แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จังหวัดนครศรีธรรมราช
คณะรัฐมนตรี
ยางพารา
ภาคใต้
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคใต้ที่มีศักยภาพสูง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราสู่ความเป็นเลิศและให้เป็นศูนย์กลางยางพาราโลก
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภูเก็ตอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนายางพาราสู่ความเป็นเลิศและให้เป็นศูนย์กลางยางพาราโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมปลายน้ำ และเพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตและการตลาดยางผลิตภัณฑ์ยาง และไม้ยาง โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางไม่ต่ำกว่า 300 กก./ไร่ ภายใน 5 ปี รวมทั้งมีการใช้ยางธรรมชาติภายในประเทศเพิ่มขึ้น 2 เท่า ภายใน 5 ปี และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราที่เป็นระบบ และทันสมัย
สำหรับแนวทางการพัฒนานั้น เนื่องจากยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศสูง และมีผลผลิตเป็นอันดับหนึ่งของโลก จึงควรกำหนดให้ยางพาราเป็นพืชยุทธศาสตร์ของประเทศและเพื่อสร้างความเป็นเลิศของอุตสาหกรรมยางพาราไทย จึงควรขยายกรอบการพัฒนาประเทศไทยจากการเป็นศูนย์กลางผลิตภัณฑ์ยางของโลก (World Center of Rubber Products) ตามมติคณะรัฐมนตรี 9 มีนาคม 2547 ให้มีการพัฒนายางพาราอย่างครบวงจรมากขึ้นตามแนวทาง ดังนี้
1) พัฒนาด้านการผลิตยางและผลิตภัณฑ์แปรรูปขั้นต้น โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity) และคุณภาพการผลิต
2) สร้างมูลค่าเพิ่มจากยางพารา โดยให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ และการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ โดยมียางล้อผลิตภัณฑ์จากน้ำยางข้น และผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ เป้าหมายและเร่งวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางใหม่ที่มีศักยภาพในอนาคต อาทิ ไบโอเทคน้ำยางสด วัสดุวิศวกรรม
3) พัฒนาด้านการตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเพิ่มประสิทธิภาพตลาดกลางยางพาราและตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้ยางภายในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาครัฐ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ยางธรรมชาติทดแทนได้ และการส่งเสริมการส่งออกของผลิตภัณฑ์ยางพาราไทย
4) การบริหารจัดการ เร่งรัดจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทยขึ้น โดยเป็นพระราชบัญญัติจัด ตั้งการยางแห่งประเทศไทยให้สามารถเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนายางพาราของประเทศอย่างครบวงจร โดยเน้นบทบาทด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์ไม้ยาง ตลอดทั้งเครือข่ายวิสาหกิจ มีการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมยางให้เพียงพอ และจัดทำฐานข้อมูลยางพาราให้เป็นระบบและทันสมัย ทำให้การดำเนินการตามแผนงานโครงการต่าง ๆ ตามแนวทางการพัฒนายางพาราอย่างครบวงจรให้ได้เงินจากกองทุน CESS โดยให้ยึดหลักประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานเป็นสำคัญ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภูเก็ตอย่างยั่งยืน
1) สถานการณ์และประเด็นปัญหา
(1) รายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วในระยะ 4-5 ปี ที่ผ่านมา โดยอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวลดจากร้อยละ 15.89 ในปี 2542 เหลือร้อยละ 1.51 ในปี 2546 และอัตราการเติบโตของรายได้ลดลงจากร้อยละ 27.21 ในปี 2542 เหลือ ร้อยละ 0.9 ในปี 2546
(2) ประเด็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนในปัจจุบัน คือ 1) ระบบการคมนาคมขนส่งไม่สะดวกและได้มาตรฐาน 2) บริการน้ำประปาไม่เพียงพอ 3) มลภาวะจากน้ำเสียในแหล่งท่องเที่ยว 4) ขาดการควบคุมการใช้ที่ดินในชุมชนที่ผังเมืองหมดอายุการบังคับใช้
2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาภูเก็ตให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในระดับโลกได้ อย่างยั่งยืน และเพิ่มศักยภาพการสร้างรายได้ของภูเก็ตให้อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพิ่มอัตราการขยายตัวของรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาดังนี้
