คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการของการดำเนินการโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา - วงแหวนรอบนอก ตามที่กระทรวงคมนาคม การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เสนอ สำหรับวงเงินลงทุน 13,708 ล้านบาท ให้รัฐบาลอุดหนุนเงินลงทุนค่าก่อสร้างในสัดส่วนที่ทำให้โครงการมีผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) ประมาณร้อยละ 4 และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนทางด้านการเงิน (B/C Ratio) มีค่าใกล้เคียง 1 ตามข้อเสนอของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2.2 (ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา) เป็นประธาน
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ให้สอดคล้องกับมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 และเสนอคณะกรรมการ กทพ. ซึ่งคณะกรรมการ กทพ. ได้มีมติอนุมัติโดยรายละเอียดโครงการฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ลักษณะโครงการ
1.1 แนวสายทาง มีจุดเริ่มต้นโครงการต่อเชื่อมกับทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) บริเวณถนนรามอินทรา แนวสายทางมุ่งไปยังทางทิศเหนือยกระดับข้ามโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อถนนรัตนโกสินทร์-ถนนนิมิตรใหม่ จากนั้นแนวสายทางจะเบนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือยกระดับข้ามถนน กม.11 ของกรุงเทพมหานคร และไปสิ้นสุดโครงการที่ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก) บริเวณทิศใต้ของทางแยกต่างระดับลำลูกกา รวมระยะทางประมาณ 9.5 กิโลเมตร
1.2 มาตรฐานทาง เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีทางแยกต่างระดับ 3 แห่ง คือ ทางแยกต่างระดับรามอินทรา ทางแยกต่างระดับถนน กม.11 และทางแยกต่างระดับวงแหวนรอบนอก และมีด่านเก็บค่าผ่านทาง 4 แห่ง
2. ปริมาณจราจรและการเก็บค่าผ่านทาง
2.1 ระบบทางด่วน เมื่อก่อสร้างโครงการนี้แล้วเสร็จ จะรวมโครงการนี้และทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) เป็นระบบเดียวกัน
2.2 อัตราค่าผ่านทาง จะเปิดบริการในปี 2551 ค่าผ่านทางสำหรับรถขาเข้าเมืองและขาออกเมือง โดยทุกด่านจะเก็บค่าผ่านทางอัตราเดียวตลอดสาย ในอัตรา 40 บาท/คัน (รถยนต์ 4 ล้อ) ยกเว้นรถขาออกเมืองที่ด่านถนน กม.11 และด่านรามอินทรา เก็บค่าผ่านทาง 20 บาท/คัน (รถยนต์ 4 ล้อ) และจะมีการปรับค่าผ่านทางทุก 5 ปี โดยปีแรกที่ปรับค่าผ่านทางคือ ปี 2557
2.3 ปริมาณจราจร ในปีที่เปิดให้บริการ (ปี 2551) ประมาณ 22,122 คัน (รถยนต์ 4 ล้อ)/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 50,409 คัน (รถยนต์ 4 ล้อ)/วัน ในปี 2572
3. ค่าลงทุนโครงการ มูลค่าโครงการ (ราคา ณ ปี 2546) ประมาณ 13,708 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 115 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 6,582 ล้านบาท และค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 7,011 ล้านบาท
4. แผนการดำเนินโครงการ กทพ. โดยการประกวดราคาค่าก่อสร้าง โดยจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 24 เดือน เริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายน 2547 ก่อสร้างโครงการ 24 เดือน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม 2549 และเปิดให้บริการประมาณเดือนพฤษภาคม 2551
5. ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ (EIRR) เท่ากับร้อยละ 24.02 และมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 15,151.04 ล้านบาท ซึ่งเหมาะสมที่จะดำเนินการในเชิงเศรษฐกิจ สำหรับผลตอบแทนทางด้านการเงิน ในกรณีที่รัฐบาลอุดหนุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมด และไม่อุดหนุนค่าก่อสร้าง พบว่า โครงการมีผลตอบแทนทางด้านการเงิน (FIRR) ต่ำมาก มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิเท่ากับ ติดลบ 2,918.5 ล้านบาท ซึ่งไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนและในกรณีรัฐบาลอุดหนุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมด (7,011 ล้านบาท) และอุดหนุนค่าก่อสร้าง ร้อยละ 58 (3,884 ล้านบาท) รวมเงินที่รัฐบาลอุดหนุนจำนวน 10,895 ล้านบาท จะทำให้โครงการมีอัตราผลตอบแทนทางด้านการเงิน (FIRR) เท่ากับร้อยละ 8.06
6. กทพ. ได้วิเคราะห์สถานการณ์เงินของ กทพ. ในช่วงปีงบประมาณ 2547-2568 กรณี กทพ. ดำเนินโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก โดยที่รัฐบาลไม่ให้เงินอุดหนุนใด ๆ และ กทพ. ไม่ได้รับโอนทางหลวงพิเศษมาจากกรมทางหลวง 3 สาย (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตอนกรุงเทพฯ - ชลบุรี (สายใหม่) ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ตอนบางปะอิน-บางพลี และทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ - รังสิต) ผลการวิเคราะห์พบว่า จะทำให้สถานะทางการเงินของ กทพ. มีปัญหามากขึ้น แต่หากจะดำเนินโครงการโดยมิให้กระทบต่อสถานการณ์เงินของ กทพ. มากไปกว่าปัจจุบัน รัฐบาลต้องให้การอุดหนุนโครงการเพื่อเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมด และค่าก่อสร้างบางส่วน (ร้อยละ 58) ซึ่ง กทพ. จะมีเงินสดขาดมือในช่วงปี 2548 ถึงปี 2556 ประมาณ 26,130 ล้านบาท โดย กทพ. จะต้องกู้เพิ่มเติมเป็นจำนวน 44,400 ล้านบาท และมีกำไรสามารถนำส่งคลังได้เป็นจำนวน 44,143 ล้านบาท กทพ. พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้ กทพ. สามารถดำเนินโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ได้โดยไม่กระทบต่อสถานะการเงินของ กทพ. และเป็นไปตามมติ คจร. ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 กทพ. จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ให้สอดคล้องกับมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 และเสนอคณะกรรมการ กทพ. ซึ่งคณะกรรมการ กทพ. ได้มีมติอนุมัติโดยรายละเอียดโครงการฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ลักษณะโครงการ
1.1 แนวสายทาง มีจุดเริ่มต้นโครงการต่อเชื่อมกับทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) บริเวณถนนรามอินทรา แนวสายทางมุ่งไปยังทางทิศเหนือยกระดับข้ามโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อถนนรัตนโกสินทร์-ถนนนิมิตรใหม่ จากนั้นแนวสายทางจะเบนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือยกระดับข้ามถนน กม.11 ของกรุงเทพมหานคร และไปสิ้นสุดโครงการที่ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก) บริเวณทิศใต้ของทางแยกต่างระดับลำลูกกา รวมระยะทางประมาณ 9.5 กิโลเมตร
1.2 มาตรฐานทาง เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีทางแยกต่างระดับ 3 แห่ง คือ ทางแยกต่างระดับรามอินทรา ทางแยกต่างระดับถนน กม.11 และทางแยกต่างระดับวงแหวนรอบนอก และมีด่านเก็บค่าผ่านทาง 4 แห่ง
2. ปริมาณจราจรและการเก็บค่าผ่านทาง
2.1 ระบบทางด่วน เมื่อก่อสร้างโครงการนี้แล้วเสร็จ จะรวมโครงการนี้และทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) เป็นระบบเดียวกัน
