คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามกรอบหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ที่ได้มีการดำเนินการและมีผลเกิดขึ้นต่อประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ครั้งที่ 2 สรุปได้ดังนี้
1. การส่งเสริม และพัฒนาอาชีพ รวมทั้งการสร้างรายได้
1.1 ได้ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ของทั้ง 3 จังหวัด จำนวน 10 กลุ่ม หมุนเวียนนำสินค้ามาจำหน่ายที่ห้างเทสโก โลตัส และห้างแม็คโคร ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อให้สินค้าของกลุ่มแม่บ้านและกลุ่มผู้ผลิตในท้องถิ่นมีช่องทางการจำหน่ายและสร้างรายได้กลับสู่ชุมชนมากขึ้นและต่อเนื่องโดยหน่วยงานในพื้นที่บริหารจัดการกลุ่ม ซึ่งในระหว่างวันที่ 1-15 มิถุนายน 2547 มียอดจำหน่ายรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 52,032 บาท
1.2 จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ได้ร่วมมือกันจัดงาน "OTOP นรา ยะลา ตานี เทอดไท้องค์ราชินี" ในระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2547 ณ โรงแรม ซี เอส ปัตตานี จังหวัดปัตตานี ซึ่งหน่วยงานกระทรวงพาณิชย์ได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานนำกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเข้าร่วมงานแสดงสินค้า นอกจากนี้ได้ประสานงานกับกรมส่งเสริมการส่งออกขอให้เชิญชวนนักธุรกิจและ Intertrader มาร่วมงานและเจรจากับผู้ผลิตสินค้าของ 3 จังหวัดในงานดังกล่าวด้วย
1.3 หน่วยงานในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ได้จัดอบรมให้ความรู้ด้านการใช้เครื่องชั่งตวงวัด ด้านการตลาด ด้านการบริหารจัดการ แก่กลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์/เกษตรกร จำนวน 141 คน และนำผู้แทนกลุ่มฯ ศึกษาดูงานด้านการตลาด จำนวน 29 ราย
2. ด้านการส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้า
2.1 หน่วยงานใน 3 จังหวัด มีการเตรียมการดำเนินโครงการส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าและโครงการส่งเสริมการประกอบธุรกิจบริการ ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของกระทรวงพาณิชย์ โดยการวางระบบและให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในด้านการบริหารการจัดการการตลาดแก่ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร อู่ซ่อมรถจักรยานยนต์ และสนับสนุนอุปกรณ์ตกแต่งร้านและอุปกรณ์ในการทำธุรกิจ ใน 3 จังหวัด
3. ด้านการส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
3.1 หน่วยงานในจังหวัดนราธิวาส ได้ส่งเสริมกลุ่มผู้ค้าชายแดนรายใหม่ทำการค้ากับประเทศมาเลเซียซึ่งมีการส่งออกสินค้าตัวใหม่ ๆ ไปประเทศมาเลเซีย ได้แก่ น้ำปลา เครื่องดื่มชูกำลัง โดยมีมูลค่าการส่งออกเฉพาะในส่วนนี้จำนวน 1,216,000 บาท และอำนวยความสะดวกในการออกเอกสารรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อสนับสนุนการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายในประเทศมาเลเซียไปแล้ว จำนวน 530 ฉบับ (มกราคม - 17 มิถุนายน 2547)
3.2 หน่วยงานในจังหวัดปัตตานีประสานผู้ประกอบการส่งออกรายย่อยในจังหวัดไปเจรจาธุรกิจการค้ากับนักธุรกิจประเทศมาเลเซียในเดือนกรกฎาคม 2547 เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าชายแดนของจังหวัด
4. ด้านการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคและประชาชน (ด้านราคาปัญหาการขาดแคลนและการกักตุนสินค้า ด้านการประกันภัย)
4.1 เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน หน่วยงานในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้ประสานห้างสรรพสินค้า มินิมาร์ท จัดมุมสินค้าธงฟ้าราคาประหยัด จังหวัดละ 1-2 แห่ง มีแผนดำเนินการในเดือน กรกฎาคม 2547
4.2 ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานประกอบการกำกับดูแลราคาสินค้า/บริการและการชั่งตวงวัด เพื่อเป็นการดูแลคุ้มครองผู้บริโภคและเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัด มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบในเรื่องราคาและน้ำหนักของสินค้า ซึ่งได้ตรวจสอบผู้ประกอบการจำนวน 1,729 รายไม่พบผู้กระทำความผิด ส่วนการตรวจสอบเครื่องชั่งตวงวัด ณ ตลาดสด โรงสี และผู้ประกอบการค้าพืชไร่ จำนวน 12,377 ราย 13,875 เครื่อง ยึดเครื่องชั่งที่ไม่ถูกต้อง 102 เครื่อง และผูกบัตรห้ามใช้ 103 เครื่อง มีแผนการอบรมแนะนำเรื่องเครื่องชั่งตวงวัดให้แก่เกษตรกรใน 3 จังหวัด ในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2547 จำนวน 3 ครั้ง ในส่วนของศูนย์บริการประชาชน (Call Center) ไม่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาราคาสินค้าและเครื่องชั่งตวงวัด