(1) เร่งแก้ปัญหาเร่งด่วนเพื่อให้ภูเก็ตดำรงสถานภาพ "แม่เหล็กการท่องเที่ยว" ระดับโลกอย่างยั่งยืน
- พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งและสถานีขนส่งให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งพัฒนาท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตให้เหมาะสมต่อการรองรับเรือท่องเที่ยวระหว่างประเทศและปรับปรุงท่าเรืออ่าวปอให้สะดวกและปลอดภัย
- พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประปาโดยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ และคลองกะทะควบไปกับการพัฒนาระบบการผลิตและการให้บริการประปาให้เพียงพอ
- แก้ปัญหาการควบคุมการใช้ที่ดินในชุมชนที่ผังเมืองหมดอายุการบังคับใช้โดยการนำพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมมาบังคับใช้อย่างเข้มข้น
(2) เพิ่มศักยภาพการสร้างรายได้จากบริการพื้นฐาน ICT และกิจกรรมด้านประวัติศาสตร์ อาหารและกีฬา
- กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรม Software ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
- พัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์สถานถลางชนะศึกและการจัดแสดงเหตุการณ์จำลองย้อนประวัติศาสตร์ เพื่อเพิ่มความหลากหลายกิจกรรมการท่องเที่ยว
- พัฒนาศูนย์กลางการเทียบท่าและส่งออกปลาทูน่าที่ได้มาตรฐาน และพัฒนาศูนย์กลางตลาดอาหารทะเล (Seafood Market Center) เพื่อเสริมการท่องเที่ยว
- จัดตั้งหน่วยตลาดมืออาชีพเพื่อดำเนินการทำตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมาย เช่น กลุ่มทัวร์สุขภาพ เป็นต้น
(3) คุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาสมดุลการพัฒนา
- ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียในชุมชนเติบโตใหม่ เช่น เชิงทะเล กมลารัษฎา และฉลองราไวย์ ฯลฯ
- เร่งจัดทำและบังคับใช้ผังเมืองรวมภูเก็ตและผังเมืองเฉพาะชุมชนอย่างเข้มงวด
- ศึกษาเพื่อประเมินขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying Capacity) ของเกาะภูเก็ต และศึกษาเพื่อวางแผนพัฒนากลุ่มพื้นที่ภูเก็ต - พังงา - กระบี่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราสู่ความเป็นเลิศและให้เป็นศูนย์กลางยางพาราโลก
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภูเก็ตอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนายางพาราสู่ความเป็นเลิศและให้เป็นศูนย์กลางยางพาราโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมปลายน้ำ และเพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตและการตลาดยางผลิตภัณฑ์ยาง และไม้ยาง โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางไม่ต่ำกว่า 300 กก./ไร่ ภายใน 5 ปี รวมทั้งมีการใช้ยางธรรมชาติภายในประเทศเพิ่มขึ้น 2 เท่า ภายใน 5 ปี และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราที่เป็นระบบ และทันสมัย
สำหรับแนวทางการพัฒนานั้น เนื่องจากยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศสูง และมีผลผลิตเป็นอันดับหนึ่งของโลก จึงควรกำหนดให้ยางพาราเป็นพืชยุทธศาสตร์ของประเทศและเพื่อสร้างความเป็นเลิศของอุตสาหกรรมยางพาราไทย จึงควรขยายกรอบการพัฒนาประเทศไทยจากการเป็นศูนย์กลางผลิตภัณฑ์ยางของโลก (World Center of Rubber Products) ตามมติคณะรัฐมนตรี 9 มีนาคม 2547 ให้มีการพัฒนายางพาราอย่างครบวงจรมากขึ้นตามแนวทาง ดังนี้
1) พัฒนาด้านการผลิตยางและผลิตภัณฑ์แปรรูปขั้นต้น โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity) และคุณภาพการผลิต
2) สร้างมูลค่าเพิ่มจากยางพารา โดยให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ และการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ โดยมียางล้อผลิตภัณฑ์จากน้ำยางข้น และผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ เป้าหมายและเร่งวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางใหม่ที่มีศักยภาพในอนาคต อาทิ ไบโอเทคน้ำยางสด วัสดุวิศวกรรม
