คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงคมนาคม (รฟท.) ดำเนินโครงการคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกตอนฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 5,235 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (2547-2550) โดยมอบให้กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณพิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการได้ภายหลังจากที่รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของทั้งโครงการได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 แล้ว
กระทรวงคมนาคม เสนอว่า รฟท. ได้ปรับปรุงโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยขออนุมัติดำเนินการเฉพาะตอนฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ตอนฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ทั้ง 2 ตอน เป็นโครงการที่มีความสำคัญเร่งด่วน จำเป็นต้องก่อสร้างเพื่อรองรับปริมาณการขนส่งโดยขบวนรถคอนเทนเนอร์ ซึ่งจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต อันเนื่องมาจากการขยายท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง ขั้นที่ 2 นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการขนส่งในเส้นทางรถไฟบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก อีกทั้งเป็นการตอบสนองนโยบายของกระทรวงคมนาคมด้านการขนส่งและพัฒนาระบบการขนส่งโดยรวมของประเทศ
2. รฟท. ได้พิจารณาปรับปรุงวงเงินลงทุนสำหรับการก่อสร้างทางคู่ ตอนศรีราชา-ฉะเชิงเทรา 69 กิโลเมตร เป็นวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 4,795 ล้านบาท (ไม่รวม Chord Line ที่ฉะเชิงเทรา) สำหรับตอนศรีราชา-แหลมฉบัง ระยะทาง 9 กิโลเมตร ประมาณค่าก่อสร้างไว้เป็นเงินจำนวน 440 ล้านบาท โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ รฟท. เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2547 ให้ รฟท. ดำเนินการต่อขยายโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกจากฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบังระยะทาง 78 กิโลเมตร ในวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 5,235 ล้านบาท (กรณีรองรับความเร็วสูงสุดของขบวนรถ 120 กม./ชม.) และในวงเงินลงทุน 6,681 ล้านบาท (กรณีรองรับความเร็วสูงสุดของขบวนรถ160 กม./ชม.)
3. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และโครงการร่วมกับเอกชนด้านคมนาคมได้เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟชายฝั่งทะเลตะวันออก ระหว่างสถานีศรีราชาถึงฉะเชิงเทราแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547 ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอเรื่องให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา
4. คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเห็นชอบโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ในเส้นทางชายฝั่งทะเลตะวันออก ตอนฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 5,235 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (2547-2550) และการขอสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐบาล ตามที่ รฟท. เสนอ โดยให้กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณพิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงคมนาคม เสนอว่า รฟท. ได้ปรับปรุงโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยขออนุมัติดำเนินการเฉพาะตอนฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ตอนฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ทั้ง 2 ตอน เป็นโครงการที่มีความสำคัญเร่งด่วน จำเป็นต้องก่อสร้างเพื่อรองรับปริมาณการขนส่งโดยขบวนรถคอนเทนเนอร์ ซึ่งจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต อันเนื่องมาจากการขยายท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง ขั้นที่ 2 นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการขนส่งในเส้นทางรถไฟบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก อีกทั้งเป็นการตอบสนองนโยบายของกระทรวงคมนาคมด้านการขนส่งและพัฒนาระบบการขนส่งโดยรวมของประเทศ
2. รฟท. ได้พิจารณาปรับปรุงวงเงินลงทุนสำหรับการก่อสร้างทางคู่ ตอนศรีราชา-ฉะเชิงเทรา 69 กิโลเมตร เป็นวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 4,795 ล้านบาท (ไม่รวม Chord Line ที่ฉะเชิงเทรา) สำหรับตอนศรีราชา-แหลมฉบัง ระยะทาง 9 กิโลเมตร ประมาณค่าก่อสร้างไว้เป็นเงินจำนวน 440 ล้านบาท โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ รฟท. เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2547 ให้ รฟท. ดำเนินการต่อขยายโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกจากฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบังระยะทาง 78 กิโลเมตร ในวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 5,235 ล้านบาท (กรณีรองรับความเร็วสูงสุดของขบวนรถ 120 กม./ชม.) และในวงเงินลงทุน 6,681 ล้านบาท (กรณีรองรับความเร็วสูงสุดของขบวนรถ160 กม./ชม.)
3. คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และโครงการร่วมกับเอกชนด้านคมนาคมได้เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟชายฝั่งทะเลตะวันออก ระหว่างสถานีศรีราชาถึงฉะเชิงเทราแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2547 ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอเรื่องให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา
4. คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ได้มีการประชุม ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเห็นชอบโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ในเส้นทางชายฝั่งทะเลตะวันออก ตอนฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 5,235 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (2547-2550) และการขอสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐบาล ตามที่ รฟท. เสนอ โดยให้กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณพิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-