คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการติดตามประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในระยะครึ่งหลังของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. แนวทางดำเนินการในระยะครึ่งหลังของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ ดังนี้
1.1 สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจมหภาคและความสามารถในการแข่งขันของไทยอย่างยั่งยืน โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเงินและภาคการคลังควบคู่ไปกับการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสร้างความสมดุลระหว่างการผลิตกับการดูแลสภาวะแวดล้อม
1.2 ลดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเป็นธรรม โดยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างโอกาสและกระจายความมั่นคงและผลตอบแทนการผลิต รวมทั้งการเข้าถึงบริการของรัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันมากขึ้น
1.3 พัฒนาและใช้ประโยชน์ทุนทางสังคมที่มีอยู่หลากหลายให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและฐานทรัพยากรที่มีอยู่ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ทั้งด้านคุณภาพและการยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมไปกับการพัฒนาทุนทางสถาบัน และการพัฒนาทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
1.4 บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยเร่งรัดแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ที่เน้นการแก้ไขทั้งที่ต้นเหตุหรือแหล่งกำเนิดและที่ปลายเหตุ คือ ฟื้นฟู บำบัด และกำจัดควบคู่กันไป
1.5 เสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีในสังคม โดยพัฒนาระบบราชการไทยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีในกิจการบ้านเมือง อันได้แก่การปกครองที่ใช้หลักนิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบและความคุ้มค่า เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานที่สามารถตอบสนองความต้องการและประโยชน์สุขของประชาชน
2. การพัฒนาภูมิภาคเพื่อความอยู่ดีมีสุขของคนในภาค มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ ดังนี้
2.1 มอบหมายผู้ว่า CEO รับไปดำเนินการนำรายงานการประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและผลการพัฒนาในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ระดับภาค ที่ สศช. ได้จัดทำขึ้นไปเป็นแนวทางในการทบทวนปรับปรุงยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว รวมทั้งสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค และการพัฒนาตามวาระแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนในภาคได้อย่างแท้จริง
2.2 มอบหมายคณะกรรมการสนับสนุนระบบบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กสจ.) ได้มีการทบทวนการแบ่งกลุ่มการพัฒนาจังหวัดตามระบบบริหารงานผู้ว่า CEO ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ความเชื่อมโยงของกิจกรรมการผลิต และความเชื่อมโยงของการพัฒนาทางกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ ให้มากขึ้น
2.3 มอบหมายให้เป็นภารกิจโดยตรงของ สศช. ในการติดตามประเมินผลการพัฒนาภาคทุกปีอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยดัชนีชี้วัดที่ได้พัฒนาขึ้น อาทิ ดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุข และดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อเป็นแนวทางการปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
3. การรายงานตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ของกระทรวงในระยะต่อไป มอบหมายให้กระทรวงต่าง ๆ รับไปดำเนินการ ดังนี้
3.1 กระทรวงควรบูรณาการรายงานผลการปฏิบัติงานให้อยู่ในระดับกระทรวง ทั้งนี้ การรายงานผลควรประมวลสังเคราะห์จากผลงานระดับกรมขึ้นมาให้อยู่ในระดับผลงานของกระทรวง และควรระบุแผนงาน โครงการภายใต้ความรับผิดชอบ พร้อมทั้งจัดทำรายงานในลักษณะของผลผลิตและผลลัพธ์ในแต่ละยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน
3.2 การรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ของหน่วยงานระดับกระทรวงควรดำเนินการเพียงปีละ 1 ครั้ง เมื่อสิ้นปีงบประมาณ และจัดส่งให้ สศช. ภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - กันยายน 2547) เป็นต้นไป
