นธรรมแก่ชุมชนและประชาชน
2.5 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหากไม่ประสงค์จะดำเนินงานและดูแลบำรุงรักษาระบบเองก็สามารถว่าจ้างเอกชนหรือบริษัทที่ปรึกษาที่มีความชำนาญการควบคุมระบบหรือมอบหมายให้องค์การจัดการน้ำเสียมาดำเนินการแทนได้
2.6 เสริมสร้างสมรรถนะและพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีศักยภาพในการบริหารจัดการ มีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสียและดูแลบำรุงรักษา
2.7 ภาครัฐจะต้องกวดขันและตรวจสอบการใช้กฎหมายในเรื่องการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะอย่างจริงจัง
2.8 ภาครัฐควรมีระบบบำบัดน้ำเสียระบบอื่น ๆ นอกจากระบบสามัญ (Conventional Treatment) ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
2.9 ภาครัฐต้องมีความชัดเจนภายหลังการปฏิรูประบบราชการ ปี 2545 ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ส่วนราชการกำกับดูแล (Regulator) ส่วนราชการดำเนินการเชิงปฏิบัติ (Operator) และส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจดำเนินการในลักษณะก่อสร้างระบบและปัจจัยประกอบ
2.10 ภาครัฐต้องมีแผนในการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมควบคู่ไปกับการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน
2.11 ภาครัฐควรแก้ไขนโยบาย เป้าหมาย แผนงาน แผนปฏิบัติ แผนงบประมาณ ส่วนราชการรับผิดชอบ การจัดลำดับความสำคัญ รวมทั้งการติดตามประเมินผล
2.12 การดำเนินการเกี่ยวกับโครงการระบบบำบัดน้ำเสียที่มีมูลค่าสูงควรให้องค์กรวิชาชีพกลาง เช่น สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบความถูกต้องทุกด้าน รวมถึงการกำหนด Conceptual Design เพื่อมิให้เกิดการผิดพลาด
2.13 ควรมีการประเมินผลโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียในจังหวัดต่างๆ รวมถึงกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาความคุ้มค่าการลงทุนและการดำเนินงานให้เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
สภาที่ปรึกษาฯ รายงานว่า คณะทำงานศึกษาและอนุรักษ์แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ได้ดำเนินการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั่วประเทศ โดยจัดประชุมเสวนาร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนและนักวิชาการ รวมทั้งการศึกษาดูงานในพื้นที่ เพื่อจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะในเรื่องดังกล่าว ซึ่งในคราวประชุม ครั้งที่ 6/2547 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2547 สภาที่ปรึกษาฯ ได้พิจารณาผลการศึกษาของคณะทำงานฯ แล้วมีมติให้เสนอปัญหาของการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั่วประเทศ รวมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี สรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาของการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน
1.1 ขาดบุคลากรที่ชำนาญด้านการเดินระบบและควบคุมดูแลรักษา
1.2 ขาดความชัดเจนในด้านการบังคับใช้กฎหมาย
1.3 ขาดการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และข้อเท็จจริงแก่ชุมชนและประชาชน
1.4 ขาดงบประมาณสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสีย
1.5 บ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านเป็นกรณีตัวอย่างที่มีปัญหาในเรื่องประเด็นนโยบาย เป้าหมาย แผนงาน การสำรวจออกแบบ รวมทั้งงบประมาณโดยรวม ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาแล้วไม่มีเจ้าภาพที่แท้จริงแก้ไขปัญหาดังกล่าว
2. ข้อเสนอแนะ
2.1 ภาครัฐควรกวดขันให้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามผังเมืองซึ่งจะเป็นการระบุตำแหน่งการขยายตัวของเมืองและกิจกรรมการขยายตัวของเกษตรกรรม ปศุสัตว์ รวมทั้งอุตสาหกรรมเพื่อการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 ควรเปิดโอกาสให้ชุมชนและประชาชนในพื้นที่เข้ามาร่วมรับรู้เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น
2.3 ในการจัดสรรงบประมาณสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรพิจารณาจากแผนผังเมืองกำหนดภาระหน้าที่ที่ท้องถิ่นจะต้องดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมและน้ำเสีย พร้อมงบประมาณที่จัดสรรตามแผนการดำเนินการไว้ให้ชัดเจน
2.4 นำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายมาใช้ปฏิบัติอย่างจริงจังและผลักดันให้มีการจัดเก็บบริการบำบัดน้ำเสียอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดความเป็นธรรมแก่ชุมชนและประชาชน
2.5 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหากไม่ประสงค์จะดำเนินงานและดูแลบำรุงรักษาระบบเองก็สามารถว่าจ้างเอกชนหรือบริษัทที่ปรึกษาที่มีความชำนาญการควบคุมระบบหรือมอบหมายให้องค์การจัดการน้ำเสียมาดำเนินการแทนได้
2.6 เสริมสร้างสมรรถนะและพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีศักยภาพในการบริหารจัดการ มีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสียและดูแลบำรุงรักษา
2.7 ภาครัฐจะต้องกวดขันและตรวจสอบการใช้กฎหมายในเรื่องการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะอย่างจริงจัง
2.8 ภาครัฐควรมีระบบบำบัดน้ำเสียระบบอื่น ๆ นอกจากระบบสามัญ (Conventional Treatment) ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
2.9 ภาครัฐต้องมีความชัดเจนภายหลังการปฏิรูประบบราชการ ปี 2545 ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ส่วนราชการกำกับดูแล (Regulator) ส่วนราชการดำเนินการเชิงปฏิบัติ (Operator) และส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจดำเนินการในลักษณะก่อสร้างระบบและปัจจัยประกอบ
2.10 ภาครัฐต้องมีแผนในการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมควบคู่ไปกับการบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน
2.11 ภาครัฐควรแก้ไขนโยบาย เป้าหมาย แผนงาน แผนปฏิบัติ แผนงบประมาณ ส่วนราชการรับผิดชอบ การจัดลำดับความสำคัญ รวมทั้งการติดตามประเมินผล
2.12 การดำเนินการเกี่ยวกับโครงการระบบบำบัดน้ำเสียที่มีมูลค่าสูงควรให้องค์กรวิชาชีพกลาง เช่น สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบความถูกต้องทุกด้าน รวมถึงการกำหนด Conceptual Design เพื่อมิให้เกิดการผิดพลาด
2.13 ควรมีการประเมินผลโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียในจังหวัดต่างๆ รวมถึงกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาความคุ้มค่าการลงทุนและการดำเนินงานให้เป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-