3) พัฒนาด้านการตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเพิ่มประสิทธิภาพตลาดกลางยางพาราและตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้ยางภายในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาครัฐ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ยางธรรมชาติทดแทนได้ และการส่งเสริมการส่งออกของผลิตภัณฑ์ยางพาราไทย
4) การบริหารจัดการ เร่งรัดจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทยขึ้น โดยเป็นพระราชบัญญัติจัด ตั้งการยางแห่งประเทศไทยให้สามารถเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนายางพาราของประเทศอย่างครบวงจร โดยเน้นบทบาทด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์ไม้ยาง ตลอดทั้งเครือข่ายวิสาหกิจ มีการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมยางให้เพียงพอ และจัดทำฐานข้อมูลยางพาราให้เป็นระบบและทันสมัย ทำให้การดำเนินการตามแผนงานโครงการต่าง ๆ ตามแนวทางการพัฒนายางพาราอย่างครบวงจรให้ได้เงินจากกองทุน CESS โดยให้ยึดหลักประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานเป็นสำคัญ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภูเก็ตอย่างยั่งยืน
1) สถานการณ์และประเด็นปัญหา
(1) รายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วในระยะ 4-5 ปี ที่ผ่านมา โดยอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวลดจากร้อยละ 15.89 ในปี 2542 เหลือร้อยละ 1.51 ในปี 2546 และอัตราการเติบโตของรายได้ลดลงจากร้อยละ 27.21 ในปี 2542 เหลือ ร้อยละ 0.9 ในปี 2546
(2) ประเด็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนในปัจจุบัน คือ 1) ระบบการคมนาคมขนส่งไม่สะดวกและได้มาตรฐาน 2) บริการน้ำประปาไม่เพียงพอ 3) มลภาวะจากน้ำเสียในแหล่งท่องเที่ยว 4) ขาดการควบคุมการใช้ที่ดินในชุมชนที่ผังเมืองหมดอายุการบังคับใช้
2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาภูเก็ตให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในระดับโลกได้ อย่างยั่งยืน และเพิ่มศักยภาพการสร้างรายได้ของภูเก็ตให้อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพิ่มอัตราการขยายตัวของรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาดังนี้
(1) เร่งแก้ปัญหาเร่งด่วนเพื่อให้ภูเก็ตดำรงสถานภาพ "แม่เหล็กการท่องเที่ยว" ระดับโลกอย่างยั่งยืน
- พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งและสถานีขนส่งให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งพัฒนาท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตให้เหมาะสมต่อการรองรับเรือท่องเที่ยวระหว่างประเทศและปรับปรุงท่าเรืออ่าวปอให้สะดวกและปลอดภัย
- พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประปาโดยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ และคลองกะทะควบไปกับการพัฒนาระบบการผลิตและการให้บริการประปาให้เพียงพอ
- แก้ปัญหาการควบคุมการใช้ที่ดินในชุมชนที่ผังเมืองหมดอายุการบังคับใช้โดยการนำพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมมาบังคับใช้อย่างเข้มข้น
(2) เพิ่มศักยภาพการสร้างรายได้จากบริการพื้นฐาน ICT และกิจกรรมด้านประวัติศาสตร์ อาหารและกีฬา
- กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรม Software ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
- พัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์สถานถลางชนะศึกและการจัดแสดงเหตุการณ์จำลองย้อนประวัติศาสตร์ เพื่อเพิ่มความหลากหลายกิจกรรมการท่องเที่ยว
- พัฒนาศูนย์กลางการเทียบท่าและส่งออกปลาทูน่าที่ได้มาตรฐาน และพัฒนาศูนย์กลางตลาดอาหารทะเล (Seafood Market Center) เพื่อเสริมการท่องเที่ยว
- จัดตั้งหน่วยตลาดมืออาชีพเพื่อดำเนินการทำตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมาย เช่น กลุ่มทัวร์สุขภาพ เป็นต้น
(3) คุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาสมดุลการพัฒนา
- ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียในชุมชนเติบโตใหม่ เช่น เชิงทะเล กมลารัษฎา และฉลองราไวย์ ฯลฯ
- เร่งจัดทำและบังคับใช้ผังเมืองรวมภูเก็ตและผังเมืองเฉพาะชุมชนอย่างเข้มงวด
- ศึกษาเพื่อประเมินขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying Capacity) ของเกาะภูเก็ต และศึกษาเพื่อวางแผนพัฒนากลุ่มพื้นที่ภูเก็ต - พังงา - กระบี่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-