คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอรายงานผลการดำเนินการเพื่อหันเหคดีออกจากกระบวนการยุติธรรมโดยใช้มาตรการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชนสรุปได้ดังนี้
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีภารกิจสำคัญอย่างหนึ่งคือ การแก้ไขเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด กระบวนการยุติธรรมทางเลือกด้วยการหันเหคดีออกจากกระบวนการยุติธรรมเป็นวิธีการแก้ไขอย่างหนึ่ง ซึ่งกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนนำมาใช้และน่าเชื่อว่าจะได้ผลอย่างยั่งยืนสามารถคืนเด็กและเยาวชนสู่ครอบครัวและเป็นที่ยอมรับของสังคมได้ ทั้งยังเป็นการป้องกันมิให้กลับมากระทำผิดซ้ำอีก
การหันเหคดีออกจากกระบวนการยุติธรรมนั้นได้ดำเนินการโดยใช้การประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชนร่วมกับการเสนอความเห็นตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ซึ่งกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้กำหนดรูปแบบวิธีการดำเนินการและแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทุกแห่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2546 บัดนี้ ได้ดำเนินการดังกล่าวมาครบระยะเวลา 1 ปีแล้ว ซึ่งผลการดำเนินการมีดังนี้
1. วางระบบและกำหนดรูปแบบการดำเนินงาน เพื่อเสนอความเห็นตามมาตรา 63 กำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน กำหนดแแบพิมพ์ที่ต้องใช้ในการดำเนินงานแล้วแจ้งให้สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทุกแห่งนำไปปฎิบัติ โดยจัดให้มีการประชุมเพื่อชี้แจงระบบ รูปแบบและวิธีการปฏิบัติงาน
2. จัดประชุมสัมมนากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว และเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบแนวทางปฏิบัติงาน วิธีประสานการปฏิบัติงานและรวบรวมปัญหาข้อขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นโดยจัดขึ้นรวม 3 ครั้ง
3. จัดโครงการ "นำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์โดยการใช้กระบวนการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน (Family Community Group Conferencing) มาบังคับใช้ในประเทศไทย" โดยขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อจัดทำหลักสูตรและจัดให้มีการอบรมผู้ประสานการประชุมรวมทั้งทำการวิจัยผลการดำเนินงานดังกล่าว ซึ่งผลการดำเนินงานตามโครงการนั้น กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้จัดทำหลักสูตรโดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆมาร่วมจัดทำ นำหลักสูตรที่จัดทำไปอบรมผู้ทำหน้าที่ประสานการประชุมจากสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทุกแห่ง จำนวน 100 คน โดยได้จัดอบรม 2 รุ่น รุ่นแรก 14 วัน รุ่นสอง 11 วัน (ปรับหลักสูตรและเพิ่มเวลาการอบรมในแต่ละวัน) และจ้างมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราชเป็นผู้วิจัยผลการดำเนินงานดังกล่าว
4. นำผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทุกแห่งไปศึกษาดูงานเรื่องการประชุมกลุ่มครอบครัวและกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่ประเทศนิวซีแลนด์
5. เชิญมิสเตอร์เท็ด วอธเทล ประธานสถาบันการปฏิบัติงานด้านกระบวนการยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ ระดับนานาชาติ มาบรรยายพิเศษ เรื่อง "กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์สำหรับเด็กและเยาวชนกระทำผิด" ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2546
6. จัดซื้อลิขสิทธิ์หลักสูตรและเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกอบรมการประชุมกลุ่มครอบครัวจากสถาบันการปฏิบัติงานด้านกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ระดับนานาชาติ ซึ่งสถาบันดังกล่าวได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมให้แก้ผู้ประสานการประชุม เมื่อวันที่ 10-11 พฤษภาคม 2547