สศช. ได้ดำเนินการให้มีการติดตามประเมินผลการพัฒนา ในระยะครึ่ง แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ว่ามีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด มีปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวในเรื่องใดและอย่างไร โดยพิจารณาจากเป้าหมายและตัวชี้วัดที่สามารถวัดผลกระทบจากการพัฒนาได้อย่างชัดเจนพร้อมทั้งใช้ข้อมูลจากการรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่กระทรวงต่าง ๆ ได้จัดส่งให้ สศช. ประกอบการวิเคราะห์และติดตามประเมินผลด้วย โดยให้ความสำคัญกับการติดตามผลการดำเนินงานใน 3 ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 : การวัดผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อประเมินผลการพัฒนาตามเป้าหมายหลักของแผนฯ และประเมินผลกระทบการพัฒนา โดยอาศัยดัชนีชี้วัดที่ได้พัฒนาขึ้น 3 ชุด คือ ดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุข ดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน
ประการที่ 2 : การติดตามผลการดำเนินงานที่ตอบสนองการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ภายใต้วาระแห่งชาติ 4 เรื่อง ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานในระยะต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประการที่ 3 : การติดตามผลการพัฒนาภาคในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภาค พร้อมทั้งติดตามความก้าวหน้าและการดำเนินงานที่สำคัญในพื้นที่ระดับภาค ว่าเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดและจังหวัดหรือไม่ เพียงใด เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาคในระยะต่อไปได้อย่างเหมาะสม
สำหรับผลการพัฒนาในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สรุปได้ดังนี้
1. ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
1.1 ผลที่เกิดขึ้นตามเป้าหมายหลักของแผนฯ
1) เศรษฐกิจไทยในภาพรวมขยายตัวอย่างมีคุณภาพ มีเสถียรภาพและมีความมั่นคงเพิ่มขึ้น ในช่วง 2 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างมีคุณภาพด้วยอัตราร้อยละ 5.4 ในปี 2545 และ 6.7 ในปี 2546 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เฉลี่ยร้อยละ 4-5 ต่อปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการอุปโภคบริโภค การลงทุนของภาคเอกชนและการส่งออกที่ขยายตัวสูงขึ้น
2) การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและการพัฒนาที่ยั่งยืนปรับตัวสูงขึ้น โดยสถาบันนานาชาติเพื่อพัฒนาการจัดการหรือ IMD ได้จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ในปี 2546 ให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 10 ดีขึ้นจากอันดับที่ 13 ในปี 2545 และอันดับที่ 14 ในปี 2544 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวการผลิตภาคเกษตรร้อยละ 3.0 และ 6.8 และภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 6.8 และ 10.3 รวมทั้งภาคการส่งออกร้อยละ 12.2 และ 8.8 ในปี 2545 และปี 2546 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายเฉลี่ยในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่กำหนดไว้สำหรับภาคเกษตรร้อยละ 2.0 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 4.5 และภาคการส่งออกร้อยละ 6.0 ต่อปี
3) ความยากจนได้ลดลงเร็วกว่าเป้าหมาย โดยสามารถลดสัดส่วนคนจนลงจากร้อยละ 13.0 ในปี 2544 เหลือเพียงร้อยละ 9.8 ในปี 2545 ซึ่งเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่จะลดสัดส่วนคนยากจนเหลือร้อยละ 12 ภายในสิ้นปี 2549
4) คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้นจากการขยายหลักประกันที่ครอบคลุมมากขึ้น แต่ยังมีปัญหาด้านการศึกษา หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ขยายครอบคลุมคนไทย ถึงร้อยละ 95 ในขณะที่ระบบประกันสังคมให้ความคุ้มครองประชาชนได้กว่าร้อยละ 20 ของกำลังแรงงาน ส่วนในด้านการศึกษาพบว่า คนไทยมีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยเพียง 7.8 ปี ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 9 ปี และกำลังแรงงาน (อายุ 15 ปีขึ้นไป) ที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปมีเพียงร้อยละ 38
5) การบริหารจัดการที่ดีของสังคมไทย ได้มีการวางรากฐานไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ จากการปฏิรูประบบราชการ ได้ส่งผลให้มีการปรับโครงสร้างกระทรวง และกรมใหม่ให้มีการทำงานที่บูรณาการและลดความซ้ำซ้อน การปรับระบบงบประมาณ ปรับระบบและวิธีการปฏิบัติราชการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ นอกจากนี้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ได้ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างชัดเจน
1.2 ผลกระทบของการพัฒนา
1) เศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น แต่เพื่อให้ยั่งยืนต้องดูแลการกระจายการพัฒนาให้เป็นธรรมมากขึ้น เศรษฐกิจของไทยมีความเข้มแข็งต่อเนื่องจากปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และเป็นการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ คือมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพียงร้อยละ 1.25 ต่อปี ซึ่งอยู่ในเป้าหมายที่กำหนดไม่ให้เกินร้อยละ 3 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเฉลี่ยร้อยละ 5.5 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดเฉลี่ยร้อยละ 1-2 ต่อปี มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นจากดุลการคลังที่ดีขึ้น และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ลดลง ความสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกทำได้ดีขึ้น จากประสิทธิภาพการผลิตและส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยที่เพิ่มขึ้น แต่สถานภาพของการกระจายการพัฒนาที่เป็นธรรม ยังเป็นข้อจำกัดต่อการเสริมสร้างและรักษาความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
2) ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจไทยได้มีส่วนทำให้ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีมากกว่าในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และอยู่ในระดับที่ดีกว่าก่อนเกิดวิกฤต คนไทยมีงานทำกันมากขึ้น โดยอัตราการว่างงานได้ลดลงจากร้อยละ 3.23 ในปี 2544 เหลือร้อยละ 2.02 ในปี 2546 อย่างไรก็ตาม ในด้านความเหลื่อมล้ำของรายได้ คุณภาพการศึกษา สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม และปัญหาด้านการบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐที่ยังต้องปรับปรุงอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3) การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องการการพัฒนาที่สมดุลทั้ง 3 มิติ คือ มิติทางเศรษฐกิจ มิติทางสังคม และมิติทางสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนจะมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ แต่ยังต้องเอาใจใส่กับการรักษาคุณภาพทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อยกระดับความยั่งยืนในด้านการรักษาคุณภาพทรัพยากรสิ่งแวดล้อม คือการรักษาคุณภาพแหล่งน้ำ คุณภาพอากาศในเมืองหลัก และของเสียอันตรายที่ได้รับการบำบัดอย่างถูกต้อง รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพคนไทย ตลอดจนความโปร่งใสในการบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ
2. ผลการดำเนินงานตามวาระแห่งชาติ
2.1 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความก้าวหน้าเป็นรูปธรรมหลายด้าน การดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ การวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคง โดยการจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน การจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุน การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคอินโดจีน การจัดตั้งสถาบันบริหารและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อสร้างความสามารถทางนวัตกรรม การมีระบบบ่มเพาะผู้ประกอบการเพื่อสร้างสังคมผู้ประกอบการให้เข้มแข็ง การร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและการเปิดการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ เพื่อเพิ่มบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลก รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างความเป็นเลิศของกลุ่มสินค้าไทยในตลาดโลก
2.2 การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้มีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ จากการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า และการดำเนินงานตามภารกิจปกติของกระทรวงในการแก้ไขปัญหาความยากจนนั้น ได้มีส่วนสำคัญในการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และสร้างโอกาสให้กับคนจนเป็นอย่างมาก การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม คือ การเสริมสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น การสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การพัฒนาโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคมเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตแก่คนยากจน การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง เพื่อสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้คนยากจนสามารถก่อร่างสร้างตัวและพึ่งตนเองได้ในระยะยาว รวมทั้งการเร่งปฏิรูปกฎหมายและปรับกฎระเบียบให้เอื้อประโยชน์ต่อคนยากจน