2.2 อัตราค่าผ่านทาง จะเปิดบริการในปี 2551 ค่าผ่านทางสำหรับรถขาเข้าเมืองและขาออกเมือง โดยทุกด่านจะเก็บค่าผ่านทางอัตราเดียวตลอดสาย ในอัตรา 40 บาท/คัน (รถยนต์ 4 ล้อ) ยกเว้นรถขาออกเมืองที่ด่านถนน กม.11 และด่านรามอินทรา เก็บค่าผ่านทาง 20 บาท/คัน (รถยนต์ 4 ล้อ) และจะมีการปรับค่าผ่านทางทุก 5 ปี โดยปีแรกที่ปรับค่าผ่านทางคือ ปี 2557
2.3 ปริมาณจราจร ในปีที่เปิดให้บริการ (ปี 2551) ประมาณ 22,122 คัน (รถยนต์ 4 ล้อ)/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 50,409 คัน (รถยนต์ 4 ล้อ)/วัน ในปี 2572
3. ค่าลงทุนโครงการ มูลค่าโครงการ (ราคา ณ ปี 2546) ประมาณ 13,708 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 115 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 6,582 ล้านบาท และค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 7,011 ล้านบาท
4. แผนการดำเนินโครงการ กทพ. โดยการประกวดราคาค่าก่อสร้าง โดยจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 24 เดือน เริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายน 2547 ก่อสร้างโครงการ 24 เดือน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม 2549 และเปิดให้บริการประมาณเดือนพฤษภาคม 2551
5. ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ (EIRR) เท่ากับร้อยละ 24.02 และมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 15,151.04 ล้านบาท ซึ่งเหมาะสมที่จะดำเนินการในเชิงเศรษฐกิจ สำหรับผลตอบแทนทางด้านการเงิน ในกรณีที่รัฐบาลอุดหนุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมด และไม่อุดหนุนค่าก่อสร้าง พบว่า โครงการมีผลตอบแทนทางด้านการเงิน (FIRR) ต่ำมาก มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิเท่ากับ ติดลบ 2,918.5 ล้านบาท ซึ่งไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนและในกรณีรัฐบาลอุดหนุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมด (7,011 ล้านบาท) และอุดหนุนค่าก่อสร้าง ร้อยละ 58 (3,884 ล้านบาท) รวมเงินที่รัฐบาลอุดหนุนจำนวน 10,895 ล้านบาท จะทำให้โครงการมีอัตราผลตอบแทนทางด้านการเงิน (FIRR) เท่ากับร้อยละ 8.06
6. กทพ. ได้วิเคราะห์สถานการณ์เงินของ กทพ. ในช่วงปีงบประมาณ 2547-2568 กรณี กทพ. ดำเนินโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก โดยที่รัฐบาลไม่ให้เงินอุดหนุนใด ๆ และ กทพ. ไม่ได้รับโอนทางหลวงพิเศษมาจากกรมทางหลวง 3 สาย (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตอนกรุงเทพฯ - ชลบุรี (สายใหม่) ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ตอนบางปะอิน-บางพลี และทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ - รังสิต) ผลการวิเคราะห์พบว่า จะทำให้สถานะทางการเงินของ กทพ. มีปัญหามากขึ้น แต่หากจะดำเนินโครงการโดยมิให้กระทบต่อสถานการณ์เงินของ กทพ. มากไปกว่าปัจจุบัน รัฐบาลต้องให้การอุดหนุนโครงการเพื่อเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งหมด และค่าก่อสร้างบางส่วน (ร้อยละ 58) ซึ่ง กทพ. จะมีเงินสดขาดมือในช่วงปี 2548 ถึงปี 2556 ประมาณ 26,130 ล้านบาท โดย กทพ. จะต้องกู้เพิ่มเติมเป็นจำนวน 44,400 ล้านบาท และมีกำไรสามารถนำส่งคลังได้เป็นจำนวน 44,143 ล้านบาท กทพ. พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้ กทพ. สามารถดำเนินโครงการทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก ได้โดยไม่กระทบต่อสถานะการเงินของ กทพ. และเป็นไปตามมติ คจร. ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2547 กทพ. จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-