4.3 ได้ช่วยเหลือและดูแลผลประโยชน์ของประชาชนในเรื่องการประกันภัยและประกันชีวิต โดยเฉพาะในเรื่องการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมข้อพิพาท การร้องเรียนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
5. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและพัฒนาตามศักยภาพของจังหวัด คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 อนุมัติแผนงาน/โครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ด้านเศรษฐกิจและสังคม) ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2-5 จำนวน 75 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์ 5 โครงการ ที่ต้องดำเนินการภายในปีงบประมาณ 2547 ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดเบิกเงินงบประมาณและแผนปฏิบัติการในแต่ละโครงการส่งฝ่ายเลขานุการ รวบรวม ได้แก่
5.1 โครงการจัดตั้งศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าระดับอำเภอ (60 ล้านบาท)
5.2 โครงการจัดสร้างห้องเย็นจังหวัดยะลา (5 ล้านบาท)
5.3 โครงการส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้า (6 ล้านบาท)
5.4 โครงการส่งเสริมการประกอบธุรกิจบริการ (13 ล้านบาท)
5.5 โครงการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (20 ล้านบาท)
6. การแก้ไขปัญหาราคาผลไม้
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ใน 3 จังหวัดภาคใต้ กระทรวงฯ ได้ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาราคาลองกอง ลางสาด ปี 2547 โดยนำเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย ให้จังหวัด ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จังหวัดละ 5 ล้านบาท ไปดำเนินการซื้อลองกอง ลางสาด จากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร ในราคานำตลาดและนำไปกระจายและจำหน่ายยังจังหวัดปลายทาง โดยให้ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและค่าขนส่งตามที่จ่ายจริง ไม่เกินร้อยละ 3 ระยะเวลาดำเนินการในเดือนกรกฎาคม- กันยายน 2547
7. การพัฒนาเพื่อสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจการค้า
กระทรวงฯ อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้พลิกฟื้นสถานการณ์กลับสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้เร็วที่สุด โดยการสร้างโอกาส สนับสนุนให้ประชาชนได้มีการจ้างงาน สร้างอาชีพเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย ซึ่งมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
7.1 จัดตั้งศูนย์พัฒนาพาณิชย์ทักษิณ เป็นศูนย์ในการให้บริการของกระทรวงพาณิชย์ในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการค้าแก่ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีกิจกรรมเป็นศูนย์จัดแสดง จำหน่ายสินค้า เป็นสถานที่เจรจาธุรกิจระหว่างนักธุรกิจกับผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นสถานที่ฝึกอบรมด้านต่าง ๆ เช่น การออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ การบริหารจัดการ การพัฒนาคุณภาพสินค้า การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน การประกันภัย การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เป็นศูนย์เชื่อมโยง เป็นแหล่งรวบรวมและกระจายผลผลิตใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
7.2 จัดตั้งอาสาพาณิชย์ทักษิณ โดยการคัดเลือกผู้ประกอบการ/ผู้นำชุมชน/ประชาชน/เยาวชนให้เป็นอาสาพัฒนาพาณิชย์ทักษิณ (อส.พท.) จังหวัดละ 200 คน รวม 600 คน เพื่อเป็นเครือข่ายการดำเนินงาน/กิจกรรมด้านการค้าการตลาดของกระทรวงพาณิชย์รวมทั้งขยายผลสู่ประชาชน ผู้ประกอบการ รวมทั้งเยาวชนได้มีโอกาสนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปเผยแพร่ ถ่ายทอด เพื่อใช้กลไกด้านการพาณิชย์เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ใช้ในการประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. การส่งเสริม และพัฒนาอาชีพ รวมทั้งการสร้างรายได้