2.3 การพัฒนาทุนทางสังคม ได้รับความสำคัญมากขึ้นในสังคมไทย เป็นผลดีต่อการพัฒนา ศักยภาพคนและสังคม ได้มีการดำเนินงานเพื่อนำทุนทางสังคมที่มีอยู่มาพัฒนาให้เป็นประโยชน์กับคนและสังคมไทยมากขึ้น ทั้งนี้ ในส่วนของการพัฒนาศักยภาพคนได้ขยายหลักประกันสุขภาพ และขยายโอกาสทางการศึกษาสู่ประชากรกลุ่มต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง แต่ยังต้องเร่งพัฒนาด้านคุณภาพการศึกษาให้ได้ มาตรฐาน และสร้างคนให้คิดเป็นทำเป็น พร้อมก้าวสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ นอกจากนี้ได้ดำเนินการพัฒนาทุนทางสถาบันสำคัญ ๆ เพื่อเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชาติ เช่น สถาบันศาสนา สถาบัน ครอบครัว ขณะที่การพัฒนาทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมยังมีปัญหาค่อนข้างมาก เนื่องจากข้อจำกัด ทางกฎหมาย ข้อมูล บุคลากร และเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ อีกทั้งชุมชนและองค์กรส่วนท้องถิ่นยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมค่อนข้างน้อย
3. ผลการพัฒนาในระดับภาคในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
ผลการพัฒนาในระยะที่ผ่านมา สามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจของส่วนภูมิภาคได้ในระดับหนึ่ง โดยการกระจายรายได้ และกระจายผลการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น ความยากจนและความแตกต่างของรายได้ระหว่างภาคลดลง คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นจากการเข้าถึงบริการด้านการศึกษาและ สาธารณสุขได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาในเกือบทุกด้านทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ในขณะเดียวกันการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ภายใต้การบริหารงานโดยผู้ว่า CEO นั้น แม้ในภาพรวมมีทิศทางที่สอดคล้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน แต่ยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ความสำคัญกับทิศทางการพัฒนาศักยภาพคนและสังคมค่อนข้างน้อย และจะเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของส่วนภูมิภาคในระยะต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. แนวทางดำเนินการในระยะครึ่งหลังของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ ดังนี้
1.1 สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจมหภาคและความสามารถในการแข่งขันของไทยอย่างยั่งยืน โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเงินและภาคการคลังควบคู่ไปกับการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสร้างความสมดุลระหว่างการผลิตกับการดูแลสภาวะแวดล้อม
1.2 ลดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเป็นธรรม โดยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างโอกาสและกระจายความมั่นคงและผลตอบแทนการผลิต รวมทั้งการเข้าถึงบริการของรัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันมากขึ้น
1.3 พัฒนาและใช้ประโยชน์ทุนทางสังคมที่มีอยู่หลากหลายให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและฐานทรัพยากรที่มีอยู่ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ทั้งด้านคุณภาพและการยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมไปกับการพัฒนาทุนทางสถาบัน และการพัฒนาทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
1.4 บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยเร่งรัดแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ที่เน้นการแก้ไขทั้งที่ต้นเหตุหรือแหล่งกำเนิดและที่ปลายเหตุ คือ ฟื้นฟู บำบัด และกำจัดควบคู่กันไป
1.5 เสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีในสังคม โดยพัฒนาระบบราชการไทยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีในกิจการบ้านเมือง อันได้แก่การปกครองที่ใช้หลักนิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบและความคุ้มค่า เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานที่สามารถตอบสนองความต้องการและประโยชน์สุขของประชาชน
2. การพัฒนาภูมิภาคเพื่อความอยู่ดีมีสุขของคนในภาค มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ ดังนี้
