เรื่อง แผนการกู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระ (Roll-Over)
ในช่วงเวลา 5 ปี (ปี 2548-2552) และขออนุมัติเปิดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี
(O/D) วงเงิน 500 ล้านบาท ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระ (Roll-Over) ในช่วงระยะเวลา 5 ปี (ปี 2548-2552) ในวงเงินรวมไม่เกิน 29,500 ล้านบาท และ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเปิดวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (O/D) วงเงิน 500 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2548 โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาจำนวนเงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินตามความจำเป็นและเหมาะสม ตลอดจนการค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงิน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยรายงานว่า
1. การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ทำการศึกษาสถานะการเงินในอนาคต ในช่วงปี 2547-2568 รวม 22 ปี บนพื้นฐานที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าผ่านทางพิเศษแทนผู้ใช้บริการต่อไปอีก 4 ปี (ปี 2548-2551) ปรากฏว่า จากการวิเคราะห์ประมาณการกระแสเงินสด พบว่าในช่วงระยะเวลา 5 ปีแรก (ปี 2548-2552) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยยังไม่มีสภาพคล่องเพียงพอที่จะชำระคืนเงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระในแต่ละปีได้ทั้งจำนวน โดยจะมีเงินสดขาดมือในช่วงระยะเวลาดังกล่าว จำนวน 25,176 ล้านบาท ซึ่งจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อนำมาชำระคืนหนี้เงินกู้ที่ครบกำหนดชำระดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การจัดการด้านการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัว โดยไม่ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจึงได้จัดทำแผนการกู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระในช่วงระยบะเวลา 5 ปี (ปี 2548-2552) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
แผนการกู้เงิน 5 ปี (ปี 2548-2552)
ปีงบประมาณ เงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนด วงเงินที่ขอกู้
ชำระ (ล้านบาท) (ล้านบาท)
ปี 2548 7,670 7,600
ปี 2549 8,784 7,900
ปี 2550 7,592 6,800
ปี 2551 6,710 4,500
ปี 2552 5,993 2,700
รวม 36,749 29,500
จากตารางแสดงให้เห็นว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นจะเห็นได้จากเงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระในช่วงระยะเวลา 5 ปี มีจำนวน 36,749 ล้านบาท แต่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีความต้องการเงินกู้เพียง 29,500 ล้านบาท เพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดและเพื่อจ่ายในส่วนของดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากเงินกู้ดังกล่าว จำนวน 4,357 ล้านบาท นอกจากนี้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยยังมีกำไรทุกปี โดยมีกำไรก่อนหักเงินนำส่งคลัง 5,403 ล้านบาท และมีเงินนำส่งคลังจำนวน 1,891 ล้านบาท
2. ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2547 คณะอนุกรรมการฯ มีมติเห็นชอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระ (Roll-Over) ในช่วงระยะเวลา 5 ปี (ปี 2548-2552) ในวงเงินรวมไม่เกิน 29,500 ล้านบาท และเห็นชอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเปิดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี (O/D) ในวงเงิน 500 ล้านบาท เพื่อสำรองกรณีเหตุฉุกเฉินและให้นำเสนอคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณานำเสนอคระรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในการประชุมครั้งที่ 5/2547 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2547 มีมติอนุมัติตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอ
3. กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้วเห็นว่า แผนการกู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระ (Roll-Over) ในช่วงระยะเวลา 5 ปี (ปี 2548-2552) และขออนุมัติเปิดวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (O/D) ในวงเงิน 500 ล้านบาท เป็นการบริหารจัดการทางด้านการเงินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัว และสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-
ในช่วงเวลา 5 ปี (ปี 2548-2552) และขออนุมัติเปิดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี
(O/D) วงเงิน 500 ล้านบาท ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระ (Roll-Over) ในช่วงระยะเวลา 5 ปี (ปี 2548-2552) ในวงเงินรวมไม่เกิน 29,500 ล้านบาท และ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเปิดวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (O/D) วงเงิน 500 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2548 โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาจำนวนเงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินตามความจำเป็นและเหมาะสม ตลอดจนการค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยจากการกู้เงิน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทยรายงานว่า
1. การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ทำการศึกษาสถานะการเงินในอนาคต ในช่วงปี 2547-2568 รวม 22 ปี บนพื้นฐานที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าผ่านทางพิเศษแทนผู้ใช้บริการต่อไปอีก 4 ปี (ปี 2548-2551) ปรากฏว่า จากการวิเคราะห์ประมาณการกระแสเงินสด พบว่าในช่วงระยะเวลา 5 ปีแรก (ปี 2548-2552) การทางพิเศษแห่งประเทศไทยยังไม่มีสภาพคล่องเพียงพอที่จะชำระคืนเงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระในแต่ละปีได้ทั้งจำนวน โดยจะมีเงินสดขาดมือในช่วงระยะเวลาดังกล่าว จำนวน 25,176 ล้านบาท ซึ่งจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อนำมาชำระคืนหนี้เงินกู้ที่ครบกำหนดชำระดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การจัดการด้านการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัว โดยไม่ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจึงได้จัดทำแผนการกู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระในช่วงระยบะเวลา 5 ปี (ปี 2548-2552) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
แผนการกู้เงิน 5 ปี (ปี 2548-2552)
ปีงบประมาณ เงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนด วงเงินที่ขอกู้
ชำระ (ล้านบาท) (ล้านบาท)
ปี 2548 7,670 7,600
ปี 2549 8,784 7,900
ปี 2550 7,592 6,800
ปี 2551 6,710 4,500
ปี 2552 5,993 2,700
รวม 36,749 29,500
จากตารางแสดงให้เห็นว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นจะเห็นได้จากเงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระในช่วงระยะเวลา 5 ปี มีจำนวน 36,749 ล้านบาท แต่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีความต้องการเงินกู้เพียง 29,500 ล้านบาท เพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดและเพื่อจ่ายในส่วนของดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากเงินกู้ดังกล่าว จำนวน 4,357 ล้านบาท นอกจากนี้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยยังมีกำไรทุกปี โดยมีกำไรก่อนหักเงินนำส่งคลัง 5,403 ล้านบาท และมีเงินนำส่งคลังจำนวน 1,891 ล้านบาท
2. ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2547 คณะอนุกรรมการฯ มีมติเห็นชอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยกู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระ (Roll-Over) ในช่วงระยะเวลา 5 ปี (ปี 2548-2552) ในวงเงินรวมไม่เกิน 29,500 ล้านบาท และเห็นชอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเปิดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี (O/D) ในวงเงิน 500 ล้านบาท เพื่อสำรองกรณีเหตุฉุกเฉินและให้นำเสนอคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณานำเสนอคระรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในการประชุมครั้งที่ 5/2547 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2547 มีมติอนุมัติตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอ
3. กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้วเห็นว่า แผนการกู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระ (Roll-Over) ในช่วงระยะเวลา 5 ปี (ปี 2548-2552) และขออนุมัติเปิดวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (O/D) ในวงเงิน 500 ล้านบาท เป็นการบริหารจัดการทางด้านการเงินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัว และสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 กรกฎาคม 2547--จบ--
-กภ-