1.1 ได้ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ของทั้ง 3 จังหวัด จำนวน 10 กลุ่ม หมุนเวียนนำสินค้ามาจำหน่ายที่ห้างเทสโก โลตัส และห้างแม็คโคร ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อให้สินค้าของกลุ่มแม่บ้านและกลุ่มผู้ผลิตในท้องถิ่นมีช่องทางการจำหน่ายและสร้างรายได้กลับสู่ชุมชนมากขึ้นและต่อเนื่องโดยหน่วยงานในพื้นที่บริหารจัดการกลุ่ม ซึ่งในระหว่างวันที่ 1-15 มิถุนายน 2547 มียอดจำหน่ายรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 52,032 บาท
1.2 จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ได้ร่วมมือกันจัดงาน "OTOP นรา ยะลา ตานี เทอดไท้องค์ราชินี" ในระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2547 ณ โรงแรม ซี เอส ปัตตานี จังหวัดปัตตานี ซึ่งหน่วยงานกระทรวงพาณิชย์ได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานนำกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเข้าร่วมงานแสดงสินค้า นอกจากนี้ได้ประสานงานกับกรมส่งเสริมการส่งออกขอให้เชิญชวนนักธุรกิจและ Intertrader มาร่วมงานและเจรจากับผู้ผลิตสินค้าของ 3 จังหวัดในงานดังกล่าวด้วย
1.3 หน่วยงานในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ได้จัดอบรมให้ความรู้ด้านการใช้เครื่องชั่งตวงวัด ด้านการตลาด ด้านการบริหารจัดการ แก่กลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์/เกษตรกร จำนวน 141 คน และนำผู้แทนกลุ่มฯ ศึกษาดูงานด้านการตลาด จำนวน 29 ราย
2. ด้านการส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้า
2.1 หน่วยงานใน 3 จังหวัด มีการเตรียมการดำเนินโครงการส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าและโครงการส่งเสริมการประกอบธุรกิจบริการ ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของกระทรวงพาณิชย์ โดยการวางระบบและให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในด้านการบริหารการจัดการการตลาดแก่ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร อู่ซ่อมรถจักรยานยนต์ และสนับสนุนอุปกรณ์ตกแต่งร้านและอุปกรณ์ในการทำธุรกิจ ใน 3 จังหวัด
3. ด้านการส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
3.1 หน่วยงานในจังหวัดนราธิวาส ได้ส่งเสริมกลุ่มผู้ค้าชายแดนรายใหม่ทำการค้ากับประเทศมาเลเซียซึ่งมีการส่งออกสินค้าตัวใหม่ ๆ ไปประเทศมาเลเซีย ได้แก่ น้ำปลา เครื่องดื่มชูกำลัง โดยมีมูลค่าการส่งออกเฉพาะในส่วนนี้จำนวน 1,216,000 บาท และอำนวยความสะดวกในการออกเอกสารรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อสนับสนุนการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายในประเทศมาเลเซียไปแล้ว จำนวน 530 ฉบับ (มกราคม - 17 มิถุนายน 2547)
3.2 หน่วยงานในจังหวัดปัตตานีประสานผู้ประกอบการส่งออกรายย่อยในจังหวัดไปเจรจาธุรกิจการค้ากับนักธุรกิจประเทศมาเลเซียในเดือนกรกฎาคม 2547 เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าชายแดนของจังหวัด
4. ด้านการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคและประชาชน (ด้านราคาปัญหาการขาดแคลนและการกักตุนสินค้า ด้านการประกันภัย)
4.1 เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน หน่วยงานในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้ประสานห้างสรรพสินค้า มินิมาร์ท จัดมุมสินค้าธงฟ้าราคาประหยัด จังหวัดละ 1-2 แห่ง มีแผนดำเนินการในเดือน กรกฎาคม 2547
4.2 ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานประกอบการกำกับดูแลราคาสินค้า/บริการและการชั่งตวงวัด เพื่อเป็นการดูแลคุ้มครองผู้บริโภคและเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัด มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบในเรื่องราคาและน้ำหนักของสินค้า ซึ่งได้ตรวจสอบผู้ประกอบการจำนวน 1,729 รายไม่พบผู้กระทำความผิด ส่วนการตรวจสอบเครื่องชั่งตวงวัด ณ ตลาดสด โรงสี และผู้ประกอบการค้าพืชไร่ จำนวน 12,377 ราย 13,875 เครื่อง ยึดเครื่องชั่งที่ไม่ถูกต้อง 102 เครื่อง และผูกบัตรห้ามใช้ 103 เครื่อง มีแผนการอบรมแนะนำเรื่องเครื่องชั่งตวงวัดให้แก่เกษตรกรใน 3 จังหวัด ในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2547 จำนวน 3 ครั้ง ในส่วนของศูนย์บริการประชาชน (Call Center) ไม่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาราคาสินค้าและเครื่องชั่งตวงวัด