2.1 มอบหมายผู้ว่า CEO รับไปดำเนินการนำรายงานการประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและผลการพัฒนาในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ระดับภาค ที่ สศช. ได้จัดทำขึ้นไปเป็นแนวทางในการทบทวนปรับปรุงยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว รวมทั้งสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค และการพัฒนาตามวาระแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนในภาคได้อย่างแท้จริง
2.2 มอบหมายคณะกรรมการสนับสนุนระบบบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (กสจ.) ได้มีการทบทวนการแบ่งกลุ่มการพัฒนาจังหวัดตามระบบบริหารงานผู้ว่า CEO ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ความเชื่อมโยงของกิจกรรมการผลิต และความเชื่อมโยงของการพัฒนาทางกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ ให้มากขึ้น
2.3 มอบหมายให้เป็นภารกิจโดยตรงของ สศช. ในการติดตามประเมินผลการพัฒนาภาคทุกปีอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยดัชนีชี้วัดที่ได้พัฒนาขึ้น อาทิ ดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุข และดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อเป็นแนวทางการปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
3. การรายงานตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ของกระทรวงในระยะต่อไป มอบหมายให้กระทรวงต่าง ๆ รับไปดำเนินการ ดังนี้
3.1 กระทรวงควรบูรณาการรายงานผลการปฏิบัติงานให้อยู่ในระดับกระทรวง ทั้งนี้ การรายงานผลควรประมวลสังเคราะห์จากผลงานระดับกรมขึ้นมาให้อยู่ในระดับผลงานของกระทรวง และควรระบุแผนงาน โครงการภายใต้ความรับผิดชอบ พร้อมทั้งจัดทำรายงานในลักษณะของผลผลิตและผลลัพธ์ในแต่ละยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน
3.2 การรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ของหน่วยงานระดับกระทรวงควรดำเนินการเพียงปีละ 1 ครั้ง เมื่อสิ้นปีงบประมาณ และจัดส่งให้ สศช. ภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - กันยายน 2547) เป็นต้นไป
สศช. ได้ดำเนินการให้มีการติดตามประเมินผลการพัฒนา ในระยะครึ่ง แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ว่ามีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด มีปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวในเรื่องใดและอย่างไร โดยพิจารณาจากเป้าหมายและตัวชี้วัดที่สามารถวัดผลกระทบจากการพัฒนาได้อย่างชัดเจนพร้อมทั้งใช้ข้อมูลจากการรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่กระทรวงต่าง ๆ ได้จัดส่งให้ สศช. ประกอบการวิเคราะห์และติดตามประเมินผลด้วย โดยให้ความสำคัญกับการติดตามผลการดำเนินงานใน 3 ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 : การวัดผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อประเมินผลการพัฒนาตามเป้าหมายหลักของแผนฯ และประเมินผลกระทบการพัฒนา โดยอาศัยดัชนีชี้วัดที่ได้พัฒนาขึ้น 3 ชุด คือ ดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุข ดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน
ประการที่ 2 : การติดตามผลการดำเนินงานที่ตอบสนองการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ภายใต้วาระแห่งชาติ 4 เรื่อง ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานในระยะต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประการที่ 3 : การติดตามผลการพัฒนาภาคในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภาค พร้อมทั้งติดตามความก้าวหน้าและการดำเนินงานที่สำคัญในพื้นที่ระดับภาค ว่าเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดและจังหวัดหรือไม่ เพียงใด เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาคในระยะต่อไปได้อย่างเหมาะสม
สำหรับผลการพัฒนาในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สรุปได้ดังนี้
1. ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
1.1 ผลที่เกิดขึ้นตามเป้าหมายหลักของแผนฯ
1) เศรษฐกิจไทยในภาพรวมขยายตัวอย่างมีคุณภาพ มีเสถียรภาพและมีความมั่นคงเพิ่มขึ้น ในช่วง 2 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างมีคุณภาพด้วยอัตราร้อยละ 5.4 ในปี 2545 และ 6.7 ในปี 2546 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เฉลี่ยร้อยละ 4-5 ต่อปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการอุปโภคบริโภค การลงทุนของภาคเอกชนและการส่งออกที่ขยายตัวสูงขึ้น
2) การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและการพัฒนาที่ยั่งยืนปรับตัวสูงขึ้น โดยสถาบันนานาชาติเพื่อพัฒนาการจัดการหรือ IMD ได้จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ในปี 2546 ให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 10 ดีขึ้นจากอันดับที่ 13 ในปี 2545 และอันดับที่ 14 ในปี 2544 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวการผลิตภาคเกษตรร้อยละ 3.0 และ 6.8 และภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 6.8 และ 10.3 รวมทั้งภาคการส่งออกร้อยละ 12.2 และ 8.8 ในปี 2545 และปี 2546 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายเฉลี่ยในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่กำหนดไว้สำหรับภาคเกษตรร้อยละ 2.0 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 4.5 และภาคการส่งออกร้อยละ 6.0 ต่อปี
3) ความยากจนได้ลดลงเร็วกว่าเป้าหมาย โดยสามารถลดสัดส่วนคนจนลงจากร้อยละ 13.0 ในปี 2544 เหลือเพียงร้อยละ 9.8 ในปี 2545 ซึ่งเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่จะลดสัดส่วนคนยากจนเหลือร้อยละ 12 ภายในสิ้นปี 2549
4) คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้นจากการขยายหลักประกันที่ครอบคลุมมากขึ้น แต่ยังมีปัญหาด้านการศึกษา หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ขยายครอบคลุมคนไทย ถึงร้อยละ 95 ในขณะที่ระบบประกันสังคมให้ความคุ้มครองประชาชนได้กว่าร้อยละ 20 ของกำลังแรงงาน ส่วนในด้านการศึกษาพบว่า คนไทยมีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยเพียง 7.8 ปี ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 9 ปี และกำลังแรงงาน (อายุ 15 ปีขึ้นไป) ที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปมีเพียงร้อยละ 38
5) การบริหารจัดการที่ดีของสังคมไทย ได้มีการวางรากฐานไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ จากการปฏิรูประบบราชการ ได้ส่งผลให้มีการปรับโครงสร้างกระทรวง และกรมใหม่ให้มีการทำงานที่บูรณาการและลดความซ้ำซ้อน การปรับระบบงบประมาณ ปรับระบบและวิธีการปฏิบัติราชการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ นอกจากนี้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ได้ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างชัดเจน
1.2 ผลกระทบของการพัฒนา
1) เศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น แต่เพื่อให้ยั่งยืนต้องดูแลการกระจายการพัฒนาให้เป็นธรรมมากขึ้น เศรษฐกิจของไทยมีความเข้มแข็งต่อเนื่องจากปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และเป็นการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ คือมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพียงร้อยละ 1.25 ต่อปี ซึ่งอยู่ในเป้าหมายที่กำหนดไม่ให้เกินร้อยละ 3 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเฉลี่ยร้อยละ 5.5 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดเฉลี่ยร้อยละ 1-2 ต่อปี มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นจากดุลการคลังที่ดีขึ้น และสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ลดลง ความสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกทำได้ดีขึ้น จากประสิทธิภาพการผลิตและส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยที่เพิ่มขึ้น แต่สถานภาพของการกระจายการพัฒนาที่เป็นธรรม ยังเป็นข้อจำกัดต่อการเสริมสร้างและรักษาความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
2) ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจไทยได้มีส่วนทำให้ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีมากกว่าในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และอยู่ในระดับที่ดีกว่าก่อนเกิดวิกฤต คนไทยมีงานทำกันมากขึ้น โดยอัตราการว่างงานได้ลดลงจากร้อยละ 3.23 ในปี 2544 เหลือร้อยละ 2.02 ในปี 2546 อย่างไรก็ตาม ในด้านความเหลื่อมล้ำของรายได้ คุณภาพการศึกษา สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม และปัญหาด้านการบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐที่ยังต้องปรับปรุงอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3) การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องการการพัฒนาที่สมดุลทั้ง 3 มิติ คือ มิติทางเศรษฐกิจ มิติทางสังคม และมิติทางสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนจะมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ แต่ยังต้องเอาใจใส่กับการรักษาคุณภาพทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อยกระดับความยั่งยืนในด้านการรักษาคุณภาพทรัพยากรสิ่งแวดล้อม คือการรักษาคุณภาพแหล่งน้ำ คุณภาพอากาศในเมืองหลัก และของเสียอันตรายที่ได้รับการบำบัดอย่างถูกต้อง รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพคนไทย ตลอดจนความโปร่งใสในการบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ
2. ผลการดำเนินงานตามวาระแห่งชาติ
2.1 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความก้าวหน้าเป็นรูปธรรมหลายด้าน การดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ การวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคง โดยการจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน การจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุน การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคอินโดจีน การจัดตั้งสถาบันบริหารและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อสร้างความสามารถทางนวัตกรรม การมีระบบบ่มเพาะผู้ประกอบการเพื่อสร้างสังคมผู้ประกอบการให้เข้มแข็ง การร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและการเปิดการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ เพื่อเพิ่มบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลก รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างความเป็นเลิศของกลุ่มสินค้าไทยในตลาดโลก
2.2 การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้มีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ จากการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า และการดำเนินงานตามภารกิจปกติของกระทรวงในการแก้ไขปัญหาความยากจนนั้น ได้มีส่วนสำคัญในการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และสร้างโอกาสให้กับคนจนเป็นอย่างมาก การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม คือ การเสริมสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น การสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การพัฒนาโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคมเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตแก่คนยากจน การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง เพื่อสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้คนยากจนสามารถก่อร่างสร้างตัวและพึ่งตนเองได้ในระยะยาว รวมทั้งการเร่งปฏิรูปกฎหมายและปรับกฎระเบียบให้เอื้อประโยชน์ต่อคนยากจน
2.3 การพัฒนาทุนทางสังคม ได้รับความสำคัญมากขึ้นในสังคมไทย เป็นผลดีต่อการพัฒนา ศักยภาพคนและสังคม ได้มีการดำเนินงานเพื่อนำทุนทางสังคมที่มีอยู่มาพัฒนาให้เป็นประโยชน์กับคนและสังคมไทยมากขึ้น ทั้งนี้ ในส่วนของการพัฒนาศักยภาพคนได้ขยายหลักประกันสุขภาพ และขยายโอกาสทางการศึกษาสู่ประชากรกลุ่มต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง แต่ยังต้องเร่งพัฒนาด้านคุณภาพการศึกษาให้ได้ มาตรฐาน และสร้างคนให้คิดเป็นทำเป็น พร้อมก้าวสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ นอกจากนี้ได้ดำเนินการพัฒนาทุนทางสถาบันสำคัญ ๆ เพื่อเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชาติ เช่น สถาบันศาสนา สถาบัน ครอบครัว ขณะที่การพัฒนาทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมยังมีปัญหาค่อนข้างมาก เนื่องจากข้อจำกัด ทางกฎหมาย ข้อมูล บุคลากร และเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ อีกทั้งชุมชนและองค์กรส่วนท้องถิ่นยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมค่อนข้างน้อย
3. ผลการพัฒนาในระดับภาคในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
ผลการพัฒนาในระยะที่ผ่านมา สามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจของส่วนภูมิภาคได้ในระดับหนึ่ง โดยการกระจายรายได้ และกระจายผลการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น ความยากจนและความแตกต่างของรายได้ระหว่างภาคลดลง คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นจากการเข้าถึงบริการด้านการศึกษาและ สาธารณสุขได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาในเกือบทุกด้านทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ในขณะเดียวกันการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ภายใต้การบริหารงานโดยผู้ว่า CEO นั้น แม้ในภาพรวมมีทิศทางที่สอดคล้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน แต่ยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ความสำคัญกับทิศทางการพัฒนาศักยภาพคนและสังคมค่อนข้างน้อย และจะเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของส่วนภูมิภาคในระยะต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-