แท็ก
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
มาตรการช่วยเหลือ
สำนักงบประมาณ
ชายแดนภาคใต้
คณะรัฐมนตรี
เกษตรกร
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนและไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และให้ธ.ก.ส. ได้รับเงินชดเชยจากรัฐบาล โดยให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชดเชยให้ ธ.ก.ส. เป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่งบประมาณปี 2546 เป็นต้นไป
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้สรุปได้ ดังนี้
1. ระยะเวลาการดำเนินการ รวมทั้งสิ้น 3 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2550) ทั้งนี้ จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ความไม่สงบทุกปี เพื่อมากำหนดแนวทางและมาตรการในการให้ความช่วยเหลือตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
2. กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรลูกค้ารายคนทั้งหมดที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้อยู่กับ ธ.ก.ส. จำนวน 58,980 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ จำนวน 6,079 ล้านบาท
3. แนวทางในการช่วยเหลือ
3.1 หนี้เงินกู้เดิม
1) เกษตรกรลูกค้าไม่ต้องชำระต้นเงินและดอกเบี้ยในส่วนของต้นเงินที่ไม่เกิน 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2550
2) ดอกเบี้ยในส่วนของต้นเงินที่ไม่เกิน 200,000 บาท ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2550 เกษตรกรลูกค้าไม่ต้องจ่าย รัฐบาลจะเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ยแทนเกษตรกรลูกค้าให้แก่ ธ.ก.ส.
3) ดอกเบี้ยในส่วนของต้นเงินที่เกินกว่า 200,000 บาท ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2550 เกษตรกรลูกค้าจะต้องรับภาระเองตามชั้นลูกค้า
3.2 หนี้เงินกู้ใหม่ สามารถขอกู้เงินสัญญาใหม่เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหรือค่าลงทุนในการฟื้นฟูการผลิตหรือหาอาชีพใหม่ รายละเอียดไม่เกิน 50,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยตามชั้นลูกค้ากำหนดชำระคืนเป็นรายปีไม่เกิน 3 ปี โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี
3.3 สำหรับดอกเบี้ยที่ค้างชำระก่อนเริ่มโครงการ ธ.ก.ส. จะพิจารณากำหนดแผนการผ่อนชำระตามความเหมาะสมเป็นราย ๆ ไป
3.5 ธ.ก.ส. จะให้การฟื้นฟูการประกอบอาชีพแก่เกษตรกรลูกค้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้สรุปได้ ดังนี้
1. ระยะเวลาการดำเนินการ รวมทั้งสิ้น 3 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2550) ทั้งนี้ จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ความไม่สงบทุกปี เพื่อมากำหนดแนวทางและมาตรการในการให้ความช่วยเหลือตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
2. กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรลูกค้ารายคนทั้งหมดที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้อยู่กับ ธ.ก.ส. จำนวน 58,980 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ จำนวน 6,079 ล้านบาท
3. แนวทางในการช่วยเหลือ
3.1 หนี้เงินกู้เดิม
1) เกษตรกรลูกค้าไม่ต้องชำระต้นเงินและดอกเบี้ยในส่วนของต้นเงินที่ไม่เกิน 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2550
2) ดอกเบี้ยในส่วนของต้นเงินที่ไม่เกิน 200,000 บาท ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2550 เกษตรกรลูกค้าไม่ต้องจ่าย รัฐบาลจะเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ยแทนเกษตรกรลูกค้าให้แก่ ธ.ก.ส.
3) ดอกเบี้ยในส่วนของต้นเงินที่เกินกว่า 200,000 บาท ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2550 เกษตรกรลูกค้าจะต้องรับภาระเองตามชั้นลูกค้า
3.2 หนี้เงินกู้ใหม่ สามารถขอกู้เงินสัญญาใหม่เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหรือค่าลงทุนในการฟื้นฟูการผลิตหรือหาอาชีพใหม่ รายละเอียดไม่เกิน 50,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยตามชั้นลูกค้ากำหนดชำระคืนเป็นรายปีไม่เกิน 3 ปี โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี
3.3 สำหรับดอกเบี้ยที่ค้างชำระก่อนเริ่มโครงการ ธ.ก.ส. จะพิจารณากำหนดแผนการผ่อนชำระตามความเหมาะสมเป็นราย ๆ ไป
3.5 ธ.ก.ส. จะให้การฟื้นฟูการประกอบอาชีพแก่เกษตรกรลูกค้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-