4.3 ได้ช่วยเหลือและดูแลผลประโยชน์ของประชาชนในเรื่องการประกันภัยและประกันชีวิต โดยเฉพาะในเรื่องการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมข้อพิพาท การร้องเรียนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
5. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและพัฒนาตามศักยภาพของจังหวัด คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 อนุมัติแผนงาน/โครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ด้านเศรษฐกิจและสังคม) ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2-5 จำนวน 75 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์ 5 โครงการ ที่ต้องดำเนินการภายในปีงบประมาณ 2547 ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดเบิกเงินงบประมาณและแผนปฏิบัติการในแต่ละโครงการส่งฝ่ายเลขานุการ รวบรวม ได้แก่
5.1 โครงการจัดตั้งศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าระดับอำเภอ (60 ล้านบาท)
5.2 โครงการจัดสร้างห้องเย็นจังหวัดยะลา (5 ล้านบาท)
5.3 โครงการส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้า (6 ล้านบาท)
5.4 โครงการส่งเสริมการประกอบธุรกิจบริการ (13 ล้านบาท)
5.5 โครงการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (20 ล้านบาท)
6. การแก้ไขปัญหาราคาผลไม้
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ใน 3 จังหวัดภาคใต้ กระทรวงฯ ได้ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาราคาลองกอง ลางสาด ปี 2547 โดยนำเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย ให้จังหวัด ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จังหวัดละ 5 ล้านบาท ไปดำเนินการซื้อลองกอง ลางสาด จากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร ในราคานำตลาดและนำไปกระจายและจำหน่ายยังจังหวัดปลายทาง โดยให้ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและค่าขนส่งตามที่จ่ายจริง ไม่เกินร้อยละ 3 ระยะเวลาดำเนินการในเดือนกรกฎาคม- กันยายน 2547
7. การพัฒนาเพื่อสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจการค้า
กระทรวงฯ อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้พลิกฟื้นสถานการณ์กลับสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้เร็วที่สุด โดยการสร้างโอกาส สนับสนุนให้ประชาชนได้มีการจ้างงาน สร้างอาชีพเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย ซึ่งมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
7.1 จัดตั้งศูนย์พัฒนาพาณิชย์ทักษิณ เป็นศูนย์ในการให้บริการของกระทรวงพาณิชย์ในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการค้าแก่ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีกิจกรรมเป็นศูนย์จัดแสดง จำหน่ายสินค้า เป็นสถานที่เจรจาธุรกิจระหว่างนักธุรกิจกับผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นสถานที่ฝึกอบรมด้านต่าง ๆ เช่น การออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ การบริหารจัดการ การพัฒนาคุณภาพสินค้า การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน การประกันภัย การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เป็นศูนย์เชื่อมโยง เป็นแหล่งรวบรวมและกระจายผลผลิตใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
7.2 จัดตั้งอาสาพาณิชย์ทักษิณ โดยการคัดเลือกผู้ประกอบการ/ผู้นำชุมชน/ประชาชน/เยาวชนให้เป็นอาสาพัฒนาพาณิชย์ทักษิณ (อส.พท.) จังหวัดละ 200 คน รวม 600 คน เพื่อเป็นเครือข่ายการดำเนินงาน/กิจกรรมด้านการค้าการตลาดของกระทรวงพาณิชย์รวมทั้งขยายผลสู่ประชาชน ผู้ประกอบการ รวมทั้งเยาวชนได้มีโอกาสนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปเผยแพร่ ถ่ายทอด เพื่อใช้กลไกด้านการพาณิชย์เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ใช้ในการประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-