การดูแลแก้ไขเด็กและเยาวชนด้วยวิธีการดังกล่าวจะเป็นการสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น สามารถกลับคืนสู่สังคมโดยไม่ต้องฟ้องและดำเนินคดีกับเด็กและเยาวชนด้วยกระบวนการยุติธรรมเต็มรูปแบบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีภารกิจสำคัญอย่างหนึ่งคือ การแก้ไขเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด กระบวนการยุติธรรมทางเลือกด้วยการหันเหคดีออกจากกระบวนการยุติธรรมเป็นวิธีการแก้ไขอย่างหนึ่ง ซึ่งกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนนำมาใช้และน่าเชื่อว่าจะได้ผลอย่างยั่งยืนสามารถคืนเด็กและเยาวชนสู่ครอบครัวและเป็นที่ยอมรับของสังคมได้ ทั้งยังเป็นการป้องกันมิให้กลับมากระทำผิดซ้ำอีก
การหันเหคดีออกจากกระบวนการยุติธรรมนั้นได้ดำเนินการโดยใช้การประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชนร่วมกับการเสนอความเห็นตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ซึ่งกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้กำหนดรูปแบบวิธีการดำเนินการและแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทุกแห่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2546 บัดนี้ ได้ดำเนินการดังกล่าวมาครบระยะเวลา 1 ปีแล้ว ซึ่งผลการดำเนินการมีดังนี้
1. วางระบบและกำหนดรูปแบบการดำเนินงาน เพื่อเสนอความเห็นตามมาตรา 63 กำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน กำหนดแแบพิมพ์ที่ต้องใช้ในการดำเนินงานแล้วแจ้งให้สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทุกแห่งนำไปปฎิบัติ โดยจัดให้มีการประชุมเพื่อชี้แจงระบบ รูปแบบและวิธีการปฏิบัติงาน
2. จัดประชุมสัมมนากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว และเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบแนวทางปฏิบัติงาน วิธีประสานการปฏิบัติงานและรวบรวมปัญหาข้อขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นโดยจัดขึ้นรวม 3 ครั้ง
3. จัดโครงการ "นำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์โดยการใช้กระบวนการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน (Family Community Group Conferencing) มาบังคับใช้ในประเทศไทย" โดยขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อจัดทำหลักสูตรและจัดให้มีการอบรมผู้ประสานการประชุมรวมทั้งทำการวิจัยผลการดำเนินงานดังกล่าว ซึ่งผลการดำเนินงานตามโครงการนั้น กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้จัดทำหลักสูตรโดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆมาร่วมจัดทำ นำหลักสูตรที่จัดทำไปอบรมผู้ทำหน้าที่ประสานการประชุมจากสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทุกแห่ง จำนวน 100 คน โดยได้จัดอบรม 2 รุ่น รุ่นแรก 14 วัน รุ่นสอง 11 วัน (ปรับหลักสูตรและเพิ่มเวลาการอบรมในแต่ละวัน) และจ้างมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราชเป็นผู้วิจัยผลการดำเนินงานดังกล่าว
4. นำผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทุกแห่งไปศึกษาดูงานเรื่องการประชุมกลุ่มครอบครัวและกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่ประเทศนิวซีแลนด์
5. เชิญมิสเตอร์เท็ด วอธเทล ประธานสถาบันการปฏิบัติงานด้านกระบวนการยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ ระดับนานาชาติ มาบรรยายพิเศษ เรื่อง "กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์สำหรับเด็กและเยาวชนกระทำผิด" ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2546
6. จัดซื้อลิขสิทธิ์หลักสูตรและเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกอบรมการประชุมกลุ่มครอบครัวจากสถาบันการปฏิบัติงานด้านกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ระดับนานาชาติ ซึ่งสถาบันดังกล่าวได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมให้แก้ผู้ประสานการประชุม เมื่อวันที่ 10-11 พฤษภาคม 2547
การดูแลแก้ไขเด็กและเยาวชนด้วยวิธีการดังกล่าวจะเป็นการสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น สามารถกลับคืนสู่สังคมโดยไม่ต้องฟ้องและดำเนินคดีกับเด็กและเยาวชนด้วยกระบวนการยุติธรรมเต็มรูปแบบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-